![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อุปฺปาโท - ความเกิดขึ้น คือเกิดขึ้นในโลกนี้ เพราะกรรมเก่าเป็นปัจจัย. บทว่า ปวตฺตํ - ความเป็นไป คือความเป็นไปของความเกิดขึ้นอย่างนั้น. บทว่า นิมิตฺตํ คือ สังขารนิมิตแม้ทั้งหมด. บทว่า อายูหนํ - กรรมประมวลมาเป็นภัย คือกรรมอันเป็นเหตุแห่งปฏิสนธิต่อไป. บทว่า ปฏิสนฺธิ คือ การเกิดต่อไป. บทว่า คติ ได้แก่ คติอันเป็นปฏิสนธิ. บทว่า นิพฺพตฺติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งวิบาก ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑- สมาปนฺนสฺส วา อุปปนฺนสฺส วา - แห่งภิกษุผู้เข้าสมาบัติแล้วก็ดี ผู้เข้าถึงแล้วก็ดี. ____________________________ ๑- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๘๓๐ บทว่า ชาติ ได้แก่ ชาติมีภพเป็นปัจจัย อันเป็นปัจจัยของชราเป็นต้น. โดยตรง ชาติคือความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในที่ภพนั้นๆ. บทว่า ชรา ได้แก่ ความเก่าของขันธสันดานที่เนื่องกันในภพหนึ่ง ในสันตติที่รู้กันว่า มีฟันหักเป็นต้น. บทว่า โสโก ได้แก่ ความเดือดร้อนใจของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบแล้ว. บทว่า ปริเทโว ได้แก่ ความพร่ำเพ้อของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบ. บทว่า อุปายาโส ได้แก่ ความแค้นใจมาก. คือโทสะที่เกิดจากทุกข์ใจมากมายของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบ. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวถึงญาณในอาทีนวญาณ ๕ มีอุปาทะเป็นต้น ด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งอาทีนวญาณ. ที่เหลือท่านกล่าวด้วยความเป็นไวพจน์ของธรรมเหล่านั้น. สองบทนี้ คือ นิพฺพตฺติ ชาติ เป็นไวพจน์ของอุปาทะและของปฏิสนธิ. สองบทนี้ คือ คติ อุปปตฺติ เป็นไวพจน์ของความเป็นไป, ชราเป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิต. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บทว่า ภยํ ชื่อว่าภัย เพราะมีภัยเฉพาะหน้า โดยประกอบด้วยความบีบคั้น. บทว่า อิติ เป็นการแสดงเหตุของภยตูปัฏฐานญาณ. ส่วนบทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ - ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดเป็นความปลอดภัย ท่านกล่าวเพื่อแสดงญาณอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวญาณ. อีกอย่างหนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวไว้เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งใจว่าแม้หทัยที่สะดุ้ง เพราะเห็นโทษด้วย อีกอย่างหนึ่ง เพราะจิตของผู้ที่มีอุปาทะเป็นต้นตั้งไว้ด้วยดี โดยความเป็นภัย น้อมไปเพื่อความเป็นปฏิปักษ์ต่อภัยนั้น, ฉะนั้น พึงทราบว่า บทนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จแล้วด้วยภยตูปัฏฐานญาณ. บทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท อปฺปวตฺตํ - ความไม่เกิด ความไม่เป็นไป ได้แก่นิพพานนั่นเอง. บทว่า สนฺติปเท - ในสันติบท ได้แก่ ในส่วนแห่งสันติ คือในนิพพาน. จริงอยู่ แม้ญาณเกิดขึ้นเพราะถือเอาความต่างกันว่า สนฺติปทํ ด้วยการได้ฟังมา. ท่านก็กล่าวว่า สนฺติปเท ญาณํ - ญาณในสันติบท ดังนี้. บทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ภยํ, อนุปฺปาโท เขมํ - ความเกิดเป็นภัย, ความไม่เกิดปลอดภัย ท่านย่อบททั้งสองด้วยสามารถเป็นฝ่ายตรงกันข้ามต่อกัน แล้วกล่าวถือเอาญาณที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ในบทนี้ เพราะภัยเป็นทุกข์แน่นอน. และสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นชื่อว่ามีอามิส เพราะไม่พ้นไปจากอามิสคือวัฏฏะ อามิสคือโลก และอามิสคือกิเลส. อนึ่ง สิ่งใดมีอามิส สิ่งนั้นเป็นเพียงสังขารเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ ภยตูปฏฺฐาเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ - ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัวว่าความเกิดเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบความต่างกันในบทนี้ ด้วยสามารถความเป็นไปโดยความต่างกัน โดยอาการอย่างนี้ คือโดยอาการ น่ากลัว โดยอาการเป็นทุกข์ โดยอาการมีอามิส โดยอาการเป็นสังขาร. ท่านไม่ได้เพ่งถึงลิงค์ มีอุปปาทะเป็นต้นว่า๒- อุปฺปาโท ภยํ, ทุกฺขํ, สามิสํ, สงฺขารา จ - ความเกิดเป็นภัย, เป็นทุกข์, เป็นอามิส, และเป็นสังขาร แล้วจึงกล่าวเพ่งถึงลิงค์ของตนดุจในบทมีอาทิว่า เนตํ โข สรณํ เขมํ, เนตํ สรณมุตฺตมํ - นี้แลไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม, นี้ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดม. ____________________________ ๒- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔ อนึ่ง บทว่า สงฺขารา ท่านมิได้เพ่งความเป็นอย่างเดียว จึงทำเป็นพหุวจนะดุจใน ____________________________ ๓- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๓ บทว่า เขมํ สุขํ นิรามิสํ นิพฺพานํ - นิพพานเป็นความปลอดภัยเป็นความสุข ไม่มีอามิส คือท่านกล่าวนิพพานนั่นแลเป็น ๔ อย่าง โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ทส ญาเณ ปชานาติ - พระโยคาวจรย่อมรู้ญาณ ๑๐. ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อรู้อาทีนวญาณ ย่อมรู้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำให้แจ้งซึ่งญาณ ๑๐ คือ ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อุปฺปาท - การเกิดเป็นต้น ๕, ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อนุปฺปาท - การไม่เกิด ๕. บทว่า ทวินฺนํ ญาณานํ กุสลตา - เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คืออาทีนวญาณและสันติปทญาณ. บทว่า นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่างๆ คือไม่หวั่นไหวในทิฏฐิทั้งหลาย อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถนิพพานอันเป็นทิฏฐธรรมอย่างยิ่ง. จบอรรถกถาอาทีนวญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา อาทีนวญาณนิทเทส จบ. |