![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า เนกฺขมฺมาธิปตตฺตา ปญฺญา - ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี คือปัญญาที่เป็นไปด้วยความยิ่งในเนกขัมมะ ทำเนกขัมมะให้ยวดยิ่ง. บทว่า กามจฺฉนฺทโต สญฺญาย วิวฏฺฏติ - ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี คือย่อมหลีก หมุนกลับจากกามฉันทะอันเป็นเหตุเป็นการณะแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยปัญญา ทำเนกขัมมะให้ยิ่งใหญ่. อธิบายว่า หันหลังให้กามฉันทะ. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า กามจฺฉนฺโท นานตฺตํ - กามฉันทะเป็นความเป็นต่างๆ คือกามฉันทะมิได้มีสภาพเป็นอันเดียวกัน เพราะไม่มีความประพฤติสงบ. บทว่า เนกฺขมฺมํ เอกตฺตํ - เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว คือเนกขัมมะมีสภาพ บทว่า เนกฺขมฺเมกตฺตํ เจตยโต - เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียวกัน คือยังเนกขัมมะให้เป็นไปด้วยการเห็นโทษในกามฉันทะ. บทว่า กามจฺฉนฺทโต จิตฺตํ วิวฏฺฏติ - จิตย่อมหลีกจากกามฉันทะ คือจิตย่อมหลีกจากกามฉันทะโดยความเป็นโทษที่เห็นแล้ว ในขณะแห่งเนกขัมมะ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้. บทว่า กามจฺฉนฺทํ ปชหนฺโต - พระโยคาวจรละกามฉันทะ คือละกามฉันทะในขณะปฏิบัติเนกขัมมะด้วย บทว่า เนกฺขมฺมวเสน จิตฺตํ อธิฏฺฐาติ - พระโยคาวจรย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ได้แก่ตั้งจิตสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้นด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะที่ได้แล้ว คือทำให้ยวดยิ่งดำรงอยู่. อธิบายว่า ให้เป็นไป. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า จกฺขุ สุญฺญํ อตฺเตน วา - จักษุว่างเปล่าจากตน คือจักษุว่างเปล่าจากตน เพราะไม่มีตน กล่าวคือผู้ทำผู้เสวยที่คนพาลกำหนดไว้. เพราะจักษุชื่อว่าสูญ โดยที่จักษุไม่มีในตน. บทว่า อตฺตนิเยน วา - จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน คือสูญจากของของตน เพราะไม่มีแม้ของของตนโดยไม่มีตน. ท่านกล่าวความไม่มีตน และความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพื่อปฏิเสธการถือทั้งสองอย่าง เพราะมีการยึดถือโดยอาการทั้งสองของชาวโลกว่า ตัวตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน. บทว่า นิจฺเจน วา - จากความเที่ยง คือชื่อว่าสูญจากความเที่ยง เพราะไม่มีใครๆ ที่จะล่วงเลยการทำลายแล้วตั้งอยู่ได้. บทว่า ธุเวน วา - จากความยั่งยืน คือชื่อว่าจากความยั่งยืน เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะมั่นคงอยู่ได้ แม้ในขณะที่เป็นไปอยู่. บทว่า สสฺสเตน วา - จากความคงที่ คือชื่อว่าสูญจากความคงที่ เพราะไม่มีใครๆ ที่จะอยู่ได้ตลอดไป. บทว่า อวิปริณามธมฺเมน วา - จากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา คือชื่อว่าสูญจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่มีใครๆ ที่จะเป็นปกติไม่เปลี่ยนแปลงด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชรา-ความแก่ และภังคะ-ความสลายไป. อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า สูญจากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคงและจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา. บทว่า ยถาภูตํ ชานโต ปสฺสโต - พระโยคาวจรรู้เห็นตามความเป็นจริง คือรู้ตามสภาวะด้วยอนัตตานุปัสนาญาณอย่างนี้ และเห็นดุจเห็นด้วยจักษุ. บทว่า จกฺขาภินิเวสโต ญาณํ วิวฏฺฏติ - ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในจักษุ คือญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือที่เห็นแล้วอันเป็นไปว่า จักษุเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตน. ในบทที่เหลือมีนัยนี้. บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทํ โวสฺสชฺชติ - พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือบุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมสละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อเนกขัมมะนั้นด้วยเนกขัมมะ. บทว่า โวสฺสคฺเค ปญฺญา - ปัญญาในความสลัดออก คือปัญญาสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น ในเนกขัมมะอันเป็นความสลัดออกแห่งกามฉันทะ. บทว่า ปีฬนฏฺฐา - ความบีบคั้นเป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. บทว่า ปริชานนฺโต วิวฏฺฏติ - เมื่อกำหนดรู้ย่อมหลีกไป เป็นเทศนาบุค บทว่า ตถฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในความว่าธรรมจริง คือวิวัฏฏนาปัญญา - ปัญญา ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงวิวัฏฏญาณ ๖ โดยต่างกันแห่งอาการด้วยสามารถกิจ ในขณะแห่งมรรคนั่นเองตั้งมาติกา มีอาทิว่า สญฺญา วิวฏฺโฏ แล้วเมื่อจะจำแนกมาติกานั้นโดยอรรถ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏติ - พระโยคาวจร เมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป. ในบทเหล่านั้นบทว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ สญฺญาวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อม ย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมเนกขัมมะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นโดยความเป็นอธิบดี ภายหลังย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณสัมปยุตด้วยเนกขัมมะ. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏะ. บทว่า เจตยนฺโต วิวฏฺฏตีติ เจโตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อคิดย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจร เมื่อคิดธรรมอย่างเดียวกันมีเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏะ. บทว่า วิชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ จิตฺตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อรู้แจ้งย่อมหลีก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อรู้แจ้งด้วยจิตอธิฏฐาน ด้วยสามารถเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ. บทว่า ญาณํ กโรนฺโต วิวฏฺฏตีติ ญาณวิวฏฺโฏ - เมื่อทำญาณหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อทำอายตนะภายใน ๖ อย่างให้รู้แจ้งโดยความเป็นของสูญด้วย บทว่า โวสฺสชฺชนฺโต วิวฏฺฏตีติ วิโมกฺขวิวฏฺโฏ - เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อสลัดกามฉันทะเป็นต้น ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏะ. บทว่า ตถฏฺเฐ วิวฏฺฏตีติ สจฺจวิวฏฺโฏ - ย่อมหลีกไปในความว่า ธรรมจริง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ. ความว่า เพราะพระโยคาวจรย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ๔ อย่าง ด้วยสามารถการออก. ฉะนั้น มรรคญาณจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ. หรือว่า มรรคญาณนั่นแหละย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ด้วยความออกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ. บทมีอาทิว่า ยตฺถ สญฺญาวิวฏฺโฏ - ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ ท่าน ถามว่า อย่างไร? ตอบว่า เพราะอริยมรรคมาแล้วโดยสรุปในญาณที่เหลือ เว้นญาณในวิวัฏฏะ. แม้ญาณในญาณวิวัฏฏะย่อมประกอบในขณะแห่งมรรค ด้วยสามารถสำเร็จกิจแห่งวิปัสสนา เพราะวิปัสสนากิจสำเร็จด้วยมรรคนั่นเอง. หรือว่า การกล่าวถึงญาณนั้นในมรรคญาณว่า บทมีอาทิว่า จกฺขุ สุญฺญํ - จักษุว่างเปล่า เป็นอันแทงตลอดด้วยสามารถแห่งกิจดังนี้ ย่อมควรในขณะมรรคนั่นเอง. อนึ่ง ในบทนี้มีการประกอบความดังต่อไปนี้ ควรทำการประกอบในการเทียบเคียงทั้งหมด โดยนัยมีอาทิว่าในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ. ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นมีสัญญาวิวัฏฏะ. อีกอย่างหนึ่ง สัจวิวัฏฏะมาแล้ว เพราะอริยมรรค ๔ มาถึงแล้ว ในสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะและวิโมกขวิวัฏฏะ. อนึ่ง ญาณวิวัฏฏะเป็นอันสำเร็จด้วยสามารถแห่งกิจด้วยสัจวิวัฏฏะนั่นเอง. เมื่อกล่าวไปยาลให้พิสดารในสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะและวิโมก อนึ่ง ในญาณวิวัฏฏะย่อมได้สัจวิวัฏฏะด้วย เพราะประกอบบทมีอาทิว่า จักษุว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ด้วยสามารถกิจของผู้ออกจากอนัตตานุปัสสนาแล้วได้อริยมรรค. เพราะฉะนั้น ในวิวัฏฏะหนึ่งๆ ย่อมได้วิวัฏฏะอย่างละ ๕ ที่เหลือ. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่าน จบอรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส จบ. |