![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในพระสูตรนั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้ก่อน.๑- ____________________________ ๑- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๐๐ บทว่า ปาฏิหาริยานิ คือ ปาฏิหาริย์ด้วยการนำสิ่งเป็นข้าศึกออกไปคือนำกิเลสออกไป. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ อิทธิปาฏิหาริย์ชื่อว่าอิทธิ ด้วยความสำเร็จ ชื่อว่าปาฏิหาริยะ ด้วยการนำออกไป อิทธินั่นแหละเป็นปาฏิหาริยะ จึงชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์. ส่วนในปาฏิหาริย์นอกนี้ ชื่อว่าอาเทศนา ด้วยการดักใจ. ชื่อว่าอนุศาสนี ด้วยการพร่ำสอน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า เอกจฺโจ คือ บุรุษคนหนึ่ง. อิทธิปาฏิหาริยนิเทศมีอรรถดังกล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ย่อมทายใจตามนิมิตคือย่อมกล่าวด้วยนิมิตที่มาแล้วด้วยนิมิตที่ไปแล้วหรือด้วยนิมิตแห่งจิต. บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ใจของท่านเป็นอย่างนี้ คือใจของท่านเป็นอย่างนี้มีโสมนัส มีโทมนัสหรือสัมปยุตด้วยกามวิตกเป็นต้น. อปิศัพท์เป็นสัมบิณฑนัตถะ (มีความรวมกัน). บทว่า อิตฺถมฺปิ เต มโน ใจของท่านเป็นประการนี้ คือแสดงประการต่างๆ ในจิตแม้อย่างหนึ่งๆ จากจิตมีโสมนัสเป็นต้น. บทว่า อิติปิ เต จิตฺตํ จิตของท่านเป็นดังนี้ คือจิตของท่านแม้เป็นดังนี้. ความว่า จิตคิดถึงประโยชน์นี้ๆ เป็นไป. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ แม้ภิกษุนั้นทายใจเป็นอันมาก คือกล่าวแม้ บทว่า ตเถว ตํ โหติ โน อญฺญถา การทายใจนั้นก็เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือการทายใจก็เป็นเหมือนที่กล่าวทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น. บทว่า น เหว โข นิมิตฺเตน อาทิสติ ภิกษุไม่ทายใจตามนิมิตเลยคือแม้รู้นิมิตอยู่ก็ไม่กล่าวตามนิมิตอย่างเดียว. บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงปริยายอื่นอีก. บทว่า มนุสฺสานํ คือ แห่งมนุษยืผู้ยังจิตให้เกิด. บทว่า อมนุสฺสานํ คือ ยักษ์ปิศาจเป็นต้นที่ได้ฟังแล้วหรือยังไม่ได้ฟัง. บทว่า เทวตานํ คือ เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น. บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ฟังเสียงแล้ว คือฟังเสียงของผู้รู้จิตของคนอื่นแล้วกล่าว. บทว่า ปน เป็นนิบาต ลงในความริเริ่มอีก. บทว่า วิตกฺกยโต ของผู้วิตกคือของผู้ตรึกด้วยวิตกตามธรรมดา. บทว่า วิจารยโต ของผู้ตรองด้วยวิจารสัมปยุตด้วยวิตกนั่นเอง. บทว่า วิตกฺกวิจารสทฺทํ สุตฺวา ฟังเสียงวิตกวิจาร คือฟังเสียงละเมอของคนหลับคนประมาทบ่นพึมพำอันเกิดขึ้นด้วยกำลังของวิตก ย่อมทายมีอาทิว่าใจของท่านเป็นดังนี้ด้วยอำนาจแห่งเสียงที่เกิดขึ้นแก่ผู้วิตก. บทว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธึ สมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่าน บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ กำหนดใจด้วยใจย่อมรู้ เป็นการได้เจโตปริยญาณ. บทว่า โภโต คือ ผู้เจริญ. บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา ตั้งมโนสังขารไว้ คือตั้งจิตสังขารไว้. บทว่า อมุนฺนาม วิตกฺกํ วิตกฺเกสสติ จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้น คือย่อมรู้ว่าจักตรึกจักประพฤติวิตกมีกุศลวิตกเป็นต้น. อนึ่ง เมื่อรู้ย่อมรู้ด้วยการเข้าถึงย่อมรู้โดยส่วนเบื้องต้น ตรวจดูจิตในภายใน บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ ถึงแม้ภิกษุนั้นทายใจไว้เป็นอันมาก คือถึงแม้กล่าวไว้เป็นอันมากด้วยประเภท ๑๖ มีสราคะเป็นต้นเพราะทำเจโตปริยญาณให้เป็นอารมณ์แห่งจิตและเจตสิก พึงทราบว่ามิใช่ด้วยสามารถอย่างอื่น. บทว่า ตเถว ตํ โหติ การทายใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น คือการรู้โดยเจโตปริยญาณก็เป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียวไม่มีโดยประการอื่น. บทว่า เอวํ วิตกฺเกถ จงตรึกอย่างนี้ คือจงตรึกยังเนกขัมมวิตกเป็นต้นไปอย่างนี้. บทว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ จงอย่าตรึกอย่างนี้ คือจงอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอวํ มนสิ กโรถ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ คือจงทำไว้ในใจซึ่งอนิจจสัญญาหรือในทุกขสัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ จงอย่าตรึกอย่างนี้ คือจงอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอวํ มนสิ กโรถ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ คือจงทำไว้ในใจซึ่ง บทว่า มา เอวํ มนสากริตฺถ จงอย่าทำในใจอย่างนี้ คือจงอย่าทำในใจโดยนัยมีอาทิว่าเที่ยงเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า อิทํ ปชหถ จงละธรรมนี้คือจงละกามคุณ ๕ และราคะเป็นต้นนี้. บทว่า อิทํ อุปสมฺปชฺช วิหรถ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด คือจงบรรลุให้สำเร็จโลกุตรธรรมอันมีประเภทเป็นมรรค ๔ ผล ๔ นี้อยู่เถิด. บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงปริยายอื่นในอิทธิปาฏิหาริย์โดยวิเศษจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ อิชฺฌตีติ อิทฺธิ ชื่อว่าอิทธิเพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จในบทเหล่านั้น. บทว่า กามฉนฺทํ ปฏิหรติ เนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะได้ คือเนกขัมมะเป็นกำลังเฉพาะย่อมนำออกคือละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ของตน เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะนั่นแหละจึงชื่อว่าปาฏิหาริยะ. บทว่า เย เตน เนกฺขมฺเมน สมนฺนาคตา ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้น คือบุคคลเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้นนำกามฉันทะออกไปอย่างนี้ด้วยการได้เฉพาะ. บทว่า วิสุทฺธจิตฺตา คือ มีจิตบริสุทธิ์เพราะไม่มีกามฉันทะ. บทว่า อนาวิลสงฺกปฺปา มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือมีความดำริในเนกขัมมะไม่ขุ่นมัวด้วยการดำริถึงกาม. บทว่า อิติ อาเทสนาปาฏิหาริยํ เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะจึงเป็น อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบทำอาเทสนศัพท์ ให้เป็นปาฐะที่เหลือ เพราะเหตุนั้น การทายใจอย่างนี้ชื่อว่า บทว่า เอวํ อาเสวิตพฺพํ พึงเสพอย่างนี้ คือพึงเสพด้วยประการนี้แต่ต้น ใน ๓ บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตทนุธมฺมตา สติ อุปฏฺฐาเปตพฺพา พึงตั้งสติเป็นธรรมดาตามสมควร คือพึงตั้งสติอันช่วยเนกขัมมะนั้นให้ยิ่งยวดใน บทว่า อิติ อนุสาสนีปฏิหาริยํ เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริยะนี้พึงทำการประกอบดุจด้วยการประกอบ แม้ในพยาบาทเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน แต่ปาฐะท่านย่อฌานเป็นต้นแล้วเขียนแสดงอรหัตมรรคไว้ในที่สุด พึงทราบว่าท่าน จริงอยู่ พึงทราบว่า เมื่อยังมรรคให้เกิดด้วยวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีกล่าวคือโลกิยะมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค เมื่อทำอาเสวนะเป็นต้นแล้วแม้มรรคเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนานั้นก็เป็นอันชื่อว่าเสพแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว. ฝ่ายอาจารย์ผู้เป็นสัพพัตถิกวาท (มีวาทะทุกอย่างมีประโยชน์) กล่าวว่ามรรคหนึ่งๆ มี ๑๖ ขณะ แต่การตั้งสติเป็นธรรมดาตามสมควรแก่มรรคนั้น ย่อมพยายามในส่วนเบื้องต้นเท่านั้น. เพื่อแสดงความที่บทว่า อิทธิปาฏิหาริยํ เป็นกัมมธารยสมาสท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนกฺขมมํ อิชฺฌตีติ อิทฺธิ อีกครั้ง เมื่อท่านกล่าวความที่อิทธิปาฏิหาริยะเป็นสมาสใน ๓ ปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วในพระสูตรก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ปาฏิหาริยะสองที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวอรรถแห่งสมาสของอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นบทต้นในปริยายนี้แล. จบอรรถกถาปาฏิหาริยกถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค ๖. ปาฏิหาริยกถา จบ. |