![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อนุปฺปนฺนานํ - ที่ยังไม่เกิด คือยังไม่เกิดในอัตภาพหนึ่ง หรือในอารมณ์หนึ่ง. เพราะชื่อว่าอกุศลอันไม่เกิดในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุด ย่อมไม่มี แต่กุศลมี. บทว่า ปาปกานํ คือ ลามก. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ คือ ธรรมอันเป็นความไม่ดี. บทว่า อนุปฺปาทาย - เพื่อมิให้เกิดขึ้น คือเพื่อความที่จะไม่ให้เกิดขึ้น. บทว่า อุปฺปนฺนานํ คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้. บทว่า ปหานาย คือ เพื่อต้องการละ. บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ - กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด คือธรรมอันเป็นความดีที่ยังไม่เคยเกิดในอัตภาพนี้. บทว่า อุปฺปาทาย คือ เพื่อต้องการให้เกิด. บทว่า อุปฺปนฺนานํ - ที่เกิดขึ้นแล้ว คือที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้. บทว่า ฐิติยา คือ เพื่อความตั้งมั่น. บทว่า อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่เลอะเลือน คือเพื่อความไม่สูญหาย. บทว่า ภิยฺโยภาวาย - เพื่อความเจริญยิ่ง คือเพื่อเกิดบ่อยๆ. บทว่า เวปุลฺลาย คือ เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ภาวนาย คือ เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา คือ เพื่อความบริบูรณ์. บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงถึงกามฉันทะในอกุศลและเนกขัมมะในกุศลให้แปลกออกไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนสฺส กามจฺฉนฺทสฺส - กามฉันทะที่ยังไม่เกิด. ในบทเหล่านั้น บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ กามราคะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ. บทว่า เนกฺขมฺมํ ได้แก่ ปฐมฌานสมาธิ หรือปฐมฌาน หรือกุศลธรรมทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเนกขัมมะ. บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงประกอบ ด้วยสามารถแห่งกิเลสทั้งปวง และอรหัตมรรคอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสทั้งปวง จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนานํ สพฺพกิเลสานํ - ยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้น. ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนสฺส อรหตฺตมคฺคสฺส ฐิติยา - เพื่อความตั้งมั่นแห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบการประกอบบทมีอาทิว่า ฐิติยา ด้วยสามารถแห่งฐิติขณะและภังคขณะของอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทขณะ. แม้ในอรรถกถาแห่งวิภังค์ ท่านก็กล่าวว่า ความเป็นไปแห่งอรหัตมรรค ชื่อว่าฐิติ คือความตั้งมั่น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พึงเห็นมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น จบอรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา วีริยารัมภญาณนิทเทส จบ. |