ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 117อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 118อ่านอรรถกถา 32 / 119อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค
๖. จิตกปูชกเถราปทาน (๑๑๖)

               ๑๑๖. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระจิตกปูชกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วสามิ ราชายตเน ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เบื้องหน้าแต่ที่ได้เกิดแล้วในภพ จะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิขี ได้เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ประจำไม้เกด ในระหว่างนั้น ได้ฟังธรรมร่วมกับพวกเทวดา เลื่อมใสแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ตนพร้อมกับบริวารช่วยกันถือของหอม เทียน ธูป ดอกไม้และเภรีเป็นต้นไปยังสถานที่ประชุมเพลิงพระบรมศพของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว บูชาด้วยเทียนเป็นต้นแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยดนตรีและสังคีตนานาชนิด.
               ตั้งแต่นั้นมา ถึงตนเองจะกลับไปยังภพของตนแล้วก็ตาม ยังคงระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเดิม คล้ายกับว่ากำลังถวายบังคมอยู่เฉพาะพระพักตร์.
               ด้วยบุญนั้นนั่นแหละ เทพบุตรนั้นมีจิตเลื่อมใส จุติจากต้นเกดไปเกิดยังภพมีภพดุสิตเป็นต้น เสวยทิพยสมบัติแล้ว ต่อแต่นั้น (ก็ได้มาเกิด) ในมนุษย์ เสวยมนุษยสมบัติ.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล พอบรรลุนิติภาวะแล้วมีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
               ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วสามิ ราชายตเน ดังนี้.
               บทว่า ราชายตเน ได้แก่ ที่อยู่ของพวกเทวดา ชื่อราชายตนะ.
               อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ราชายตนะ นั้นเป็นชื่อของต้นไม้.
               บทว่า ปรินิพฺพุเต ภควติ เชื่อมความว่า ในเวลาดับขันธปรินิพพานไม่มีอะไรเหลือโดยรอบแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลกพระนามว่าสิขี ผู้ปรินิพพานแล้ว.
               บทว่า จิตกํ อคมาสหํ วิเคราะห์ว่า ชื่อว่าจิตะ เพราะเป็นสถานที่ที่พวกคนก่อทำให้เป็นกองด้วยไม้หอม มีไม้จันทน์ ไม้กฤษณา ไม้เทพทาโร ไม้การบูรและไม้กระวานเป็นต้น. จิตะนั่นแหละเป็นจิตกะ.
               อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ไปยังที่ใกล้จิตกาธาน เพื่อบูชาจิตกาธานด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า. เมื่อจะแสดงถึงหน้าที่ที่ตนไปกระทำในที่นั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตุริยํ ตตฺถ วาเทตฺวา ดังนี้.
               คำที่เหลือทั้งหมดนั้น บัณฑิตพอจะรู้ได้เองโดยง่ายทีเดียวแล.
               จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค ๖. จิตกปูชกเถราปทาน (๑๑๖) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 117อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 118อ่านอรรถกถา 32 / 119อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=3573&Z=3591
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=3462
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=3462
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :