![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สมถพลํ - สมถพละ ความว่า ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าสงบธรรมเป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น. สมถะนั่นแหละชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. เพราะพระอนาคามีและพระอรหันต์นั่นแหละเป็นผู้ถึงความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ด้วยการละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ท่านจึงทำสมาธิของพระอนาคามีและพระอรหันต์เหล่านั้นว่า พลปฺปตฺโต - ผู้ถึงซึ่งกำลัง แล้วจึงกล่าวว่า สมถพลํ มิใช่ของคนอื่น. ปาฐะว่า สมาธิพลํ บ้าง. บทว่า วิปสฺสนาพลํ - วิปัสสนาพละ ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นธรรมด้วยอาการหลายอย่างโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. วิปัสสนานั่นแหละชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. วิปัสสนาญาณถึงซึ่งกำลังของพระอริยเจ้าทั้งสองเหล่านั้น. สมถพละ เพื่อสงบจิตตสันดานโดยลำดับ และเพื่อดำเนินไปในนิโรธ. ส่วนวิปัสสนาพละ เพื่อแสดงโทษในวัฏฏะ และเพื่อแสดงอานิสงส์ในนิโรธ. บทว่า นีวรเณ - เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตตสัตตมี. แปลว่า ในเพราะนิวรณ์. อธิบายว่า มีนิวรณ์เป็นนิมิต มีนิวรณ์เป็นปัจจัย. หรือเป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า เพราะนิวรณ์. บทว่า น กมฺปติ - ไม่หวั่นไหว ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อมในฌาน. อีกอย่างหนึ่ง สมาธิสัมปยุตด้วยฌานนั้น ไม่หวั่นไหวในเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะท่านประสงค์องค์แห่งฌานในบทว่า ฌานํ. พึงถือการประกอบนี้แหละในนิทเทสนี้. บทว่า อุทฺธจฺเจ จ - ในเพราะอุทธัจจะ คือ ในเพราะอุทธัจจะอันเป็นจิตตุปบาทสหรคตด้วยอุทธัจจะ. อนึ่ง บทว่า อุทฺธจฺจํ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน. อุทธัจจะนั้นมีความไม่สงบเป็นลักษณะ. บทว่า อุทฺธจฺจสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะ ได้แก่ ในเพราะกิเลสคือโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะอันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ถึงความเป็นกิเลสเกิดขึ้นร่วมกัน สหรคตด้วยอุทธัจจะ. บทว่า ขนฺเธ จ ในเพราะขันธ์ คือ ในเพราะขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ. บทว่า น กมฺปติ น จลติ น เวธติ - ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เป็น พึงประกอบว่า ไม่หวั่นไหว ในเพราะอุทธัจจะ. ไม่กวัดแกว่ง ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะ. ไม่คลอนแคลน ในเพราะขันธ์สหรคตด้วยอุทธัจจะ. พึงทราบวิปัสสนาพละว่า เพราะท่านกล่าวอนุปัสนา ๗ วิปัสสนาพละจึงเป็นอันบริบูรณ์ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสนานั้นนั่นเอง. บทว่า อวิชฺชาย จ - ในเพราะอวิชชา ได้แก่ ในเพราะอวิชชาในจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล ๑๒ อย่าง. บทว่า อวิชฺชาสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอวิชชา ได้แก่ กิเลสคือโลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะอันสัมปยุตด้วยอวิชชาตามที่ประกอบไว้. บทว่า วจีสงฺขารา - วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร. ชื่อว่า วจีสงฺขารา เพราะอรรถว่าปรุงแต่ง ให้เกิดวาจา เพราะบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาในภายหลัง. เพราะฉะนั้น วิตกวิจารจึงเป็นวจีสังขาร. บทว่า กายสงฺขารา - กายสังขาร ได้แก่ ลมอัสสาสะปัสสาสะ. ชื่อว่า กายสงฺขารา๑- เพราะอรรถว่าอันกายปรุงแต่ง เพราะบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมเหล่านี้ คือลมอัสสาสะ ____________________________ ๑- บาลีว่า กาเยน สงฺขรียนฺตีติ กายสงฺขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งกาย) บทว่า สญฺญาเวทยิตนิโรธํ - สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ดับสัญญาและเวทนา. บทว่า จิตฺตสงฺขารา - จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญาและเวทนา. ชื่อว่า จิตฺตสงฺขารา๒- เพราะอรรถว่าอันจิตปรุงแต่ง เพราะบาลีว่า เจตสิกธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต. เพราะฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร. ____________________________ ๒- จิตฺเตน สงฺขรียนฺตีติ จิตฺตสงฺขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งจิต) ในญาณจริยาทั้งหลาย พึงทราบว่า จริยากถาอันเป็นเบื้องต้นแห่งอนุปัสสนานั้น ท่าน บทว่า โสฬสหิ ญาณจริยาหิ - ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ เพราะพระอนาคามีเป็นผู้มีกำลังบริบูรณ์ด้วยจริยาแม้ ๑๔ จะได้บรรลุอรหัตมรรคและอรหัตผลต่อไป. ในบทว่า นวหิ สมาธิจริยาหิ - ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้. จริยา ๘ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น. จริยา ๑ ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌานในธรรมทั้งปวง เพื่อได้ปฐมฌานเป็นต้น รวมเป็นสมาธิจริยา ๙. ถามว่า เพื่อความต่างกันแห่งพลจริยาเป็นอย่างไร? ตอบว่า แม้ในสมถพละ ท่านก็กล่าวถึงอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๗ มีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ. โดยความพิสดารแห่งไปยาล คือละความไว้ ท่านกล่าวถึงอัป ท่านกล่าวอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๘ มีอาทิว่า ปฐมํ ฌานํ ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิไว้ในที่ทั้งสอง. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นก็พึงทราบว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าจริยา เพราะอรรถว่ามีความชำนาญ. อนึ่ง ในวิปัสสนาพละ ท่านกล่าวอนุปัสสนา ๗ ว่าวิปัสสนาพละ. และกล่าวอนุปัสสนา ๗ ไว้ในญาณจริยา. ทั้งท่านยังกล่าวอนุปัสสนา ๙ มีวิวัฏฏนานุปัสสนาเป็นต้น ให้แปลกออกไป. นี้เป็นความต่างกันแห่งอนุปัสสนาเหล่านั้น. ส่วนอนุปัสสนา ๗ พึงทราบว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. ชื่อว่าจริยา เพราะอรรถว่ามีความชำนาญ. เพื่อแก้วสีที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า วสีภาวตา ปญฺญา๓- - ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ท่านจึงกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ วสีติ ปญฺจ วสิโย - คำว่า วสี ได้แก่ วสี ๕. ท่านอธิบายว่า ความชำนาญนั่นแหละ ชื่อว่าวสี. ____________________________ ๓- ขุ. ป. เล่ม ๓๑/มาติกายํ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแก้ซึ่งวสีเหล่านั้น ด้วยแสดงเป็น ชื่อว่า อาวชฺชนาวสี เพราะมีความชำนาญในการนึก. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปฐมํ ฌานํ ยตฺถิจฺฉกํ - คำนึงถึงปฐมฌานได้ในที่ที่ปรารถนา. ความว่า สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงในประเทศที่ตนปรารถนาเป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม. บทว่า ยทิจฺฉกํ - ปรารถนาในกาลใด. ความว่า คำนึงในเวลาหนาวก็ตาม ร้อนก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง คำนึงถึงปฐมฌานที่ปรารถนามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ก็ตาม มีกสิณที่เหลือเป็นอารมณ์ก็ตาม. แก้ บทว่า ยาวติจฺฉกํ - ปรารถนาเพียงใด คือคำนึงถึงกาลที่ปรารถนาเพียงลัดนิ้วมือเดียวหรือ ๗ วัน. บทว่า อาวชฺชนาย - ในการคำนึง ได้แก่มโนทวาราวัชชนะ. บทว่า ทนฺธายิตตฺตํ - ความเนิ่นช้า คือความไม่เป็นไปในอำนาจ. หรือความเกียจคร้าน. บทว่า สมาปชฺชติ - ย่อมเข้า คือย่อมปฏิบัติ. อธิบายว่า ย่อมแนบแน่น. บทว่า อธิฏฺฐาติ - ย่อมอธิฏฐาน คือตั้งใจทำให้ยิ่งในภายในสมาบัติ. บทว่า ปฐมํ ฌานํ ในวุฏฐานวสี เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ แปลว่า จากปฐมฌาน. บทว่า ปจฺจเวกฺขติ - ย่อมพิจารณา คือเห็นทันทีด้วยการแล่นไปแห่งการพิจารณา. นี้เป็นการพรรณนาบาลีในบทนี้. ต่อไปนี้เป็นการชี้แจงความ เมื่อพระโยคาวจรออกจากปฐมฌานแล้วคำนึงถึงวิตกชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง มีวิตกเป็นอารมณ์ย่อมแล่นไปในลำดับแห่งอาวัชชนจิตอันตัดภวังค์เป็นไป. แต่นั้น พระโยคาวจรสามารถส่งจิตไปในลำดับในองค์ฌาน ๕ ด้วยประการฉะนี้. คราวนี้ ส่วนวสีอันถึงที่สุดนี้ ย่อมได้ในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. นอกจากนี้ไม่มีอาวัชชนวสีที่เร็วกว่า. การคำนวณในภวังควาระในลำดับๆ ไม่มีแก่ผู้อื่น. ความเป็นผู้สามารถในการเข้าสมาบัติได้เร็ว ดุจในการทรมาน ความเป็นผู้สามารถเพื่อดำรงสมาบัติตลอดขณะเพียงนิ้วมือเดียว หรือเพียง ๑๐ นิ้วมือ ชื่อว่าอธิฏ อนึ่ง ความเป็นผู้สามารถออกได้เร็วกว่านั้น ชื่อว่าวุฏฺฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ท่านกล่าวไว้แล้วในอาวัชชนวสีนั่นแหละ เพราะว่า ปัจจเวกขณชวนะเป็นลำดับของอาวัชชนะในอาวัชชนวสีนั้น. เป็นอันว่าปัจจเวกขณวสีสำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งอาวัชชนวสีด้วยประการฉะนี้. และวุฏฐานวสีเป็นอันสำเร็จด้วยความสำเร็จแห่ง แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเป็นผู้สามารถในการยังอาวัชชนะให้เป็นไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในกสิณนั้นเร็วตามชอบใจของผู้ประสงค์เพื่อจะเข้าฌานมีกสิณนั้นๆ เป็นอารมณ์ เพราะความสำเร็จด้วยสามารถกสิณต่างๆ ของผู้นิรมิตมีเพศหลายอย่างเป็นต้น เพราะไม่มีปัจจเวกขณะอันเป็นองค์ฌานในเวลาแสดงปาฏิหาริย์ เพราะท่านกล่าวไว้แล้วว่า วสีอันถึงที่สุดนี้ย่อมได้ใน ความเป็นผู้สามารถในอัปปนา และความเป็นผู้สามารถเข้าฌานนั้นๆ ในวิถีแห่งอาวัชชนะในกาลนั้น ชื่อว่าสมาปัชชนวสี. ก็เมื่อกล่าวอย่างนี้เป็นอันยุติและไม่ผิด. อนึ่ง ลำดับแห่งวสีย่อมควรตามลำดับนั่นเอง. อนึ่ง ในการพิจารณาองค์แห่งฌาน เพราะท่าน เมื่อเป็นอย่างนั้นหากกล่าวว่า คำว่า คำนึงถึงปฐมฌาน ย่อมไม่ถูก. ท่านกล่าวฌานเป็นไปในกสิณ ว่าเป็นกสิณโดยเป็นอุปจารของเหตุ ฉันใด. ท่านกล่าวกสิณมีฌานเป็นปัจจัยก็ฉันนั้น ว่าเป็นฌานโดยเป็นอุปจารแห่งผล ดุจในคำมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานมุปฺ นี้เป็นความต่างกันของวสีเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ____________________________ ๔- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔ เพื่อชี้แจงนิโรธสมาบัติจึงมีปัญหาดังต่อไปนี้ นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร. ใครเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ใครไม่เข้า. เข้าในที่ไหน. เพราะเหตุไรจึงเข้า. อย่างไรจึงเป็นอันเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ตั้งอยู่อย่างไร. ออกอย่างไร. ผู้ออกมีจิตน้อมไปสู่อะไร. คนตายและคนเข้าต่างกันอย่างไร. นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรืออสังขตะ เป็นโลกิยะหรือโลกุตระ เป็น ในปัญหากรรมเหล่านั้น บทว่า กา นิโรธสมาปตฺติ - นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร คือ จิตเจตสิกธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนุปุพพนิโรธคือนิโรธตามลำดับ ชื่อว่านิโรธสมาบัติ. บทว่า เก ตํ สมาปชฺชนฺติ, เก น สมาปชฺชนฺติ - ใครเข้านิโรธสมาบัตินั้น ใครไม่เข้า คือ ปุถุชนแม้ทั้งหมด พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามี พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก ไม่เข้า. ส่วนพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ ๘ และพระขีณาสพ เข้า. บทว่า กตฺถ สปชฺชนฺติ - เข้าในที่ไหน? คือ ในภพที่มีขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร? เพราะมีสมาบัติตามลำดับ. ส่วนในภพ คือขันธ์ ๔ ปฐมฌานเป็นต้น ไม่มีการเกิดเลย. เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถเข้าในภพนั้นได้. บทว่า กสฺมา สมาปชฺชนฺติ - เพราะเหตุไรจึงเข้า? คือ เป็นผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของสังขาร ไม่คิดจะอยู่ในทิฏฐธรรม จึงเข้าด้วยคิดว่า เราถึงนิพพานอันเป็นความดับแล้ว จักอยู่เป็นสุข. บทว่า กถญฺจสฺสา สมาปชฺชนํ โหติ - อย่างไรจึงเป็นอันเข้านิโรธสมาบัตินั้น? คือ เมื่อขวนขวายด้วยสามารถแห่งสมถวิปัสสนาแล้วทำกิจเบื้องต้น ยังเนวสัญญานาสัญญา ส่วนผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาเท่านั้น. ผู้นั้นบรรลุผลสมาบัติแล้วตั้งอยู่. อนึ่ง ผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถทั้งสองอย่าง ย่อมยังเนวสัญญานาสัญญา ส่วนความพิสดารพึงทราบดังต่อไปนี้ ภิกษุในศาสนานี้ประสงค์จะเข้านิโรธ ฉันอาหารเสร็จแล้ว ล้างมือและเท้า นั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูไว้อย่างดีในโอกาสอันสงัด ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นเข้าปฐมฌาน ครั้นออกแล้วพิจารณาเห็นแจ้ง สังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ณ ที่นั้น. ก็วิปัสสนานั้นมี ๓ อย่าง คือ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา - วิปัสสนากำหนดสังขาร ๑, ผลสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสสนาอันเป็นผลสมาบัติ ๑, นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสสนาอันเป็นนิโรธสมาบัติ ๑. ในวิปัสสนา ๓ อย่างนั้น สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนาจะอ่อนหรือกล้าแข็งก็ตาม ย่อมเป็นปทัฏฐานแห่งมรรคนั่นแหละ. ผลสมาปัตติวิปัสสนากล้าแข็งเช่นกับมรรคภาวนาจึงควร. ส่วนนิโรธสมาปัตติวิปัสสนาไม่อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไปนั่นแหละจึงควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงพิจารณาเห็นแจ้งสังขารเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาอันไม่อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไป. แต่นั้นจึงเข้าตติยฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะ. ครั้นออกแล้วกระทำกิจเบื้องต้น ๔ อย่าง คือ. นานาพัทธอวิโกปนะ ๑ สังฆปฏิมานนะ ๑ สัตถุปักโกสนะ ๑ อัทธานปริจเฉทะ ๑. ในกิจ ๔ อย่างนั้น บทว่า นานาพทฺธอวิโกปนํ - ไม่ให้ของใช้ต่างๆ เสียหาย. ความว่า สิ่งใดที่ไม่เป็นของใช้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุนี้ เป็นของใช้ต่างๆ ที่ตั้งไว้ เช่น บาตร จีวร เตียง ตั่ง ที่อยู่อาศัยหรือแม้บริขารไรๆ อย่างอื่น, ไม่ให้ทำลายสิ่งนั้น. ไม่ให้เสียหายไปด้วยไฟ น้ำ ลม โจรและหนูเป็นต้นโดยประการใด พึงอธิฏฐานโดยประการนี้. วิธีอธิฏฐานมีว่าดังนี้ ในภายใน ๗ วันนี้ ขอสิ่งนี้ๆ จงอย่าถูกไฟไหม้, อย่าถูกน้ำพัดไป. อย่าถูกลมกำจัด, อย่าถูกโจรลัก, อย่าถูกหนูกัดเป็นต้น. เมื่ออธิฏฐานอย่างนี้ตลอด ๗ วันนั้นจะไม่มีอันตรายใดๆ แก่สิ่งเหล่านั้น. แต่เมื่อไม่อธิฏฐาน จะเสียหายด้วยไฟเป็นต้น. นี้ชื่อว่านานาพัทธอวิโกปนะ. แต่สิ่งใดที่ใช้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นั่ง ในสิ่งนั้นไม่มีกิจที่จะอธิฏฐานต่างหาก. สมาบัตินั่นแลย่อมคุ้มครองสิ่งนั้นนั่นแล. บทว่า สงฺฆปฏิมานนํ - การรอท่าสงฆ์ ได้แก่การรอท่า คือการเห็นภิกษุสงฆ์. อธิบายว่า ไม่ทำสังฆกรรม จนกว่าภิกษุรูปนั้นจะมา. อนึ่ง ในบทนี้การรอท่ามิใช่เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. แต่การนึกถึงการรอท่าเป็นบุพกิจ เพราะฉะนั้นควรนึกถึงอย่างนี้ว่า หากตลอด ๗ วัน เมื่อนั่งเข้านิโรธสงฆ์ประสงค์จะทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในอปโลกนกรรมเป็นต้น. เราจักออกโดยภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่มาเรียกเรา. ก็ภิกษุทำอย่างนี้แล้วเข้าสมาบัติ ย่อมออกได้ในสมัยนั้นนั่นเอง. แต่ภิกษุใดไม่ทำอย่างนี้. ทั้งสงฆ์ก็ประชุมกันแล้ว เมื่อไม่เห็นภิกษุนั้น จึงถามว่า ภิกษุรูปโน้นไปไหน เมื่อตอบว่า กำลังเข้าสมาบัติ จึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปว่า ท่านจงไปเรียกภิกษุนั้นตามคำของสงฆ์. ลำดับนั้น เพียงคำอันภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่ใกล้พอจะได้ยิน กล่าวว่า อาวุโส สงฆ์รอท่านเท่านั้น ดังนี้ ภิกษุนั้นเป็นอันออกจากนิโรธ. เพราะว่า ชื่อว่าอาณา คืออำนาจของสงฆ์หนักถึงอย่างนี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุนั้นนึกถึงแล้วออกจากนิโรธก่อน. บทว่า สตฺถุ ปกฺโกสนํ - พระศาสดาตรัสเรียกหา. แม้ในบทนี้ การนึกถึงการเรียกหาของพระศาสดาก็เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. เพราะฉะนั้นควรนึกถึงบุพกิจนั้นอย่างนี้ว่า หากว่า เมื่อเรานั่งเข้านิโรธตลอด ๗ วัน. พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทในเพราะเรื่องที่ละเมิด. หรือทรงแสดงธรรมในเพราะเหตุเกิดเรื่องเห็นปานนั้น. เราจักออกโดยที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังไม่มาเรียกเรา. ภิกษุนั่งทำอย่างนี้ อนึ่ง ภิกษุใดไม่ทำอย่างนั้น. ทั้งพระศาสดา เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ไม่ทรงเห็นภิกษุนั้นตรัสถามว่า ภิกษุรูปนั้นไปไหน เมื่อกราบทูลว่า เข้านิโรธ จึงทรงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปว่าเธอจงไปเรียกภิกษุนั้นตามคำของเรา. ครั้นเพียงภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่ใกล้พอได้ยินกล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกหาท่านดังนี้เท่านั้น ภิกษุนั้นก็เป็นอันออกจากนิโรธ. เพราะว่าการตรัสเรียกหาของพระศาสดาถือเป็นเรื่องหนักอย่างนี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุนั้นนึกถึง แล้วออกก่อนนั่นเทียว. บทว่า อทฺธานปริจฺเฉโท - กำหนดกาล คือกำหนดกาลของชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ควรเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดกาล. ควรนึกว่า อายุสังขารของตนจักเป็นไปได้ตลอด ๗ วัน. หรือจักเป็นไปไม่ได้แล้วเข้านิโรธ. เพราะว่าเมื่ออายุสังขารดับเสียในระหว่าง ๗ วัน. ภิกษุไม่ได้นึกถึงเข้านิโรธ. นิโรธสมาบัติของภิกษุนั้นไม่สามารถห้ามความตายได้. ภิกษุย่อมออกจากสมาบัติในระหว่างได้ เพราะในภายในนิโรธยังไม่มีความตาย. ฉะนั้นควรนึกถึงกาลนั้นแล้วจึงเข้านิโรธ. แม้ไม่นึกถึงกาลที่เหลือก็ควร. แต่ควรนึกถึงกาลนี้ทีเดียว. ท่านอธิบายไว้ดังนี้. ภิกษุนั้นเข้าอากิญจัญญายตนะอย่างนี้แล้ว ครั้นออกแล้วทำบุพกิจนี้ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ ครั้นล่วงเลยวารจิตหนึ่ง หรือสองแล้วเป็นอจิตตกะ ย่อมถูกต้องนิโรธได้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จิตเหนือ คือเกินจิตสองดวงจึงเป็นไปไม่ได้เล่า.๙- ตอบว่า เพราะเป็นปโยคะแห่งนิโรธ. จริงอยู่ การทำสมถะและวิปัสสนาทั้งสองของภิกษุนั้นให้เป็นยุคนัทธะคือธรรมที่เทียมคู่นี้ แล้วขึ้นสู่สมาบัติ ๘ เป็นความขวนขวายของนิโรธตามลำดับ. มิใช่เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จิตทั้งหลายจึงไม่เป็นไปเหนือจิตสองดวงเพราะเป็นปโยคะแห่งนิโรธ. ____________________________ ๙- หมายความว่า ในขณะที่จะเข้านิโรธสมาบัติ จตุตถอรูปสมาบัติเกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วก็ถึงนิโรธ. บทว่า กถํ ฐานํ - ตั้งอยู่อย่างไร คือตั้งอยู่ด้วยสามารถกำหนดกาลแห่งสมาบัตินั้นที่เข้าถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ และด้วยไม่มีอายุขัย การรอท่าของสงฆ์และการตรัสเรียกหาของพระศาสดาในระหว่าง. บทว่า กถํ วุฏฺฐานํ - ออกอย่างไร ได้แก่ออก ๒ อย่างนี้ คือด้วย บทว่า วุฏฺฐิตสฺส กินฺนินฺนํ จิตฺตํ โหติ - จิตของผู้ออกแล้วน้อมไปสู่อะไร. ความว่า น้อมไปสู่นิพพาน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑๐- ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ จิตของภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมไปสู่วิเวก โอนไป สู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก. ____________________________ ๑๐- ม. ม. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๑๐ บทว่า มตสฺส จ สมาปนฺนสฺส จ โก วิเสโส - ผู้ตายแล้วและผู้เข้านิโรธต่างกันอย่างไร. ท่านกล่าวความนี้ไว้แล้วในพระสูตร. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส กายสังขารของผู้ตายแล้ว ถึง แก่กรรมแล้ว ดับ สงบ. วจีสังขาร จิตตสังขารดับ สงบ. อายุสิ้นไป. ไออุ่นสงบไป. อินทรีย์ทำลายไป. แม้กายสังขารของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ ดับสงบ. วจีสังขาร จิตตสังขารก็ดับ สงบ. อายุยังไม่ สิ้นไป. ไออุ่นยังไม่สงบ. อินทรีย์ยังไม่ทำลาย. ____________________________ ๑๑- ม. ม. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๐๒ ในคำถามมีอาทิว่า นิโรธสมาปตฺติ กึ สงฺขตา อสงฺขตา - นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรืออสังขตะ? มีอธิบายดังต่อไปนี้ ไม่ควรกล่าวว่า เป็นสังขตะบ้าง อสังขตะบ้าง โลกิยะบ้าง โลกุตระบ้าง. เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีโดยสภาพ. เพราะภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงพร้อมแล้วด้วยอำนาจแห่งการเข้านิโรธ. ฉะนั้นควรกล่าวว่า เป็นนิปผันนะ คือสำเร็จแล้ว ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอนิปผันนะ คือยังไม่สำเร็จ. สมาบัติอันสงบแล้ว อันพระอริยะเสพแล้ว นี้ได้ชื่อว่านิพพาน ในทิฏฐธรรมด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส จบ. |