![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พึงทราบวินิจฉัยในวิราคกถานั้นก่อน. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงอรรถแห่งบทพระสูตรทั้งสองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า๑- เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมพ้น จึงตั้งอุเทศว่า วิราโค มคฺโค วิมุตฺติ ผลํ วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล. พระสารีบุตรเถระประสงค์ชี้แจงอรรถแห่งคำในวิราคกถานั้นก่อน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ วิราโค มคฺโค วิราคะเป็นมรรคอย่างไร. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๒๓ ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรชฺชติ ย่อมคลาย คือปราศจากความกำหนัด. บทที่เหลือมีอรรถดังกล่าวแล้วในมรรคญาณนิเทศ. บทว่า วิราโค ความว่า เพราะสัมมาทิฏฐิ ย่อมคลายความกำหนัด ฉะนั้นจึงชื่อว่าวิราคะ. อนึ่ง วิราคะ (มรรค) นั้น เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ ฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ของคำทั้งหลาย ๕ มีอาทิว่า วิราคารมฺมโณ (มีวิราคะ คือนิพพานเป็นอารมณ์) อย่างนี้ว่า วิราโค วิราคะ (มรรค). ในบทเหล่านั้น บทว่า วิราคารมมโณ คือ มีนิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า วิราคโคจโร มีวิราคะเป็นโคจร คือมีนิพพานเป็นวิสัย. บทว่า วิราเค สมุปาคโต เข้ามาประชุมในวิราคะ คือเกิดพร้อมกันในนิพพาน. บทว่า วิราเค ฐิโต ตั้งอยู่ในวิราคะ คือตั้งอยู่ในนิพพานด้วยอำนาจแห่งความเป็นไป. บทว่า วิราเค ปติฏฺฐิโต ประดิษฐานในวิราคะ คือประดิษฐานในนิพพานด้วยอำนาจแห่งการไม่กลับ. บทว่า นิพฺพานญฺจ วิราโค นิพพานเป็นวิราคะ คือนิพพาน ชื่อว่าเป็นวิราคะ เพราะมีวิราคะเป็นเหตุ. บทว่า นิพฺพานารมฺมณตา ชาตา ธรรมทั้งปวงเกิดเพราะสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือธรรมทั้งปวงเกิดในสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ หรือด้วยความที่สัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์. ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นทั้งปวงอันสัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น ชื่อว่าวิราคะ เพราะอรรถว่าคลายความกำหนัด เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิราคะ. บทว่า สหชาตานิ เป็นสหชาติ คือองค์แห่งมรรค ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น เกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิราคํ คจฺฉนฺตีติ วิราโค มคฺโค องค์ ๗ ที่เกิดร่วมกันย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะเหตุนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค. ความว่า องค์ ๗ ที่เกิดร่วมกันย่อมถึงวิราคะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิราคะ เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าแสวงหา องค์แห่งมรรคแม้องค์หนึ่งๆ ย่อมได้ชื่อว่ามรรค เมื่อท่านกล่าวถึงความที่องค์หนึ่งๆ เป็นมรรค เป็นอันกล่าวถึงความที่แม้สัมมาทิฏฐิก็เป็นมรรคด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงถือเอาองค์แห่งมรรค ๘ แล้ว บทว่า พุทฺธา จ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านสงเคราะห์เอาแม้พระปัจเจก จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ชื่อว่าพุทธะเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ เหล่านี้ คือ พระตถาคต ____________________________ ๒- องฺ. ทุก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๓๐๑ บทว่า อคตํ ไม่เคยไป คือไม่เคยไปในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด. บทว่า ทิสํ ชื่อว่าทิส เพราะเห็น อ้างถึง ติดต่อ ด้วยการปฏิบัติทั้งสิ้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิส เพราะพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเห็น ทรงอ้างถึง ทรงกล่าวว่า ปรมึ สุขํ เป็นสุขอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิส เพราะเป็นเหตุเห็น สละทอดทิ้งทุกข์ทั้งปวง นิพพานอันเป็นทิสนั้น. บทว่า อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค มรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระสาวกทั้งหลาย ย่อมถึงนิพพานด้วยประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้น ด้วยเหตุนั้น ประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้นจึงชื่อว่ามรรค เพราะอรรถเป็นเครื่องไป. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ปรปฺปวาทานํ สมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถึอ บทว่า อคฺโค เลิศ คือมรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐกว่ามรรคที่เหลือเหล่านั้น. บทว่า เสฏฺโฐ ประเสริฐ คือน่าสรรเสริญอย่างยิ่งกว่ามรรคที่เหลือ. บทว่า วิโมกฺโข เป็นประธาน คือดีในการเป็นประธาน. ความว่า ความดีนี้แหละในเพราะเป็นประธานของมรรคที่เหลือ. บทว่า อุตฺตโม สูงสุด คือข้ามมรรคที่เหลือไปได้อย่างวิเศษ. บทว่า ปวโร ประเสริฐ คือ แยกออกจากมรรคที่เหลือโดยประการต่างๆ. บทว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเหตุ. เพราะฉะนั้นอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอัฏ สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า๓- อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย บททั้ง ๔ ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคะประเสริฐกว่าธรรม ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์ ๒ เท้า ทั้งหลาย. ____________________________ ๓- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๐ ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสมรรคนั้นแล้วตรัสว่า อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ดังนี้. แม้ในวาระที่เหลือ พึงทราบความโดยนัยนี้และโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. วิราคะอันได้แก่ความเห็นในบทมีอาทิว่า ทสฺสนวิราโค ชื่อว่าวิราคะ เพราะความเห็น. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงพละก่อนกว่าอินทรีย์ในที่นี้ เพราะพละประเสริฐกว่าอรรถแห่งความเป็นอินทรีย์. บทมีคำอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเฐน อินฺทฺริยานิ เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ เป็นการชี้แจงอรรถของอินทรีย์เป็นต้น มิใช่ชี้แจงอรรถของวิราคะ. บทว่า ตถฏฺเฐน สจฺจา เป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นของแท้ คือ พึงทราบว่าเป็นสัจจญาณ. บทว่า สีล วิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมมาอาชีวะ. บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต คือสัมมาสมาธิ. บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ. บทว่า วิชชาวิมุตตฏเฐน เพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ คือเพราะอรรถพ้นจากกิเลสอันทำลายด้วยมรรคนั้นๆ. บทว่า วิชฺชา ความรู้แจ้ง คือสัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิมุตฺติ ความพ้นวิเศษ คือสมุจเฉทวิมุตติ. บทว่า อยโตคธํ นิพฺพานํ ปริโยสานฏฺเฐน มคฺโค นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรค เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่ามรรค เพราะแสวงหาด้วยการพิจารณามรรคผล. ธรรมที่ท่านกล่าวในวิราคนิเทศนี้แม้ทั้งหมด ก็ในขณะแห่งมรรคนั่นเอง. ใน พึงทราบอรรถแม้ในวิมุตตินิเทศโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิราคนิเทศนั่นแล. อนึ่ง ผลในนิเทศนี้ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นด้วยความสงบ. นิพพาน ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นด้วยการนำออกไป. คำมีอาทิว่า สหชาตานิ สตฺตงฺคานิ องค์ ๗ เป็นสหชาติ ย่อมไม่ได้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ได้กล่าวไว้ เพราะพ้นเป็นผลเอง ท่านจึงกล่าวเพียงเท่านี้ว่า ปริจฺจา บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. จบอรรถกถาวิราคกถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ๕. วิราคกถา จบ. |