![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ - ความเห็นว่าเป็นตัวตน. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺฐิ เพราะอรรถว่าความเห็นในกาย กล่าวคือขันธ บทว่า วิจิกิจฺฉา - ความไม่แน่ใจ. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิจิกิจฺฉา เพราะอรรถว่าปราศจากความแน่ใจ หรือเมื่อค้นหาสภาวธรรมเป็นเหตุยาก บทว่า สีลพฺพตปรามาโส - ความลูบคลำศีลและพรต. มีวิเคราะห์ว่า เป็นผู้ถือมั่นยึดมั่นว่า ความหมดจดมีด้วยศีลด้วยพรต. ชื่อว่า สีลพฺพตปรามาโส เพราะอรรถว่าผู้ถือมั่นยึดมั่นนั้น ละเลยสภาวธรรมลูบคลำแต่สิ่งอื่น. เมื่อทิฏฐิแม้มีอยู่ทั้งสองอย่าง ท่านก็ยังกล่าวถึงสักกายทิฏฐิ เพื่อแสดงถึงการละทิฏฐิทั้งหมด ด้วย ส่วนสีลัพพตปรามาส พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ต่างหากเพื่อแสดงถึงมิจฉาปฏิ บทว่า อุปกฺกิเลสา - อุปกิเลสทั้งหลาย. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า กิเลสา เพราะอรรถว่าทำให้เศร้าหมอง ทำให้เดือดร้อน ทำให้ลำบาก. ชื่อว่า อุปกฺกิเลสา เพราะอรรถว่าเป็นกิเลสร้ายมีกำลังแรง. บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺนา โหนฺติ - เป็นกิเลสอันพระโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว คือตัดขาดด้วยดี เพราะดับไม่เกิดขึ้นอีกด้วย บทว่า สปริยุฏฺฐาเนหิ - พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่กิเลสครอบงำ. มีวิเคราะห์ว่า กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า บทนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย อันเนื่องด้วยความประพฤติ. ชื่อว่า สปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่าพร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส คืออุปกิเลสอันนอนอยู่ในสันดาน. บทว่า จิตฺตํ วิมุตฺตํ โหติ - จิตเป็นอันพ้นแล้ว. ความว่า จิตเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสันตติ เพราะกิเลสเหล่านั้นทำให้เกิดในที่ไม่สมควร ชื่อว่าเป็นอันพ้นแล้วจากกิเลสนั้น. จิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า สุวิมุตฺตํ เพราะพ้นแล้วด้วยดี. บทว่า ตํวิมุตฺติญาตฏฺเฐน คือ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น. จบอรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา วิมุตติญาณนิทเทส จบ. |