![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจํ ขยฏฺเฐน - รูปไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป คือ รูปชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะความสิ้นไปในลักษณะนั้นๆ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีความสิ้นไป เสื่อมไป หมดความยินดี ดับไปเป็นธรรมดา. บทว่า ทุกฺขํ ภยฏฺเฐน เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว คือ ชื่อว่าทุกข์ เพราะความมีภัยเฉพาะหน้า. เพราะสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งความน่ากลัว ดุจความทุกข์ของทวยเทพในสีโหปมสูตร๑- ฉะนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ทุกฺขํ ด้วยอรรถว่าชาติ ชรา พยาธิและมรณะ เป็นสิ่งน่ากลัว. ____________________________ ๑- สํ. ขนฺธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๕๕ บทว่า อนตฺตา อสารกฏฺเฐน เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ คือ ชื่อว่าอนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตนที่กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ตัวตน ผู้อยู่อาศัย ผู้กระทำ ผู้รู้ ผู้มีอำนาจเอง เพราะว่าสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่สามารถจะดำรงความไม่เที่ยงแม้ของตนหรือความเกิด ความเสื่อมและความบีบคั้นไว้ได้, จะหาความเป็นผู้กระทำเป็นต้นของตนนั้นได้แต่ไหน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้เป็นตัวตนแล้วไซร้, รูปนี้จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธเลย.๒- อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่าอนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตน ไม่มีแก่นสารเป็นนิจ. ____________________________ ๒- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๒๐ จบอรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ลักขณัตติกนิทเทส จบ. |