![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว. ความว่า ผู้รู้สึกตัวด้วยสัมปชัญญะ ๔ เหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตัว ๑ สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย ๑ โคจรสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร ๑ อสัมโมหสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย ๑. บทว่า ปวตฺตํ - ยังความเป็นไป คือความเป็นไปแห่งปริยุฏฐานกิเลส และความเป็นไปแห่งอนุสัยกิเลส ตามสมควรในที่ทั้งปวง. บทว่า ปริยาทิยติ - ให้สิ้นไป คือทำให้เป็นไปไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งวิกขัม จริงอยู่ ท่านย่อฌานสมาบัติมีทุติยฌานเป็นต้น มหาวิปัสสนาและมรรค ไว้ด้วยหัวข้อไปยาล. เพราะญาณอันเป็นไปแล้วแก่ผู้พิจารณาญาณนั้น ชื่อว่า ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า วิกฺขมฺภนปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยการข่มไว้, ตทงฺคปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยองค์แห่งธรรมนั้น, สมุจฺเฉทปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยตัดเด็ดขาด. ด้วยบทเหล่านี้ ท่านจึงกล่าวถึง ด้วยบทมีอาทิว่า อถวา ปน - อีกประการหนึ่ง พระสารีบุตรเถระแสดงถึงปัจจ บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิ ในนิพพานธาตุ ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าอุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือยึดถืออย่างแรงกล้าว่า เรา ของเรา. บทว่า อุปาทิ นี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ. ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่. ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะ คือขันธ์ ๕ เหลืออยู่. ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพานธาตุนี้. ท่านกล่าวถึงสอุปาทิเสสะก่อน ส่วนนิพพานธาตุนี้เป็นอนุปาทิเสสะ ด้วยอนุปาทิ บทว่า จกฺขุปวตฺตํ - ความเป็นไปแห่งตา คือความปรากฏเกิดขึ้นทางตา. บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไป คือถูกย่ำยี. ในบทที่เหลือมีนัยนี้. จบอรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ปรินิพพานญาณนิทเทส จบ. |