ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 257อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 258อ่านอรรถกถา 31 / 264อ่านอรรถกถา 31 / 737
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
อาสวักขยญาณนิทเทส

               ๕๕. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส               
               [๒๕๘-๒๖๓] พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               บทมีอาทิว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.
               บทว่า กติ ฐานานิ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะเท่าไร เป็นคำถามเพื่อกำหนดฐานะที่เกิดของอินทรีย์หนึ่งๆ .
               บทว่า เอกํ ฐานํ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะ ๑ ท่านอธิบายว่า ย่อมเกิดในฐานะ ๑. ฐานะโอกาสที่เกิด ท่านกล่าวว่าฐานะ เพราะมีที่ตั้ง.
               บทว่า ฉ ฐานานิ - ฐานะ ๖ คือ ในขณะมรรคและผล ๖.
               ในอินทรีย์ ๓ มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้นแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพื่อแสดงว่า อินทรีย์หนึ่งๆ เป็นอินทรีย์ยิ่ง. ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร.
               ท่านกล่าวอธิโมกข์เป็นต้นด้วยสามารถกิจแห่งสัทธินทรีย์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโฐ๑- มีอรรถว่าน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ฉันใด.
               แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ท่านกล่าวว่า บทว่า อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - เป็นบริวารของการน้อมใจเชื่อ คือสัทธินทรีย์เป็นบริวารด้วยกิจแห่งการน้อมใจเชื่อ.
____________________________
๑- ขุ. ป. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๒

               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
               บทว่า ปริวารํ เป็นลิงควิปลาศ.
               บทว่า ปญฺญินฺทฺริยํ - ปัญญินทรีย์ ท่านกล่าวอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั่นแหละทำไว้ต่างหากเพื่อแสดงสภาพรู้. แม้ในอภิธรรม ท่านก็จำแนกปัญญาหนึ่งไว้ ๘ ส่วน ในขณะมรรคและในขณะผล เพื่อแสดงความพิเศษของกิจด้วยปัญญา.
               บทว่า อภิสนฺทนปริวารํ - มีความยินดีเป็นบริวาร คือโสมนัสสินทรีย์เป็นบริวารแห่งจิตและเจตสิก ด้วยกิจคือความสิเนหา ดุจน้ำเป็นบริวารแห่งจุณเครื่องฟอกตัวในเวลาอาบน้ำ.
               บทนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถมรรคอันสัมปยุตด้วยโสมนัส.
               พึงเห็นอุเบกขินทรีย์ในฐานะแห่งโสมนัสสินทรีย์ ในมรรคอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา.
               อนึ่ง พึงถือเอาอุเบกขินทรีย์นั้นว่า มีความไม่เพิ่มขึ้นเป็นบริวารของสัมปยุตธรรมทั้งหลาย
               บทว่า ปวตฺตสนฺตตาธิปเตยฺยปริวารํ - ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร คือความสืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่าปวัตตสันตตี.
               อธิบายว่า สันดานที่กำลังเป็นไปอยู่. ความเป็นแห่งอธิบดี ชื่อว่าอธิปเตยยะ. ความเป็นอธิบดีแห่งความสืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่าปวัตตสันตตาธิปเตยยะ.
               ชีวิตินทรีย์เป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เบื้องบนของชีวิตินทรีย์ที่กำลังเป็นไปอยู่ และเพราะความเป็นอธิบดีของความสืบต่อที่เป็นไป ด้วยสามารถแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
               บทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺคกฺขเณ ชาตา ธมฺมา - ธรรมทั้งหลายเกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงคุณแห่งธรรมสัมปยุตด้วยมรรคทั้งปวง.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกฺขเณ ชาตา - ธรรมทั้งหลายเกิดในขณะแห่งมรรค คือธรรมที่ตั้งอยู่ในมรรคอย่างนั้น. มิใช่ธรรมอื่น. เพราะรูปแม้ตั้งอยู่ในมรรค ก็ไม่ได้ชื่อว่ากุศลเป็นต้น. ฉะนั้น เมื่อนำรูปนั้นออกไป จึงกล่าวว่า ฐเปตฺวา จิตฺตสมุฏฺฐานํ รูปํ - นอกจากรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน. เพราะว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นเป็นกุศล ด้วยอรรถว่ามีการทำลายสิ่งน่าเกลียดเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้นทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นไปอยู่. ชื่อว่า อนาสวา - เพราะไม่มีอาสวะ.
               ธรรมทั้งหลายตัดมูลแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า นิยฺยานิกา เพราะนำออกจากวัฏฏะ.
               ธรรมที่กล่าวคือ กุศล อกุศล ชื่อว่าอปจยคามิโน เพราะทำนิพพาน กล่าวคือความไม่สะสม เพราะความปราศจากไปให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไป ย่อมถึงความไม่สะสม.
               ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะไม่สะสม คือกำจัดสิ่งที่เป็นไปอยู่บ้าง.
               ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะข้ามออกไปจากโลก โดยความไม่เกี่ยวเนื่องในโลก.
               ชื่อว่า นิพฺพานารมฺมณา เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์.
               บทมีอาทิว่า อิมานิ อฏฺฐินฺทฺริยานิ มีอินทรีย์ ๘ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเป็นบริวารดังกล่าวแล้วในตอนก่อน ความเป็นธรรมมีอาทิ สหรคตด้วยอินทรีย์นั้น และอาการดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐินฺทฺริยานิ คือ อินทรีย์ ๘ พร้อมด้วยปัญญินทรีย์ มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
               บทว่า สหชาตปริวารา - มีสหชาตเป็นบริวาร คือ อินทรีย์ ๗ นอกนั้น พร้อมด้วยอินทรีย์หนึ่งๆ ในอินทรีย์ ๘ เป็นสหชาต จึงชื่อว่ามีสหชาตของอินทรีย์นั้นเป็นบริวาร.
               อนึ่ง ธรรมอื่นๆ เป็น อญฺญมญฺญปริวารา คือ มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวารด้วยประการฉะนี้. ธรรมทั้งหลายมีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวารของกันและกันก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
               บทว่า สหคตา คือ ถึงภาวะมีเกิดร่วมกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
               บทว่า สหชาตา คือ เกิดพร้อมกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
               บทว่า สํสฏฺฐา คือ เกี่ยวข้องกันกับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
               บทว่า สมฺปยุตฺตา คือ ประกอบด้วยประการมีเกิดร่วมกัน เสมอกับด้วยอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
               บทว่า เตว ได้แก่ ธรรมคืออินทรีย์ ๘ เหล่านั้นนั่นเอง.
               บทว่า ตสฺส ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์.
               บทว่า อาการา คือ ส่วนที่เป็นบริวาร.
               บทว่า ผลกฺขเณ ชาตา ธมฺมา สพฺเพว อพฺยากตา โหนฺติ - ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะผล ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต คือท่านกล่าวพร้อมกับรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะแม้รูปก็เป็นอัพยากฤต. ท่านไม่กล่าวว่า เป็นกุศล เป็นนิยยานิกะและเป็นอปจยคามี ในขณะผล เพราะมรรคเป็นกุศล เป็นนิยยานิกะและเป็นอปจยคามี.
               บทมีอาทิว่า อิติ เป็นบทสรูป มีประการดังกล่าวแล้ว.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐฏฺฐกานิ - อินทรีย์ ๘ หมวด คือ หมวด ๘ แห่งอินทรีย์ อย่างละ ๘ ด้วยสามารถหมวด ๘ หมวดหนึ่งๆ ในมรรคและผล ๘.
               บทว่า จตุสฏฺฐี โหนฺติ คือ รวมเป็นอาการ ๖๔.
               บทมีอาทิว่า อาสวา มีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
               ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงอาสวะอันทำลายด้วยอรหัตมรรคเท่านั้น กล่าวถึงการทำลายด้วยมรรค ๓ หมวดที่เหลือ โดย เพียงเป็นคำกล่าวธรรมดาถึงความสิ้นอาสวะ. เพราะท่านกล่าวถึงอรหัตมรรคญาณว่า ขเย ญาณํ - ญาณในความสิ้นไป เพราะสิ้นอาสวะไม่มีอาสวะไรๆ เหลือเลย. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันต์ขีณาสพ ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา อาสวักขยญาณนิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 257อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 258อ่านอรรถกถา 31 / 264อ่านอรรถกถา 31 / 737
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=2907&Z=2969
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=8828
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=8828
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :