บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า นคเร พฺรหฺมวฑฺฒเน คือ ในนครชื่อว่าพรหมวัทธนะ. บทว่า กุลวเร คือ ในตระกูลเลิศ. บทว่า เสฏฺเฐ คือ น่าสรรเสริญที่สุด. บทว่า มหาสาเล คือ มหาศาล. บทว่า อชายหํ คือ เราได้เกิดแล้ว. ท่านอธิบายไว้ว่า ในกาลนั้น เราได้เกิดในกรุงพาราณสีอันได้ชื่อว่าพรหมวัทธนะ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เพราะมีสมบัติถึง ๘๐ โกฏิ เป็นผู้เลิศโดยความเป็นผู้สูงด้วยเป็นอภิชาตบุตร เป็นผู้ประเสริฐโดยความเป็นผู้มีวิชา. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระมหาสัตว์จุติจากพรหมโลกบังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในพรหมวัทธนนคร. ในวันตั้งชื่อกุมารนั้น มารดาบิดาตั้งชื่อว่าโสณกุมาร. ครั้นโสณกุมารนั้นเดินได้ สัตว์อื่นจุติจากพรหมโลกได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาพระโพธิสัตว์ชื่อว่านันทกุมาร. มารดาบิดาเห็นรูปสมบัติของบุตรทั้งสองผู้เจริญวัยเรียนพระเวท สำเร็จศิลปะทุกอย่าง ยินดีร่าเริงคิดว่า จักผูกพันให้อยู่ครองเรือน ได้กล่าวกะโสณกุมารก่อนว่า ลูกรัก พ่อแม่จักนำทาริกาจากตระกูลที่สมควรมาให้ลูก. ลูกจงปกครองสมบัติเถิด. พระมหาสัตว์กล่าวว่า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน ลูกจะปฏิบัติพ่อแม่ เพราะในกาลนั้น ภพแม้ทั้งสามได้ปรากฏแก่พระมหาสัตว์ดุจ อนึ่งโดยความพิเศษอย่างยิ่ง พระมหาสัตว์มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ ได้น้อมใจไปในการบวช. มารดาบิดาไม่ทราบความประสงค์ของพระมหาสัตว์ แม้กล่าวอยู่บ่อยๆ ก็มิได้ทำใจของพระโพธิสัตว์นั้นให้เห็นดีงามได้ จึงเรียกนันทกุมารมากล่าวว่า ลูกรัก ถ้าเช่นนั้น ลูกจงปกครอง แม้นันทกุมารก็กล่าวว่า ลูกไม่เอาศีรษะรับน้ำลายที่พี่ชายของลูกถ่มทิ้งไว้ แม้ลูกก็จะบวชกับพี่ชาย เมื่อพ่อแม่ล่วงลับไป. มารดาบิดาจึงคิดว่า คนหนุ่มๆ เหล่านี้ยังจะละกามทั้งหลายอย่างนี้ได้ ก็เราทำไมจะละไม่ได้เล่า ด้วยเหตุนั้น เราทั้งหมดจักบวช. จึงกล่าวว่า ลูกรักประโยชน์อะไรของพวกลูกที่จะบวชต่อเมื่อพ่อแม่ล่วงลับไป พ่อแม่จักบวชพร้อมกับลูกด้วย แล้วให้สิ่งที่ควรให้แก่พวกญาติ ทำทาสให้เป็นไททูลแด่พระราชา สละ ชนทั้ง ๔ ออกจากพรหมวัทธนนครอาศัยสระใหญ่ดารดาษด้วยบัวหลวงบัวขาวในหิมวันตประเทศสร้างอาศรมในราวป่าน่ารื่นรมย์ พากันบวชอยู่ ณ ที่นั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- ตทาปิ โลกํ ทิสฺวาน ฯลฯ ปาวิสิมฺหา มหาวนํ. คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปิ คือ ในครั้งเราได้เป็นพราหมณกุมารชื่อว่าโสณะ ในพรหมวัทธนนคร. บทว่า โลกํ ทิสฺวาน คือ เห็นสัตวโลกแม้ทั้งสิ้นด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า อนฺธีภูตํ คือ ถึงความมืดด้วยปราศจากปัญญาจักษุ. บทว่า ตโมตฺถฏํ คือ ถูกความมืดครอบงำ. บทว่า จิตฺตํ ภวโต ปติกุฏติ คือ จิตของเราเบื่อหน่ายหดหู่ ท้อแท้จากภพมีกามภพเป็นต้น ด้วยพิจารณาวัตถุให้เกิดสังเวชมีชาติเป็นต้น. บทว่า ตุตฺตเวคหตํ วิย เหมือนช้างถูกสับด้วยขอด้วยกำลัง. หัวมีหนามเหล็กเรียกว่าตุตฺตะ ไม้ยาวเรียกว่าปโตทะ. ช้างอาชาไนยถูกสับด้วยขอนั้นด้วยกำลัง เป็นผู้ถึงความสลดใจฉันใด จิตของเราถึงความสลดด้วยการพิจารณาโทษของกามฉันนั้น. ท่านแสดงไว้ดังนี้. บทว่า ทิสฺวาน วิวิธํ ปาปํ เราเห็นความลามกหลายๆ อย่าง คือเราเห็นความลามกของสัตว์เหล่านั้นผู้มีกรรมลามกมีปาณาติบาตเป็นต้นและนิมิตของกรรมลามกนั้นหลายๆ อย่าง ที่ผู้ครองเรือนทั้งหลายกระทำด้วยอำนาจอคติมี บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตทา คือ เราจึงคิดในขณะที่เป็นโสณกุมารอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะตัดความผูกพันในเรือน ดุจช้างใหญ่ตัดเครื่องผูกทำด้วยเหล็กได้ฉะนั้น แล้วเข้าป่าด้วยการออกจากเรือน. บทว่า ตทาปิมํ นิมนฺตึสุ แม้ในกาลนั้น พวกญาติเชื้อเชิญเรา. คือมิใช่ในขณะที่เราเป็นอโยฆรบัณฑิตอย่างเดียวเท่านั้น. ที่จริงแล้ว แม้ในขณะที่เราเป็นโสณกุมารนั้น ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นผู้บริโภคกาม ผู้มีอัธยา บทว่า เตสมฺปิ ฉนฺทมาจิกฺขึ คือ เราได้บอกความพอใจของตนแก่ญาติของเราแม้เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย อธิบายว่า พวกท่านจงปกครองตามอัธยาศัยเถิด. บทว่า โสปิ มํ อนุสิกฺขนฺโต แม้นันทกุมารนั้นก็ศึกษาตามเรา. ความว่า เราพิจารณาถึงโทษในกามทั้งหลายมีหลายประการโดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่ากามทั้งหลายเหล่านี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แล้วศึกษาศีลเป็นต้น ชอบใจการบวช. แม้นันทบัณฑิตนั้นก็ศึกษาตามเรา ด้วยการออกบวชของเขาอย่างนั้น ย่อมชอบใจการบวช. บทว่า อหํ โสโณ จ นนฺโท จ คือ ในกาลนั้น เราคือโสณะ และนันทะน้องชายของเรา. บทว่า อุโภ มาตาปีตา มม คือ มารดาและบิดาของเราเกิดความสลดใจว่า บุตรเหล่านี้ยังละกามทั้งหลายได้แม้ในเวลาเป็นหนุ่มอย่างนี้ ก็เราทำไมจะละไม่ได้เล่า. บทว่า โภเค ฉฑฺเฑตฺวา ความว่า เราทั้ง ๒ คนไม่คำนึงถึงมหาโภคะสมบัติ ๘๐ โกฏิ สละได้ดุจก้อนน้ำลาย เข้าป่าใหญ่ในหิมวันตประเทศ ด้วยอัธยาศัยมุ่งต่อบรรพชา. ก็ครั้นเข้าไปแล้วได้สร้างอาศรมอยู่ ณ ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์นั้นบวชเป็นดาบสอยู่ ณ ที่นั้น. พี่น้องสองคนบำรุงมารดาบิดา. นันทบัณฑิตคิดว่า เราจักให้มารดาบิดาบริโภคผลาผลที่เรานำมาเท่านั้น จึงนำ มารดาบิดาบริโภคผลาผลเหล่านั้นแล้วบ้วนปากรักษาอุโบสถ. ส่วนโสณบัณฑิตไปไกลหน่อยนำผลไม้ที่สุกดีแล้ว มีรสเอร็ดอร่อยน้อมเข้าไปให้มารดาบิดา. ลำดับนั้น มารดาบิดากล่าวกะโสณบัณฑิตว่า ลูกเอ๋ย เราบริโภค ผลาผลของโสณบัณฑิตนั้น ไม่ได้บริโภคจึงเสีย แม้ในวันรุ่งขึ้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้ โสณบัณฑิตจึงไปไกลนำมาเพราะได้อภิญญา ๕. แต่มารดาบิดาก็ยังไม่บริโภค. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มารดาบิดาเป็นคนแบบบาง. ก็นันทะนำ แม้เมื่อโสณบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว นันทบัณฑิตหวังได้บุญจึงไม่ทำตาม. พระมหาสัตว์ปรบมือไล่นันทบัณฑิตผู้มาบำรุงมารดาบิดากล่าวว่า น้องไม่ทำตามคำของบัณฑิต พี่เป็นพี่. มารดาบิดาเป็นภาระของพี่เอง พี่จักบำรุงมารดาบิดาเอง น้องจงไปจากที่นี้ไปอยู่เสียที่อื่น. นันทบัณฑิตถูกพี่ชายไล่ไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วบอกเรื่องราวแก่มารดาบิดาเข้าไปยัง เราจักนำทรายรัตนะมาจากเชิงเขาสิเนรุ เกลี่ยบริเวณ พระราชาเมืองพรหมวัทธนะพระนามว่ามโนชะ นี้เป็นพระอัครราชาทั่วชมพูทวีป เราจักนำพระราชาทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระเจ้ามโนชะ ทันใดนั้นเอง นันทบัณฑิตได้ไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์ของพระราชานั้นในพรหมวัทธนนคร ให้คนไปทูลแด่พระราชาว่า มีดาบสองค์หนึ่งประสงค์จะเฝ้าพระองค์. ครั้นพระราชทานโอกาสให้เข้าเฝ้าได้ จึงเข้าไปเฝ้าทูลว่า อาตมภาพจะยึดราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ด้วยกำลังของตนนำมาถวาย พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านจะยึดราชสมบัติทั่วชมพูทวีปมาให้ได้อย่างไร. ทูลว่า มหาราช อาตม เมื่อการรบกับพระเจ้าโกศลซึ่งทรงพิโรธเตรียมการรบเสด็จออกมาเริ่มขึ้นแล้ว ด้วยฤทธานุภาพของตน นันทบัณฑิตได้ทำโดยที่นักรบทั้งสองฝ่ายมิได้ทำร้ายกัน. แล้วตระเตรียมด้วยการนำคำโต้ตอบกันโดยที่พระเจ้าโกศล ทรงยอมอยู่ในอำนาจของพระราชานั้น. โดยอุบายนี้ นันทบัณฑิตยังพระราชาทั่วชมพูทวีปให้ตกอยู่ในอำนาจของพระราชานั้นหมดสิ้น. พระราชานั้นทรงยินดีกับนันทบัณฑิต ตรัสกะนันทบัณฑิตว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณท่านได้ทำเหมือนอย่างที่ปฏิญญาไว้แล้ว. พระคุณท่านเป็นผู้มีอุปการะมากแก่ข้าพเจ้า. ข้าพ นันทบัณฑิตได้ฟังดังนั้นทูลว่า มหาราช อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ แม้พาหนะช้างเป็นต้นก็ไม่ต้องการ. ก็แต่ว่ามารดาบิดาของอาตมาบวชอยู่ในอาศรมโน้นใน พระราชาทรงรับแวดล้อมด้วยนักรบมีประมาณ ๒๔ อักโขภินีกับพระราชาร้อยเอ็ด นันท ครั้นถึงอาศรมบทนั้นจึงปล่อยระยะไว้สี่อังคุละ นำน้ำมาจากสระอโนดาดด้วยเครื่องหาบซึ่งตั้งอยู่บนอากาศ เตรียมน้ำดื่ม กวาดบริเวณ แล้วเข้าไปหาพระมหาสัตว์ผู้อิ่มด้วยความยินดีในฌานนั่งอยู่ใกล้มารดาบิดา แล้วขอขมา. พระมหาสัตว์ให้นันทบัณฑิตดูแลมารดา ตนเองบำรุงบิดาจนตลอดชีวิต. พระมหาสัตว์แสดงธรรมแด่พระราชาเหล่านั้นด้วยพุทธลีลาว่า :- ความยินดีความบันเทิงอันผู้รู้พึงได้ เพราะ บำรุงบำเรอมารดาให้ท่านหัวเราะแจ่มใสอยู่ทุกเมื่อ. ความยินดีความบันเทิงอันผู้รู้พึงได้ เพราะ บำรุงบำเรอบิดาให้ท่านหัวเราะแจ่มใสอยู่ทุกเมื่อ. การสงเคราะห์เหล่านี้แลในโลกตามสมควร ในธรรมนั้นๆ คือ การให้ การเจรจาถ้อยคำอ่อน หวาน การประพฤติเป็นประโยชน์ การวางตนเสมอ ต้นเสมอปลาย ดุจลิ่มรถที่แล่นไปฉะนั้น. การสงเคราะห์เหล่านี้ไม่พึงมี มารดาย่อม ไม่ได้การนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร. หรือบิดาย่อมไม่ได้การนับถือหรือการบูชา เพราะ เหตุแห่งบุตร. เพราะบัณฑิตทั้งหลาย เพ่งเล็งโดยชอบ ถึงการสงเคราะห์เหล่านี้ ฉะนั้นจึงถึงความเป็น ผู้ยิ่งใหญ่และได้ความสรรเสริญ. มารดาบิดาท่านกล่าวว่าเป็นพรหม เป็น บุรพาจารย์และเป็นผู้ควรบูชาของบุตรทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์. เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตพึงนอบน้อม พึง สักการะมารดาบิดาเหล่านั้น ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า ด้วยที่นอน ด้วยเครื่องนุ่งห่ม ด้วยน้ำ อาบ และด้วยการล้างเท้า. บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ในโลกนี้ ด้วยการบำรุงบำเรอในมารดาบิดาทั้ง หลาย. บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิง ในสวรรค์ พระราชาทั้งหมดเหล่านั้นครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใสพร้อมกับกองพล. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ยังพระราชาเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วให้โอวาทว่า ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานเป็นต้นเถิด. แล้วก็ปล่อยไป. พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ครั้นสวรรคตก็ไปบังเกิดในสวรรค์. พระโพธิสัตว์ให้นันทบัณฑิตดูแลมารดา ด้วยกล่าวว่า ตั้งแต่นี้น้องจงบำรุงมารดาตนเองบำรุงบิดาจนตลอดชีวิต. ทั้งสองพี่น้องเมื่อถึงแก่กรรมก็ไปเกิดบนพรหมโลก. มารดาบิดาในครั้งนั้นได้เป็นตระกูลมหาราชในครั้งนี้. นันทบัณฑิต คือพระอานนทเถระ. พระราชา คือพระสารีบุตรเถระ. พระราชาร้อยเอ็ด คือพระอสีติมหาเถระและพระเถระรูปอื่นๆ. บริษัท ๒๔ อักโขภินี คือพุทธบริษัท. โสณบัณฑิต คือพระโลกนาถ. เนกขัมมบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่งของโสณบัณฑิตนั้นก็จริง แม้ถึงอย่างนั้นก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือ ความเป็นผู้ไม่คำนึงในกามทั้งหลายโดยสิ้นเชิง. ความเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงอย่างแรงกล้าในมารดาบิดาทั้งหลาย. ความไม่อิ่มด้วยการบำรุงมารดาบิดา แม้เมื่อมีการบำรุงมารดาบิดาเหล่านั้นอยู่ ก็ยังกาลเวลาทั้งหมดให้น้อมไปด้วยสมาบัติ จบเนกขัมมบารมี ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น ๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา จบ. |