![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พึงทราบวินิจฉัยในกรรมกถานั้นดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า อโหสิ กมฺมํ อโหสิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลในภพอดีต แห่งกรรมที่ทำแล้วในภพอดีตนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ อโหสิ กมฺมวิปาโก. ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพอดีต ด้วยความบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมอดีต อันเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลแห่งกรรมอดีต ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัยในภพปัจจุบัน แห่งวิบากอันยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ อตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมมีอยู่. ท่านถือเอาวิบากอันยังไม่ให้ผลแห่งกรรมอดีต อันล่วงเลยกาลแห่งวิบากแล้ว และของผู้ปรินิพพานในภพปัจจุบันนั้นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่. ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผล ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัยในภพอนาคต แห่งกรรมอดีตอันควรแก่วิบาก อันเป็นวิบากยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากกรรมจักมี. ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล แห่งกรรมอดีตอันล่วงกาลแห่งวิบากแล้ว และดับรอบในภพอนาคตนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักไม่มี. ท่านแสดงกรรมอดีตอย่างนี้ไว้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบาก และมิใช่วิบาก ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต. ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลในปัจจุบันนี้ แห่งกรรมอันเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ทำแล้วในภพนี้ แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺมํ อตฺถิ กมฺม ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพนี้ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัยของกรรมปัจจุบันนั้น และยังไม่ให้ผลในภพนี้ ของผู้ปรินิพพานในปัจจุบันแล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากของกรรมไม่มีอยู่. ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคตของกรรมปัจจุบัน อันเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม และอปราปริยเวทนียกรรม แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากกรรมจักมี. ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผลในภพอนาคต ด้วยความบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมปัจจุบันอันเป็นอุป ท่านแสดงถึงปัจจุบันกรรมอย่างนี้ไว้ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบากและมิใช่วิบากในปัจจุบันและอนาคต. ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคต แห่งกรรมที่ควรทำในภพอนาคต แล้วจึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักมี. ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล ด้วยบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมอนาคตนั้น และไม่ควรให้ผลของผู้ควรปรินิพพานในภพอนาคต แล้วจึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักไม่มี. ท่านแสดงกรรมอนาคตอย่างนี้ไว้ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบากและมิใช่วิบากในอนาคต เป็นอันท่านทำกรรมทั้งหมดนั้น เป็นอันเดียวกันแล้วแสดงกรรม ๑๒ อย่าง. ท่านตั้งอยู่ในฐานะนี้แล้วนำกรรมจตุกะ ๓ มากล่าว เมื่อท่านกล่าวกรรมจตุกะนั้นแล้ว ความนี้จักปรากฏว่า เพราะกรรม ๔ อย่าง คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุป ในกรรมเหล่านั้นชวนเจตนาครั้งแรก เป็นกุศลก็ดี เป็นอกุศลก็ดี ในจิต ๗ ดวง ในชวนวิถีจิต ๑ ดวง ชื่อว่าทิฏฐธรรม อุปปัชชเวทนียกรรมนั้นย่อมให้ผลในอัตภาพเป็นลำดับไป เมื่อไม่อาจให้ผลอย่างนั้นได้ ก็เป็นอโหสิกรรมตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. อนึ่ง ชวนเจตนา ๕ ดวง ในระหว่างกรรมทั้งสองนั้น ชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรม. อปราปริยเวทนียกรรมนั้น ย่อมได้โอกาสเมื่อใดในอนาคต ย่อมให้ผลเมื่อนั้น เมื่อยังมีการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ชื่อว่าอโหสิกรรม ก็จะไม่มี. กรรม ๔ อย่าง แม้อื่น เป็นครุกรรม พหุลกรรม อาสันนกรรมและกฏัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ). ในกรรมนั้นเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล. ในกรรมหนักและไม่หนัก กรรมใดหนักมีฆ่ามารดาเป็นต้น หรือมหัคคตกรรม (กรรมเกิดจากการได้ฌาน) กรรมนั้นแลให้ผลก่อน. อนึ่ง แม้ในกรรมหนาและไม่หนา กรรมใดหนามีความเป็นผู้มีศีลก็ดี เป็นผู้ทุศีลก็ดี กรรมนั้นย่อมให้ผลก่อน. กรรมที่ระลึกถึงก็ดี กรรมที่ทำแล้วก็ดี ในเวลาใกล้ตาย ชื่อว่าอาสันนกรรม. จริงอยู่ ผู้ใกล้จะตายอาจระลึกถึงหรือทำกรรมใด การได้อาเสวนะบ่อยๆ พ้นจากกรรม ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมนั้นนั่นเอง ชื่อว่ากฏัตตาวาปนกรรม. ในเมื่อไม่มีกรรมเหล่านั้น กฏัตตาวาปนกรรมนั้นย่อมฉุดคร่าปฏิสนธิ. กรรม ๔ อย่างอื่นอีก คือ ชนกกรรม (กรรม ในกรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ชื่อว่าชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นยังรูปวิบากและอรูปวิบากให้เกิด แม้ในการเป็นไปในปฏิสนธิ. ส่วนอุปัตถัมภกรรมไม่สามารถให้วิบากเกิดได้ ย่อมสนับสนุนสุขและทุกข์อันเกิดขึ้น ในวิบากที่เกิดแล้วด้วยปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ ย่อมให้เป็นไปตลอด อุปปีฬกกรรมย่อมบีบคั้น เบียดเบียนสุขและทุกข์อันเกิดในวิบากที่เกิดแล้วด้วยปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ ย่อมไม่ให้เพื่อเป็นไปตลอดกาลไกลได้. ส่วนอุปฆาตกรรมตัดรอนกรรมที่มีกำลังอ่อนอื่น ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง แล้วป้องกันวิบากของกรรมนั้น ทำโอกาสแก่วิบากของตน ก็เมื่อโอกาสอันกรรมนั้นทำแล้ว ท่านกล่าวว่า กรรมนั้นชื่อว่าเกิดวิบาก. ด้วยประการฉะนี้ ระหว่างกรรมและระหว่างวิบากแห่งกรรม ๑๒ เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่พระพุทธ นักวิปัสนาพึงรู้ระหว่างกรรมและระหว่างวิบากโดยเอกเทศ. เพราะฉะนั้น ท่านประกาศความพิเศษของกรรมนี้โดยเห็นเพียงเป็นหัวข้อ. ท่านกล่าวปฐมวารด้วยอำนาจกรรมล้วนๆ อย่างนี้ แล้วจำแนกกรรมนั้นนั่นแล ออกเป็น ๒ ส่วน แล้วจึงกล่าวถึงวาระ ๑๐ อื่นอีกโดยปริยาย ๑๐ ด้วยอำนาจแห่งคู่ของกรรมมีกุศลกรรม และอกุศลกรรมเป็นต้น. ในกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น ชื่อว่า กุสลํ เพราะอรรถว่าไม่มีโรค ชื่อว่า อกุสลํ เพราะอรรถว่าไม่มีโรคหามิได้ (มีโรค). ท่านกล่าว อกุศลนั่นแลเป็นสาวัชชะ (มีโทษ) เพราะประกอบด้วยโทษมีราคะเป็นต้น. กุศลเป็นอนวัชชะ (ไม่มีโทษ) เพราะไม่มีโทษ มีราคะเป็นต้นนั้น. อกุศลชื่อว่าเป็นกัณหธรรม (ธรรมดำ) เพราะไม่มีบริสุทธิ์ หรือเพราะเหตุเกิดเป็นธรรมดำ. กุศลชื่อว่าสุกธรรม (ธรรมขาว) เพราะบริสุทธิ์ หรือเพราะเหตุเกิดเป็นธรรมขาว. กุศลชื่อว่า สุขุทรยะ (กรรมมีสุขเป็นกำไร) เพราะเจริญด้วยความสุข อกุศลชื่อว่า ทุกขุทรยะ (กรรมมีทุกข์เป็นกำไร) เพราะเจริญด้วยทุกข์. กุศลมีสุขเป็นวิบาก เพราะมีผลเป็นสุข. อกุศลมีทุกข์เป็นวิบาก เพราะมีผลเป็นทุกข์. พึงทราบอาการต่างกันแห่งกรรมเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล. จบอรรถกถากรรมกถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๗. กรรมกถา จบ. |