ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔]อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 85อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 86อ่านอรรถกถา 31 / 92อ่านอรรถกถา 31 / 737
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
สีลมยญาณนิทเทส

               ๒. อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส               
               [๘๖] พึงทราบวินิจฉัยในสีลมยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               บทว่า ปญฺจ คือการกำหนดจำนวน.
               บทว่า สีลานิ เป็นการแสดงธรรมที่กำหนดไว้.
               บทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสุทฺธิสีลํ - ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ได้แก่ แสดงศีล ๕ โดยสรุป.
               พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสุทฺธิ ดังต่อไปนี้
               ความบริสุทธิ์ชื่อว่าปริยันตะ เพราะความบริสุทธิ์มีส่วนสุด คือมีกำหนดด้วยการนับเหมือนผ้า เพราะย้อมด้วยสีเขียว จึงเรียกว่า นีลํ เพราะมีสีเขียว.
               อีกอย่างหนึ่ง เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความบริสุทธิ์ชื่อว่าปริยันตะ เพราะมีที่สุดคืออวสาน เพราะผู้มีศีลยังไม่สมบูรณ์ ปรากฏอวสานแล้ว.
               อีกอย่างหนึ่ง ควรกล่าวว่า สปริยนฺตา พึงทราบว่าท่านลบ อักษรเสีย ดุจลบ อุอักษรในบทนี้ว่า ทกํ ทกาสยา ปวิสนฺติ๑- - กระแสน้ำย่อมไหลไปสู่แม่น้ำ.
____________________________
๑- สํ. ขนฺธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๕๕

               ความบริสุทธิ์ชื่อว่าปาริสุทธิ, ความบริสุทธิ์นั้นมีส่วนสุด จึงชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิ, ศีลคือปริยันตปาริสุทธิ ชื่อปริยันตปาริสุทธิศีล.
               โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ชื่อว่าอปริยันตะ, ชื่อว่าอปริยันตะ เพราะส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นไม่มีบ้าง, ส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นเจริญแล้วบ้าง.
               ชื่อว่า ปริปุณฺณา - เต็มรอบ ด้วยอรรถว่าไม่หย่อนเป็นปทัฏฐานแห่งอริยมรรค เพราะไม่ขาดจำเดิมแต่สมาทาน เพราะแม้ขาดก็ทำคืนได้ และเพราะเว้นจากมลทินแม้เพียงจิตตุปบาท และเพราะบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีอันบริสุทธิ์ และดุจทองคำที่ขัดเป็นอย่างดี ฉะนั้น.
               ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะได้ด้วยทิฏฐิ เพราะทิฏฐิไม่จับต้อง,
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะโจทก์ไม่สามารถจะกล่าวหาได้ว่า นี้เป็นโทษในเพราะศีลของท่าน.
               ชื่อว่า ปฏิปปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวายทั้งปวง ในขณะอรหัตผล.
               บทว่า อนุปฺปสมฺปนฺนานํ ชื่อว่าอุปสัมปันนา เพราะถึงพร้อมแล้วเป็นอันมากด้วยศีลสัมทา โดยที่สมาทานไม่มีส่วนเหลือ. ไม่ใช่อุปสัมบัน จึงชื่อว่าอนุปสัมบัน. ของอนุปสัมบันเหล่านั้น.
               ในบทว่า ปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - ผู้มีสิกขาบทมีที่สุดนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้
               ชื่อว่า สิกฺขา ด้วยอรรถว่าควรศึกษา,
               ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่าส่วน, อธิบายว่า ส่วนที่ควรศึกษา. อีกอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมด
               ชื่อว่า สิกฺขา เพราะควรปฏิบัติให้ยิ่งด้วยการตั้งอยู่ในศีล, ศีลทั้งหลาย
               ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งสิกขาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสิกขาบท เพราะเป็นส่วนแห่งสิกขาทั้งหลาย,
               ชื่อว่า ปริยันตสิกขาบท เพราะสิกขาบทมีที่สุด. แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุดเหล่านั้น.
               อนึ่ง ในบทนี้ ที่สุดมี ๒ อย่าง คือ สิกขาบทมีที่สุด ๑ กาลมีที่สุด ๑.
               สิกขาบทมีที่สุดเป็นอย่างไร?
               อุบาสกอุบาสิกามีสิกขาบท ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๘ หรือ ๑๐ ตามที่สมาทาน, สิกขมานา สามเณร สามเณรี มีสิกขาบท ๑๐ นี้ชื่อว่า สิกฺขาปทปริยนฺโต - มีสิกขาบทเป็นที่สุด.
               กาลมีที่สุดเป็นอย่างไร?
               อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายให้ทาน ย่อมสมาทานศีลมีการจัดอาหารเลี้ยงดูกันเป็นที่สุด, ไปวิหารแล้ว ย่อมสมาทานศีล มีวิหารเป็นที่สุด, กำหนดคืนวัน ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือยิ่งกว่านั้นแล้วสมาทานศีล นี้ชื่อว่ามีกาลเป็นที่สุด.
               ในที่สุด ๒ อย่างนี้ ศีลที่สมาทานแล้วทำสิกขาบทให้มีที่สุด ด้วยการก้าวล่วงกาลหรือด้วยความตายย่อมสงบ, ศีลที่สมาทานแล้วทำกาลมีที่สุด ด้วยการก้าวล่วงกาลนั้นย่อมสงบ.
               บทว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - สิกขาบทไม่มีที่สุด.
               ท่านกล่าวว่า
                         นว โกฏิสหสฺสานิ          อสีติ สตโกฏิโย
                         ปญฺญาส สตสหสฺสานิ      ฉตฺตึส จ ปุนาปเร,
                         วิตถารโต ทโสเปกฺขา      สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา
                         เปยฺยาลมุเขน นิทฺทิฏฺฐา   สิกฺขา วินยสํวเร.
                         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสังวรวินัยเหล่านี้ไว้
                         เก้าพันแปดร้อยโกฏิและห้าล้านสามสิบหกโกฏิ กับอื่นๆ
                         อีก ทรงชี้แจงสิกขาในสังวรวินัยด้วยหัวข้อไปยาล.
               ชื่อว่า อปริยนฺตานิ - ไม่มีที่สุด เพราะสิกขาบทเหล่านั้นไม่มีที่สุด ด้วยการสมาทานสิกขาบทแม้มีที่สุดไม่มีเหลือด้วยการคำนวณอย่างนี้ ด้วยความมีที่สุดที่ยังไม่เห็นเพราะเหตุลาภ ยศ ญาติ อวัยวะและชีวิต และด้วยความไม่มีกำหนดศีลที่ควรรักษาต่อไปข้างหน้า,
               ชื่อว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทา - สิกขาบทไม่มีที่สุด เพราะอนุปสัมบันมีสิกขาบทไม่มีที่สุด, แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุดเหล่านั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า วุทฺธปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุดเจริญแล้ว.
               พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ ดังต่อไปนี้
               ท่านกล่าวว่า
                         ปุถูนํ ชนนาทีหิ       การเณหิ ปุถุชฺชโน
                         ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา   ปุถุวายํ ชโนอิติ.
                              ชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุมีกิเลสหนาเกิดขึ้นเป็นต้น,
                         เพราะกิเลสหนาหยั่งลงภายในของปุถุชน ฉะนั้น ชน
                         นี้จึงเป็นผู้มีกิเลสหนา.
               แม้ในการก้าวลงสู่ฌานอันเป็นลักษณะของปุถุชนดังกล่าวแล้ว ท่านก็กล่าวว่า
                         ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา    พทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา
                         อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก   กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน.
                         พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึงปุถุชน
                         ไว้ ๒ ประเภทคือ อันธปุถุชน - ปุถุชนคนโง่เขลา และ
                         กัลยาณปุถุชน - ปุถุชนคนดี.
               ในปุถุชนสองประเภทดังกล่าวแล้ว ท่านอธิบายไว้ว่า
               ศีลของกัลยาณปุถุชน ผู้เป็นปุถุชนมีกัลยาณธรรมตั้งอยู่ในความเป็นกัลยาณปุถุชน ล่วงเลยความเป็นอันธปุถุชนด้วยการประพฤติกัลยาณธรรม.
               อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีกัลยาณธรรมในหมู่ปุถุชน ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ.
               กุสลศัพท์ในบทนี้ว่า กุสลธมฺเม ยุตฺตานํ ย่อมปรากฏในความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาดและผลของความสุข.
               กุสลศัพท์ปรากฏในความไม่มีโรค ในบทมีอาทิว่า๒- กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ, กจฺจิ โภโต อนามยํ - ท่านผู้เจริญสบายดีหรือ, มีอนามัยดีหรือ.
               ปรากฏในความไม่มีโทษ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า๓- กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล, โย โข มหาราช กายสมาจาโร อนวชฺโช - ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กายสมาจารเป็นกุศล เป็นไฉน? มหาราช กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารเป็นกุศล.
               และในบทมีอาทิว่า๔- ปุน จปรํ ภนฺเต เอตทานุตฺตริยํ ยถา ภควา ธมฺมํ เทเสติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ - ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยังมีข้ออื่นอีก ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในกุศลธรรมทั้งหลาย นั้นเป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
____________________________
๒- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๑๓๓  ๓- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๕๕๔
๔- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๗๕

               ปรากฏในความฉลาด ในบทมีอาทิว่า๕- กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ - ท่านเป็นผู้ฉลาดในส่วนใหญ่น้อยของรถ, และหญิงคล่องแคล่วมีกุศล คือความฉลาดการฟ้อนรำขับร้องที่ศึกษาแล้ว.๖-
               ปรากฏในวิบากของความสุข ในประโยคมีอาทิว่า๗- กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทาน เหตุ, กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา.๘- - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศลธรรมที่ท่านทำแล้ว สะสมแล้ว เพราะเหตุสมาทานกุศลกรรม.
               กุสลศัพท์ในที่นี้สมควรในความไม่มีโรคบ้าง ในความไม่มีโทษบ้าง ในวิบากของสุขบ้าง.
____________________________
๕- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๙๕  ๖- ขุ. ชา เล่ม ๒๘/ข้อ ๔๓๖
๗- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๓๓  ๘- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๓๓๘

               ส่วนอธิบายคำในกุสลศัพท์มีดังต่อไปนี้
               กุจฺฉิเต ปาปเก ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ วิทฺธํเสนฺตีติ กุสลา - ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่าทำลาย ทำให้ไหว ทำให้หวั่นไหว กำจัดธรรมอันลามกน่าเกลียด.
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากุสา เพราะอรรถว่าย่อมอยู่ คือย่อมเป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด, ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่าทำลาย คือตัดอาการน่าเกลียดเหล่านั้น,
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากุสะ เพราะทำให้เบาบาง โดยทำให้สิ้นสุดซึ่งอาการน่าเกลียดทั้งหลาย ได้แก่ญาณ. ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่าควรทำลาย ควรถือเอา ควรให้เป็นไปด้วยกุสญาณนั้น,
               อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า หญ้าคาย่อมบาดมือที่ถึงส่วนทั้งสองฉันใด, แม้กุศลธรรมเหล่านี้ก็ย่อมตัดฝ่ายเศร้าหมองที่ถึงส่วนทั้งสอง โดยความที่เกิดแล้วและยังไม่เกิดฉันนั้น, เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่าย่อมตัดดุจหญ้าคาฉะนั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ หรือด้วยอรรถว่าเกิดเพราะความเป็นผู้ฉลาด.
               แต่ในที่นี้ เพราะท่านประสงค์เอาวิปัสสนากุศลเท่านั้น, ฉะนั้น เพื่อละธรรมที่เหลือ แล้วแสดงวิปัสสนากุศลเท่านั้น พึงทราบว่า ท่านจึงทำเป็นเอกวจนะในบทว่า กุสลธมฺเม - ในกุศลธรรม.
               อธิบายว่า ประกอบแล้วในกุศลธรรมคือวิปัสสนา เพราะทำติดต่อกัน และเพราะทำด้วยความเคารพ.
               ในบทนี้ว่า เสกฺขปริยนฺเต ปริปูรการีนํ - ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ มีความดังต่อไปนี้.
               ชื่อว่า เสกฺขา เพราะเกิดในสิกขา ๓ บ้าง, เพราะธรรมเหล่านี้ของพระเสกขะ ๗ จำพวกบ้าง, เพราะพระเสกขะทั้งหลายย่อมศึกษาด้วยตนเองบ้าง. ได้แก่ ธรรมคือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผลและอรหัตมรรค.
               ชื่อว่า เสกฺขปริยนฺโต เพราะอรรถว่ามีเสกขธรรมในที่สุด คือในอวสาน, หรือมีเสกขธรรมอันเป็นที่สุด คือมีกำหนด.
               พึงเชื่อมความว่า ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะนั้น.
               ชื่อว่า ปริปูรการิโน เพราะอรรถว่ากัลยาณปุถุชน ย่อมทำกุศลธรรมให้เต็มรอบคือให้บริบูรณ์, หรือกัลยาณปุถุชนมีการทำให้เต็มรอบ คือทำให้บริบูรณ์, ของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปฏิปทาธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ อันเป็นส่วนเบื้องต้นของโสดาปัตติมรรค ด้วยความบริบูรณ์แห่งวิปัสสนา.
               ในบทนี้ว่า กาเย จ ชีวิเต จ อนเปกฺขานํ - ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต มีความดังต่อไปนี้.
               บทว่า กาเย คือ สรีระ.
               จริงอยู่ สรีระ ท่านกล่าวว่ากาย เพราะเป็นที่สะสมความไม่สะอาดของร่างกายมีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด และเพราะเป็นที่มาหลายร้อยโรคมีจักขุโรคเป็นต้น.
               บทว่า ชีวิเต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. เพราะว่าชีวิตินทรีย์นั้น ท่านกล่าวว่าชีวิต เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้เป็นอยู่.
               ชื่อว่า อนเปกฺขา เพราะอรรถว่าไม่มีอาลัยในชีวิต. อธิบายว่า หมดความเยื่อใย. กัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ไม่อาลัยในร่างกายและในชีวิตนั้น.
               บัดนี้ พระสารีบุตร เมื่อจะแสดงเหตุของความเป็นผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ปริจฺจตฺตชีวิตานํ - ผู้สละชีวิตแล้ว.
               จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่อาลัยในร่างกาย แม้ลำบากในชีวิต แม้อับเฉา ด้วยการสละชีวิตของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือแด่อาจารย์.
               บทว่า สตฺตนฺนํ เสกฺขานํ - พระเสกขะ ๗ จำพวก ได้แก่พระอริยบุคคล ๗ จำพวกมีท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นต้นได้. ชื่อว่าเสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.
               บทว่า ตถาคตสาวกานํ ได้แก่ สาวกของพระตถาคต.
               จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ชื่อว่าสาวก เพราะอรรถว่าฟังเทศนาการพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยความเคารพ ด้วยตั้งปสาทะอันไม่หวั่นไหว เพราะเกิดในชาติอันเป็นอริยะในที่สุดของการฟัง.
               แม้ในพระอริยบุคคลเหล่านั้น พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงให้วิเศษในผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผลเท่านั้น จึงกล่าวว่า ขีณาสวานํ ดังนี้.
               อธิบายว่า พระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรคญาณ.
               บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ ชื่อว่าปัจเจกพุทธะ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เดียวเท่านั้น ไม่มีอาจารย์ อาศัยเหตุนั้นๆ ตรัสรู้อริยสัจ ๔. ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเช่นนั้น.

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา สีลมยญาณนิทเทส
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔]
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 85อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 86อ่านอรรถกถา 31 / 92อ่านอรรถกถา 31 / 737
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=951&Z=1087
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=4865
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=4865
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :