![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ____________________________ ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๕๔๕ ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺโคติ เกนฏฺเฐน มคฺโค บทว่า มคฺโค ชื่อว่ามรรค ด้วยอรรถว่ากระไร คือในพระพุทธศาสนา ท่านกล่าว ในปริยาย ๑๐ มีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิยา ปหานาย เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ท่าน บทว่า มคฺโค เจว เหตุ จ เป็นมรรคและเป็นเหตุ คือชื่อว่ามรรค ด้วยอรรถว่าเป็นทางเฉพาะเพื่อทำกิจนั้นๆ. ชื่อว่าเหตุ ด้วยอรรถว่าเป็นผู้ทำให้ถึง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงมรรคมีอรรถว่า เป็นทางเฉพาะและมีอรรถว่าเป็นผู้นำให้ถึงมรรค มรรคเป็นทางเฉพาะในบทมีอาทิว่า นี้เป็นมรรค นี้เป็นปฏิปทา เหตุเป็นผู้นำให้ถึงในประโยคมีอาทิว่า มรรคมีอรรถว่านำออกไป มีอรรถว่าเป็นเหตุแห่งมรรค. ด้วยบททั้งสองนี้เป็นอันท่านทำการแก้คำถามว่า มคฺโคติ เกนฏฺเฐน มคฺโค ดังนี้. บทว่า สหชาตานํ ธมฺมานํ อุปตฺถมฺภนาย เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม คือเพื่อความเป็นการอุปถัมภ์รูป บทว่า กิเลสานํ ปริยาทาย เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย คือเพื่อให้เกิดกิเลสที่เหลือดังกล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า ปฏิเวธาทิวิโสธนาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ มีความดังนี้. เพราะศีลและทิฏฐิเป็นเบื้องต้นแห่งสัจจปฏิเวธโดยพระบาลีว่า๒- อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลบริสุทธิด้วยดีและทิฏฐิอันตรง ศีลและทิฏฐินั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยมรรคในเบื้องต้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าว ปฏิเวธาทิวิโสธนาย ดังนี้. ____________________________ ๒- สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๖๘๗ บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺฐานาย เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต คือเพื่อความตั้งมั่นในกิจของตนแห่งจิตอันสัมปยุตกัน. บทว่า จิตฺตสฺส โวทานาย เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต คือเพื่อบริสุทธิ์แห่งจิต. บทว่า วิเสสาธิคมาย เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ คือเพื่อได้เฉพาะคุณวิเศษกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า อุตฺตริปฏิเวธาย เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือเพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่งกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า สจฺจาภิสมยาย เพื่อตรัสรู้สัจจะ คือเพื่อตรัสรู้ธรรมเอกแห่งอริยสัจ ๔ คือ เพื่อแทงตลอดธรรมเอกด้วยสามารถยังกิจให้สำเร็จ. บทว่า นิโรเธปติฏฺฐาปนาย เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ คือเพื่อให้จิตหรือบุคคลตั้งอยู่ในนิพพาน. ท่านทำองค์แห่งมรรค ๘ เป็นอันเดียวกันแล้ว กล่าวถึงการละ ด้วยบทมีอาทิว่า ทสฺสนมคฺโค เป็นมรรค บทแม้ทั้งหมดเหล่านั้น มีความดังที่ท่าน ในบทนี้ ท่านชี้แจงถึงมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระตามที่เกิดอย่างนี้. ท่านชี้แจงถึงมรรคด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ. อนึ่ง เพราะมรรคนั้นเป็นมรรคโดยตรง ท่านจึงไม่กล่าวว่า มคฺโค. บทมีอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเฐน อินฺทฺริยา ชื่อว่าอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอรรถของอินทรีย์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า สจฺจานิ นี้ได้แก่สัจจญาณ. ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่ามรรค ด้วยอรรถว่าเป็นทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน. อนึ่ง นิพพานท่านกล่าวไว้ในที่สุด พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามรรค เพราะสัตบุรุษผู้ถูกสังสารทุกข์ครอบงำ ผู้ต้องการพ้นจากทุกข์แสวงหา. จบอรรถกถามรรคกถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๙. มรรคกถา จบ. |