![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า จกฺขุ ํ อชฺฌตฺตํ ววตฺเถติ - พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายใน. ความว่า พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวโดยอาการที่พระโยคาวจรนั้นกำหนดจักษุ จึงถามว่า กำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร แล้วแสดงอาการกำหนดโดยคำมีอาทิว่า จกฺขุ ํ อวิชฺชาสมฺภูตนฺติ ววตฺเถติ - ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา ดังนี้. พึงทราบความในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้ อวิชชา ตัณหาที่เป็นอดีตเป็นเหตุอุปถัมภ์ กรรมที่เป็นอดีตเป็นเหตุให้เกิด อาหารเป็นเหตุอุปถัมภ์ในบัดนี้. ด้วยบทนั้นเป็นอันท่านถือเอาอุตุและจิต อุปถัมภ์จักษุด้วย. บทว่า จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย - จักษุอาศัยมหาภูตรูป ๔. บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า จักษุอาศัยมหาภูตรูป ๔ แล้วเป็นไป. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านแสดงถึงความเป็นปสาทจักษุ ปฏิเสธความเป็นสสัมภารจักษุ - เครื่องปรุงแต่งจักษุ. บทว่า อุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นแล้ว คือเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจแห่งอัทธา - กาลอันยาวนาน หรือด้วยอำนาจแห่งขณะอันเป็นสันตติ - การสืบต่อ. บทว่า สมุทาคตํ - เข้ามาประชุมแล้ว คือ ตั้งขึ้นแล้วจากเหตุ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านแสดงถึงการกำหนดจักษุในส่วนเบื้องต้นแห่งวิปัสสนา. ท่านแสดงถึงอนิจจานุปัสสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อหุตฺวา สมฺภูตํ - ไม่มี แล้วมี. ความว่า ชื่อว่าไม่มีแล้วมี เพราะไม่มีอยู่จากความเกิดในกาลก่อน. ชื่อว่ามีแล้วจักไม่มี เพราะความไม่มีจากความเสื่อมต่อไป. บทว่า อนฺตวนฺตโต - โดยความเป็นของมีที่สุด. ความว่า ชื่อว่า อนฺตวา เพราะมีที่สุด. มีที่สุดนั่นแหละ ชื่อว่า อนฺตวนฺโต เหมือนบทว่า๑- สติมนฺโต คติมนฺโต ธิติมนฺโต จ โย อิสิ - ผู้แสวงหาคุณเป็นผู้มีสติ มีคติและมีธิติ. โดยความเป็นของมีที่สุดนั้น. อธิบายว่า โดยความมีการดับไป. ____________________________ ๑- ขุ. เถร. เล่ม ๒๖/ข้อ ๓๙๗ บทว่า อทฺธุวํ - ไม่ยั่งยืน คือไม่มั่นคง เพราะตกไปในความตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง และเพราะไม่มีความเป็นของมั่นคง. บทว่า อสสฺสตํ - ความไม่เที่ยง คือไม่แน่นอน. บทว่า วิปริณามธมฺมํ - มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือมีความแปรปรวนไปเป็นปรกติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยความชราและด้วยความมรณะ. บทมีอาทิว่า จกฺขุ ํ อนิจฺจํ - จักษุไม่เที่ยง และบทมีอาทิว่า จกฺขุ ํ อนิจฺจโต - ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง มีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้ว. บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมฺภูโต - เกิดเพราะอวิชชา ย่อมสมควรทีเดียว เพราะในบทว่า มโน นี้ ท่านประสงค์เอาใจอันเป็นภวังค์. ในบทนี้ว่า อาหารสมฺภูโต - เกิดเพราะอาหาร พึงทราบด้วยสามารถผัสสาหารและมโนสัญเจตนาหารประกอบกัน. บทว่า อุปฺปนฺโน - เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาลอันยาวนานและสันตติ - การสืบต่อ. จบอรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา วัตถุนานัตตญาณนิทเทส จบ. |