ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 146อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 203อ่านอรรถกถา 30 / 242อ่านอรรถกถา 30 / 663
อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค
โธตกมาณวกปัญหานิทเทส

               อรรถกถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในโธตกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์.
               บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษานิพพานเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้นเพื่อดับราคะเป็นต้นของตน.
               ในนิเทศไม่มีบทที่ไม่เคยกล่าว.
               บทว่า อิโต คือ แต่ปากของเรา. พึงทราบความในนิเทศต่อไป.
               บทว่า อาตปฺปํ ความเพียร คือความเพียรเผากิเลส.
               บทว่า อุสฺสาหํ ทำความหมั่น คือไม่สยิ้วหน้า.
               บทว่า อุสฺโสฬฺหึ ทำความเป็นผู้มีความหมั่น. คือทำความเพียรมั่น.
               บทว่า ถามํ ทำความพยายาม คือไม่ย่อหย่อน.
               บทว่า ธิตึ ทำความทรงจำ คือทรงไว้.
               บทว่า วิริยํ กโรหิ คือ จงทำความเป็นผู้ก้าว คือทำความก้าวไปข้างหน้า.
               บทว่า ฉนฺทํ ชเนหิ ยังฉันทะให้เกิด คือให้เกิดความชอบใจ.
               เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลวิงวอนขอความปลดเปลื้องจากความสงสัย จึงกราบทูลคาถาว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก.
               บทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น.
               บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
               บทว่า ปจฺเจกสมฺพุทฺธา ชื่อว่าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจด้วยตนเอง ถึงการรู้แจ้งแทงตลอดอารมณ์นั้นๆ เฉพาะตัว.
               บทว่า สีหสีโห คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดังสีหะยิ่งกว่าสีหะ เพราะไม่ทรงหวาดสะดุ้ง.
               บทว่า นาคนาโค คือ เป็นดังนาคยิ่งกว่านาค เพราะไม่มีกิเลส หรือเพราะเป็นใหญ่.
               บทว่า คณิคณี คือเป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย.
               บทว่า มุนิมุนี เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี คือ มีความรู้ยิ่งกว่าผู้มีความรู้ทั้งหลาย.
               บทว่า ราชราชา เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา คือเป็นพระราชาผู้สูงสุด.
               บทว่า มุญฺจ มํ คือ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์.
               บทว่า ปมุญฺจ มํ คือ ขอพระองค์จงปล่อยข้าพระองค์โดยวิธีต่างๆ.
               บทว่า โมเจหิ มํ ขอพระองค์จงปลดปล่อยข้าพระองค์ คือทำให้หย่อน.
               บทว่า ปโมเจหิ มํ คือ ขอพระองค์จงทรงทำให้หย่อนอย่างยิ่ง.
               บทว่า อุทฺธร มํ ขอพระองค์จงยกข้าพระองค์ขึ้น คือยกข้าพระองค์จากเปือกตม คือสงสารแล้วให้ตั้งอยู่บนบก.
               บทว่า สมุทฺธร มํ ขอพระองค์จงฉุดชัก คือฉุดข้าพระองค์โดยชอบแล้วให้ตั้งอยู่บนบก.
               บทว่า วุฏฺฐาเปหิ คือ ขอให้นำข้าพระองค์ออกจากลูกศรคือความสงสัย แล้วทำให้อยู่ต่างหากกัน.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความปลดเปลื้องจากความสงสัยอันยิ่ง ด้วยพระองค์โดยหัวข้อคือการข้ามโอฆะ จึงตรัสคาถาว่า นาหํ ดังนี้เป็นอาทิ.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ สมิสฺสามิ คือ เราไม่อาจไม่สามารถ. อธิบายว่า เราจักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย คือ เพื่อปลดเปลื้อง. บทว่า กถํกถี คือ ความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือ พึงข้าม.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
               บทว่า น อีหามิ เราไม่อาจ คือไม่ทำความขวนขวาย.
               บทว่า น สมิหามิ ไม่สามารถ คือไม่ทำความขวนขวายยิ่ง.
               บทว่า อสฺสทฺเธ ปุคฺคเล กะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา คือกะบุคคลผู้ปราศจากศรัทธาในพระรัตนตรัย.
               บทว่า อจฺฉนฺทิเก ผู้ไม่มีฉันทะ คือปราศจากความชอบใจเพื่อมรรคผล.
               บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน คือผู้ปราศจากสมาธิ.
               บทว่า หีนวีริเย ผู้มีความเพียรเลว คือผู้ไม่มีความเพียร.
               บทว่า อปฺปฏิปชฺช มาเน ผู้ไม่ปฏิบัติตาม คือไม่ปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ.
               เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลวิงวอนขอคำสั่งสอน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้เป็นคำแสดงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นผู้ประเสริฐ. ด้วยเหตุนั้น โธตกะเมื่อจะทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพร่ำสอน.
               บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมอันสงัด ได้แก่ธรรมคือนิพพานอันสงัดจากสังขารทั้งปวง.
               บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน คือ ไม่ขัดข้องมีประการต่างๆ.
               บทว่า อเธว สนฺโต เป็นผู้สงบในที่นี้นี่แหละคือมีอยู่ในที่นี้.
               บทว่า อสิโต คือ ไม่อาศัยแล้ว.
               สองคาถาต่อจากนี้ไปมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในเมตตคูสูตรนั่นเอง ความต่างกันมีอยู่อย่างเดียวในเมตตคูสูตรนั้นว่า ธมฺมํ อิธ สนฺตึ ธรรมมีอยู่ในที่นี้ดังนี้.
               แม้ในคาถาที่ ๓ กึ่งคาถาก่อนก็มีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั่นเอง.
               บทว่า สงฺโค ในกึ่งคาถาต่อไป ได้แก่ฐานะเป็นเครื่องข้อง. อธิบายว่า ติดแล้ว.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
               อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค โธตกมาณวกปัญหานิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 146อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 203อ่านอรรถกถา 30 / 242อ่านอรรถกถา 30 / 663
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=30&A=2020&Z=2388
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=680
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=680
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :