ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 114อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 115อ่านอรรถกถา 32 / 116อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค
๓. สรณคมนิยเถราปทาน (๑๑๓)

               ๑๑๓. อรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสรณคมนิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
               ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดขึ้น ท่านรูปนี้ได้เกิดเป็นจอมเทพประจำป่าหิมวันต์.
               สมัยหนึ่ง เมื่อจอมเทพนั้นตระเตรียมเพื่อจะทำสงครามระหว่างยักษ์กับจอมเทพฝ่ายอื่น พวกบริวารของยักษ์มากมายประมาณได้ ๒,๐๐๐ ตนต่างก็ถือโล่และอาวุธเป็นต้นเข้าประชิดเพื่อจะทำสงครามกัน.
               ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระได้ทรงบังเกิดความกรุณาในสัตว์เหล่านั้น จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้นโดยทางอากาศ แล้วทรงแสดงธรรมให้แก่ผู้จอมเทพพร้อมด้วยบริวาร ในกาลนั้น หมู่จอมเทพทั้งปวงนั้นต่างก็พากันทิ้งโล่และอาวุธ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก แล้วได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.
               หมู่จอมเทพเหล่านั้นได้ถึงสรณะที่ ๑ คือพระพุทธเจ้านี้แล. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกหลายครั้ง ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว.
               ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดมาในเรือนที่มีสกุล เจริญวัยแล้วเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
               ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงกุศลในกาลก่อนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้.
               ในคำเริ่มต้นนั้นมีอรรถาธิบายว่า
               จอมยักษ์ทั้งสองไม่ปรากฏชื่อและโคตร เหมือนสุจิโลมยักษ์ ขรโลมยักษ์ อาฬวกยักษ์ ท้าวกุมภีร์และท้าวกุเวรเป็นต้น เมื่อจะแสดงอ้างถึงโดยประการอื่น ท่านจึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้.
               บทว่า สงฺคาโม สมุปฏฺฐิโต ความว่า ชื่อว่าสงคราม เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่กลืนกินชั้นดี คือเข้าไปประชิดเพื่อการทะเลาะวิวาท, สงครามนั้นมีการตระเตรียม (ล่วงหน้า) เป็นอย่างดี คือตระเตรียมที่จะยึดในสถานที่แห่งหนึ่ง.
               บทว่า อโหสิ สมุปพฺยูฬฺโห ความว่า เป็นกองเข้าไปประชิดใกล้อย่างพร้อมกัน.
               บทว่า สํเวเชสิ มหาชนํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในอากาศแล้วยังหมู่ยักษ์เหล่านั้น ให้เกิดความสลดใจด้วยพระธรรมเทศนาอริยสัจ ๔ ได้แก่ทรงให้ถือเอา คือให้ทราบ ให้ตรัสรู้ ด้วยทรงชี้แจงถึงโทษ.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค ๓. สรณคมนิยเถราปทาน (๑๑๓) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 114อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 115อ่านอรรถกถา 32 / 116อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=3512&Z=3534
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=3391
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=3391
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :