![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พึงทราบการสงเคราะห์ทั้งหมดด้วยหมวด ๑๐ มีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺธา - ขันธ์ทั้งหลาย ๕. จริงอยู่ ท่านมิได้จัดธรรมทั้งหมดไว้แผนกหนึ่งๆ ด้วยหมวด ๘ ที่เหลือเว้นหมวดอายตนะ ธาตุ ด้วยสามารถธรรมหมวดหนึ่งๆ. ก็เพราะโลกุตรธรรมมิใช่เป็นธรรมที่ควรตัด ด้วยการตัดขาดเหตุ. ฉะนั้น โลกุตรธรรมแม้ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยศัพท์ว่า สพฺพธมฺมา ก็ไม่พึงถือเอาในที่นี้ เพราะมีคำว่า สมุจเฉทะ ควรถือเอาเตภูมิกธรรมอันควรตัดด้วยการตัดเหตุ. บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺทติ - ตัดขาดโดยชอบ. ความว่า เมื่อดับปริยุฏฐานกิเลสและอนุสัย ท่านแสดงการตัดขาดโดยชอบ ด้วยเทศนาเป็นบุคลา บทว่า นิโรเธติ - ให้ดับ คือให้ดับด้วยอนุปาทนิโรธ - ดับโดยไม่มีเกิดขึ้น. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งสมุจเฉท. บทว่า น อุปฏฺฐาติ - ย่อมไม่ปรากฏ. ความว่า เมื่อดับอย่างนี้แล้ว ธรรมนั้นๆ ก็ไม่ปรากฏขึ้นอีก คือไม่เกิดขึ้น. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งนิโรธ. ท่านแสดงถึงความไม่ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันไม่ปรากฏ. บทว่า สมํ - ความสงบ คือ ชื่อว่าสงบเพราะกามฉันทะเป็นต้นสงบ. ธรรม ๓๗ คือธรรม ๗ มีเนกขัมมะเป็นต้นเหล่านั้น รูป ท่านกล่าวธรรมเป็นประธานคือสีสะ ๑๓ ประการ ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ธรรมทั้งหมดที่เป็นสีสะ. แต่ในที่นี้ ธรรมเป็น ประธาน ๘ มีศรัทธาเป็นต้นย่อมควร. เพราะธรรมเป็นประธาน ๕ มีตัณหาเป็นต้นมิได้มีแก่พระอรหันต์. บทว่า ปลิโพธสีสํ - มีความกังวลเป็นประธาน คือมีความห่วงใยปลิโพธ. อธิบายว่า เป็นเครื่องกั้นทางไปนิพพาน. บทว่า สีสํ เป็นประธาน คือธรรมอันยิ่ง. ปลิโพธนั่นแหละเป็นประธาน หรือเป็นประธานในปลิโพธทั้งปวง มีการประกอบด้วยธรรมนั้นเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปลิโพธสีสํ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้แล. แต่โดยความต่างกันในบทว่า พนฺธนํ - ความผูกพัน คือผูกพันในสงสารด้วยสามารถการเย่อหยิ่ง. บทว่า ปรามาโส คือ ความยึดมั่น. บทว่า วิกฺเขโป คือ ความฟุ้งซ่าน. บทว่า กิเลโส คือ ความเศร้าหมอง. บทว่า อธิโมกฺโข คือ น้อมใจเชื่อ. บทว่า ปคฺคโห ความประคอง คือความอุตสาหะ. บทว่า อุปฏฺฐานํ - เข้าไปตั้งไว้ คือการทำซ้ำๆ. บทว่า อวิกฺเขโป คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า ทสฺสนํ - ความเห็น คือแทงตลอดตามความเป็นจริง. บทว่า ปวตฺตํ - ความเป็นไป คือความเป็นไปด้วยอุปาทินนกขันธ์. บทว่า โคจโร คือ อารมณ์. ธรรมมีอรรถเป็นประธาน เป็นหัวหน้า ในวาระแม้ ๑๒ เหล่านี้. บทว่า วิโมกฺโข คือ นิพพานอันเป็นนิสสรณวิมุตติ ในวิมุตติ ๕ คือ วิกขัมภนวิมุตติ ๑ ตทังควิมุตติ ๑ สมุจเฉทวิมุตติ ๑ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ๑ นิสสรณวิมุตติ ๑. บทว่า สงฺขารสีสํ - มีสังขารเป็นประธาน คือเป็นประธานแห่งสังขารอันเป็นสังขตะทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นยอดสุด. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอนุปาทิเสสปรินิพพาน. หรือท่าน ชื่อว่า สมสีสี เพราะอรรถว่ามีความสงบ มีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมเป็นประธานมีศรัทธาเป็นต้น หรือมีความสงบและธรรมเป็นประธานเสมอกัน. อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้และอนุปาทิเสสปรินิพพานในเพราะโรคอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะอิริยาบถอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะชีวิตินทรีย์อันเสมอกันก็ดี แห่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นประธาน ๕ มีตัณหาเป็นต้น แห่งธรรมเป็น ประธาน ๑๓ เป็นสมุทยสัจจะ. ธรรมเป็นประธาน ๕ มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมรรคสัจจะ. ชีวิตินทรีย์มีความ เป็นไปเป็นประธาน เป็นทุกขสัจจะ. วิโมกข์มีอารมณ์ เป็นประธาน และมีสังขารเป็นประธาน เป็นนิโรธสัจจะ. ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น ท่านกล่าวว่าเป็นสมสีสี เพราะมีความสงบ ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อนและมีธรรมเหล่านี้เป็นประธาน. จบอรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา สมสีสัฏฐญาณนิทเทส จบ. |