![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ สังขารนิมิต. บทว่า อนิมิตฺเต ได้แก่ นิพพานอันเป็นปฏิปักษ์กับสังขารนิมิต. บทว่า อธิมุตฺตตฺตา - เพราะมีจิตน้อมไป คือเพราะปล่อยจิตไปด้วยความน้อมไปในนิพพานนั้น. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ปสฺสติ - ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้วย่อมเห็นความเสื่อม คือถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมเห็นความเสื่อมไปแห่งสังขารนิมิตนั้นด้วยวิปัสสนาญาณ. ด้วยบทนี้เป็นอันสำเร็จถึงภังคานุปัสนาญาณ. ภังคานุปัสสนานั้นยังอนิจจานุปัสสนาให้สำเร็จ. อนิจจานุปัสสนายังทุกขานุปัสสนาให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. ทุกขานุปัสสนานั้นยังอนัตตานุปัสสนาให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นอนัตตา. เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่านกล่าวถึงอนุปัสสนา ๓ ในบทนี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - วิหารธรรมชื่อว่าอนิมิตวิหาร คือวิหารธรรมอันเป็นหมวด ๓ แห่งวิปัสสนานั้น ชื่อว่าอนิมิตวิหาร เพราะเหตุนิมิตโดยความเป็นภัย. บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ตัณหา. บทว่า อปฺปณิหิเต - ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง คือในนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ของตัณหา. บทว่า อภินิเวสํ ได้แก่ การถือมั่นตัวตน. บทว่า สุญฺญเต ได้แก่ นิพพานอันว่างจากตัวตน. บทว่า สุญฺญโต คือ ความสูญนั่นแหละ ชื่อว่าสุญญตวิหาร. บทว่า ปวตฺตํ อชฺฌุเปกฺขิตฺวา - เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คือเพิกเฉยความเป็นไปอันเป็นวิบากด้วยความวางเฉยในสังขาร. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้พอใจความเป็นไปอันเป็นวิบากกล่าวคือสุคติ. แต่พระโยคาวจรนี้ประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ เห็นความเป็นไปแม้นั้นและสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเพิกเฉยเสีย. เพราะว่าครั้นเห็นอย่างนี้แล้วย่อมสามารถเข้าผลสมาบัติได้. ไม่สามารถเข้าได้โดยประการอื่น. บทว่า อาวชฺชิตฺวา - พิจารณาแล้ว คือพิจารณาด้วยอาวัชชนะ. บทว่า สมาปชฺชติ - คือ ย่อมเข้าถึงผลสมาบัติ. บทว่า อนิมิตฺตา สมาปตฺติ - สมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือชื่อว่าสมาบัติอันไม่มีนิมิต เพราะเห็นนิมิตโดยความเป็นภัยแล้วเข้าถึง. บทว่า อนิมิตฺตวิหารสมาปตฺติ - วิหารสมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือมีเป็น บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะจำแนกสังขารนิมิตแล้วแสดงจึงกล่าวบทมีอาทิว่า รูปนิมิตฺตํ. ควรจะกล่าวในการถือเอาชราและมรณะ ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว. เมื่อกล่าวด้วยบทมีอาทิว่า อญฺโญ อนิมิตฺตวิหาโร - อนิมิตวิหารสมาบัติเป็นอย่าง ญาณในความต่างวิปัสสนาวิหารของผู้ตั้งอยู่ในสังขารุเบกขาญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ ชื่อว่าวิหา พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะน้อมไปด้วยวิปัสสนาวิหาร ย่อมยังวิปัสสนาวิหารให้เป็นไป. ประสงค์จะน้อมไปด้วยผลสมาบัติวิหารขวนขวายไปตามลำดับของวิปัสสนา ย่อมยังผลสมาบัติให้เป็นไป. ประสงค์จะน้อมไปด้วยทั้งสองอย่างนั้นย่อมยังทั้งสองอย่างนั้นให้เป็นไป. มี ๓ อย่างด้วยประสงค์ถึงบุคคลด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลืออันควรกล่าวไว้ในที่นี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการ จบอรรถกถาญาณัตตยานิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ญาณัตตยานิทเทส จบ. |