บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า กาสิราชสฺส อตฺรโช คือ ในกาลเมื่อเราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ในกาลนั้น ชื่อว่ามูคผักขะ. ชนทั้งหลายเรียกเราว่าเตมิยะ. ควรเชื่อมความว่า ชนทั้งหลายทั้งปวงตั้งแต่พระมารดาพระบิดาเป็นต้นเรียกเราว่ามูคผักขะ เพราะอธิษฐานเป็นคนใบ้และเป็นคนง่อยเปลี้ย. อนึ่ง เพราะพระมหาสัตว์นั้นยังหทัยของพระราชาและของอำมาตย์เป็นต้นให้ชุ่ม อันเกิดด้วยปีติและสิเนหาอย่างยิ่ง ฉะนั้นจึงได้พระนามว่า เตมิยกุมาร. บทว่า โสฬสิตฺถีสหสฺสานํ คือ สนมของพระเจ้ากาสี ๑๖,๐๐๐. บทว่า น วิชฺชติ ปุโม คือ ไม่มีพระโอรส มิใช่ไม่มีพระโอรสอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระธิดาของพระองค์ก็ไม่มี. บทว่า อโหรตฺตานํ อจฺจเยน นิพฺพตฺโต อหเมกโก ความว่า พระศาสดาทรงแสดงว่า โดยวันคืนล่วงไปๆ เราเกิดผู้เดียว คือโดยวันคืนน้อมล่วงไปไม่น้อยเพราะล่วงไปหลายปี เราผู้เดียวเท่านั้นที่ท้าวสักกะประทานให้แด่พระราชาพระองค์นั้นผู้ไม่มีโอรส เราเที่ยวแสวงหาโพธิญาณ ใน ในจริยานั้นมีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาลครั้ง พระเจ้ากาสีครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี. พระองค์มีสนม ๑๖,๐๐๐ นาง. ในสนมเหล่านั้นไม่ได้บุตรหรือธิดาแม้แต่คนเดียว. ชาวพระนครเกิดเดือดร้อนว่า พระโอรสแม้องค์เดียวที่จะรักษาราชวงศ์ของพวกเราไม่มีเลย จึงประชุมกัน ทูลพระราชาว่า ขอพระองค์จงปรารถนาพระโอรสเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับสั่งกะสนม ๑๖,๐๐๐ นางว่า พวกเจ้าจงปรารถนาบุตรเถิด. พวกสนมเหล่านั้นทำการบวงสรวงพระจันทร์เป็นต้น แม้ปรารถนาก็ไม่ได้บุตร. ฝ่ายพระจันทาเทวี พระธิดาของพระเจ้ามัททราช อัครมเหสีของพระราชานั้น พระนางสมบูรณ์ด้วยศีล. พระราชาตรัสว่า แม้เธอก็จงปรารถนาโอรสเถิด. ในวันเพ็ญ พระนางรักษาอุโบสถระลึกถึงศีลของตนทรงตั้งสัจจกิริยาว่า หากเรามีศีลไม่ขาด ด้วยสัจจะของเรานี้ขอให้โอรสเกิดเถิด. ด้วยเดชแห่งศีลของนางนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงก็ทรงทราบเหตุนั้น จึงดำริว่า เราจักอนุเคราะห์นางจันทาเทวีให้ได้โอรส ทรงใคร่ครวญถึงโอรสผู้สมควรแก่พระเทวีนั้น ทรงเห็นพระ พระโพธิสัตว์รับเทวดำรัส แล้วจึงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวีนั้น. เทพบุตร ๕๐๐ สหายของพระโพธิสัตว์นั้นสิ้นอายุ จุติจากเทวโลก คือ พระเทวีทรงทราบว่าพระนางตั้งครรภ์แล้ว จึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งให้ดูแลพระครรภ์. พระเทวีทรงครรภ์ครบกำหนด จึงประสูติพระราชบุตรสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะทุกประการ. ในวันนั้นเองในเรือนของพวกอำมาตย์ทั้งหลาย กุมาร ๕๐๐ ก็เกิด. พระราชาทรงสดับแม้ทั้งสองประการ ทรงดำริว่า กุมารเหล่านี้จงเป็นบริวารโอรสของเรา จึงทรงส่งแม่นม ๕๐๐ และส่งเครื่องประดับของกุมารให้แก่กุมาร ๕๐๐. อนึ่ง พระราชาทรงให้แม่นม ๖๔ คน ผู้มีน้ำนมอร่อย มีถันไม่หย่อนยาน เว้นจากโทษมีสูงเกินไปเป็นต้น แล้วทรงทำสักการะใหญ่แก่พระโพธิสัตว์. ได้ทรงประทานพรแม้แก่พระนางจันทาเทวี. พระนางจันทาเทวีทรงรับพรไว้แล้ว. พระกุมารทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่. ลำดับนั้น พวกแม่นมตกแต่งพระกุมารซึ่งมีพระชนม์ได้ ๑ เดือน นำมาเฝ้าพระราชา. พระราชาทรงแลดูพระโอรสน่ารัก จึงทรงสวมกอด ให้พระกุมารประทับนั่งบนพระเพลา ประทับนั่งทรงรื่นรมย์กับพระโอรส. ในขณะนั้น โจร ๔ คนถูกนำมาให้ทรงพิพากษาโทษ. ในโจร ๔ คนนั้น คนหนึ่ง พระราชาทรงตัดสินให้เฆี่ยนด้วยหวายมีหนาม ๑,๐๐๐ ครั้ง. คนหนึ่ง ใส่ตรวนส่งเข้าเรือนจำ. คนหนึ่ง ให้เอาหอกทิ่มแทงบนร่างกาย. คนหนึ่ง เสียบด้วยหลาว. พระมหาสัตว์สดับคำพิพากษาของพระบิดาก็เกิดสลดใจ ทรงดำริว่า โอน่าเศร้า พระบิดาของเราอาศัยความเป็นพระราชา กระทำกรรมอันจะนำไปสู่นรก เป็นกรรมหนัก. รุ่งขึ้น พวกแม่นมให้พระมหาสัตว์บรรทมเหนือสิริไสยาสน์ที่ตกแต่งไว้ภายใต้เศวตฉัตร. พระมหาสัตว์บรรทมหลับไปได้หน่อยหนึ่ง ทรงลืมพระเนตรแลดูเศวตฉัตรทรงเห็นสิริสมบัติใหญ่โต. ทีนั้น พระมหาสัตว์แม้ตามปกติก็ทรงสลดพระทัยอยู่แล้ว ยิ่งเกิดความกลัวหนักขึ้น. พระมหาสัตว์ทรงรำพึงอยู่ว่า เรามาสู่พระราชวังนี้จากไหนหนอ ครั้นทรงทราบว่ามาจากเทวโลก ด้วยทรงระลึกชาติได้ จึงทรงตรวจดูเหนือไปจากนั้น ทรงเห็นว่า พระองค์เคยหมกไหม้อยู่ใน ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์บรรทมดำริว่า เราครองราชสมบัติอยู่ ๒๐ ปี หมกไหม้อยู่ใน ลำดับนั้น เทพธิดาองค์หนึ่งได้ปลอบพระโพธิสัตว์นั้นว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่ากลัว. ความปลอดภัยจักมีแก่ท่านเพราะ พระมหาสัตว์สดับดังนั้นมีพระประสงค์จะพ้นจากความพินาศ คือราชสมบัติ จึงทรง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- กิจฺฉาลทฺธํ ปิยํปุตฺตํ ฯลฯ ผกฺโข คติวิวชฺชิโต คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า กิจฺฉาลทฺธํ คือ ได้ด้วยความปรารถนามาตลอดกาลช้านาน ยาก ฝืดเคือง. บทว่า อภิชาตํ คือ สมบูรณ์ด้วยชาติ. ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง เพราะประกอบด้วยความรุ่งเรืองทางกายและความรุ่งเรืองด้วยญาณ. บทว่า เสตจฺฉตฺตํ ธารยิตฺวาน, สยเน โปเสติ มํ ปิตา พระบิดารับสั่งให้กั้นเศวต ความว่า พระเจ้ากาสี พระบิดาของเราให้เรานอนบนที่สิริไสยาสน์ภายใต้เศวตฉัตร ตั้งแต่เราเกิดให้เลี้ยงดูเรากับด้วยบริวารใหญ่ โดยพระดำรัสว่า ธุลีหรือน้ำค้าง จงอย่าต้องกุมารนั้น. เรานอนอยู่บนที่นอนอันประเสริฐ ตื่นขึ้นแล้วมองดูได้เห็นเศวต บทว่า เยนาหํ นิรยํ คโต ความว่า อันเป็นเหตุให้เราไปสู่นรกในอัตภาพที่ ๓ จาก ท่านกล่าวถึงราชสมบัติด้วยหัวข้อว่า เศวตฉัตร. บทว่า สห ทิฏฺฐสฺส เม ฉตฺตํ คือ ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้เห็นเศวตฉัตรนั้น พร้อมกับความเห็นนั้น. อธิบายว่า ตลอดเวลาที่เห็นนั่นเอง. บทว่า ตาโส อุปฺปชฺชิ เภรโว คือ เกิดความสะดุ้งน่ากลัว เพราะเป็นโทษที่ปรากฏชัดเจนแล้ว. บทว่า วินิจฺฉยํ สมาปนฺโน, กถาหํ อิมํ มุญฺจิสฺสํ ความว่า เราตรึกตรองอย่างนี้ว่า เราจะปลดเปลื้องราชสมบัติอันเป็นกาลกรรณีได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปุพฺพาสาโลหิตา มยฺหํ ความว่า เทพธิดาผู้เป็นมารดาของเราในอัตภาพหนึ่ง สิงสถิตอยู่ในเศวตฉัตรนั้น เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ แสวงหาประโยชน์แก่เรา. บทว่า สา มํ ทิสฺวาน ทุกฺขิตํ, ตีสุ ฐาเนสุ โยชยิ ความว่า เทพธิดานั้นเห็นเราประกอบด้วยทุกข์ เพราะทุกข์ใจอย่างนั้น จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุที่จะออกจากทุกข์ในราชสมบัติ ๓ ประการ คือ เป็นใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เป็นคนหนวก. บทว่า ปณฺฑิจฺจยํ คือ ความเป็นบัณฑิต. บทว่า มา วิภาวย คือ ท่านจงประกาศความเป็นบัณฑิต. บทว่า พาลมโต คือ ให้เขารู้ว่าเป็นคนโง่. บทว่า สพฺโพ คือ ชนภายในและชนภายนอกทั้งสิ้น. บทว่า โอจินายตุ คือ คนทั้งปวงย่อมดูหมิ่นว่า พวกท่านจงนำคนกาลกรรณีนี้ออกไป. บทว่า เอวํ ตว อตฺโถ ภวิสฺสติ ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้. ความว่า เมื่อท่านถูกดูหมิ่น โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ประโยชน์อันยังบารมีให้บริบูรณ์ด้วยการออกจากเรือนจักมีแก่ท่าน. บทว่า เตตํ วจนํ ความว่า ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่านที่กล่าวว่า ท่านจงอธิษฐานองค์ ๓ ดังนี้. บทว่า อตฺถกามาสิ เม อมฺม คือ แม่เทพธิดาท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า หิตกามา ท่านเป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูล เป็นคำกล่าวโดยปริยายของคำว่า อตฺถกามา นั้นนั่นเอง. หรือว่า พึงทราบว่า ความสุขในบทว่า อตฺโถ นี้. บทว่า หิตํ คือ บุญอันเป็นเหตุของความสุขนั้น. บทว่า สาคเรว ถลํ ลภึ เหมือนเราได้พบฝั่งในสาคร. ความว่า เราคิดว่า เราเกิดในเรือนโจร. ความพินาศใหญ่หลวงได้มีแก่เรา เราจมอยู่ในสาคร คือความโศกได้ฟังคำของเทพธิดานั้น เหมือนจมอยู่ในสาครได้เห็นฝั่งคือที่พึ่งแล้ว. อธิบายว่า เราได้อุบายออกจากราชตระกูลแล้ว. บทว่า ตโย องฺเค อธิฏฺฐหึ คือ เราได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ จนกว่าเราจะออกไปจากเรือน. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงองค์ ๓ ประการเหล่านั้นโดยสรุป จึงตรัสพระคาถาว่า มูโค อโหสึ เราเป็นใบ้ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ผกฺโข คือ เป็นง่อยเปลี้ย. บทที่เหลือ เข้าใจง่ายดีแล้ว. เมื่อพระมหาสัตว์ทรงตั้งอยู่ในนัยที่เทพธิดาให้ไว้ แล้วทรงแสดงพระองค์ด้วยความเป็นใบ้เป็นต้น ตั้งแต่ปีที่ประสูติ พระมารดาพระบิดาและพวกนางนมเป็นต้นคิดว่าธรรมดาปลายคางของคนใบ้ ช่องหูของคนหนวก มือเท้าของคนง่อยเปลี้ย มิได้เป็นอย่างนี้. ในเรื่องนี้พึงมีเหตุ. เราจักทดลองพระกุมารนี้ดู. คิดว่า เราจักทดลอง ลำดับนั้น พระมารดาของพระกุมาร ทรงดำริว่า ลูกของเราคงหิว. พวกเจ้าจงให้น้ำนมแก่ลูกเราเถิด แล้วให้พวกแม่นมให้น้ำนม. พวกแม่นมไม่ให้น้ำนมเป็นระยะๆ อย่าง แต่นั้นพวกแม่นมคิดว่า ธรรมดาเด็กย่อมชอบขนมและของเคี้ยว. ชอบ ลำดับนั้น พวกแม่นมคิดว่า ธรรมดาเด็กย่อมกลัวไฟ กลัวช้างตกมัน กลัวงู กลัว พระมหาสัตว์ทรงรำพึงถึงภัยในนรก จึงไม่หวั่นไหวด้วยทรงเห็นว่า นรกน่ากลัวยิ่งกว่านี้ ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. พวกแม่นมทดลองอยู่แม้อย่างนี้ก็ไม่เห็นช่องทาง จึงคิดว่า ธรรมดาเด็กต้องการดูมหรสพ จึงให้สร้างโรงมหรสพ เอาม่านกั้นพระมหาสัตว์ แล้วให้ประโคมด้วยเสียงสังข์และเสียงกลองให้กึกก้องเป็นอันเดียวกันในทันที ณ ข้างทั้ง ๒ ของพระกุมารผู้ไม่รู้เรื่องเลย จุดตะเกียงส่องในที่มืด ให้แสงสว่าง เอาน้ำอ้อยทาทั่วตัวให้นอนในที่มีแมลงวันชุม ไม่ให้อาบน้ำเป็นต้น เข้าไปคอยดูกุมารนอนบนอุจจาระ ปัสสา แม้ทดลองอยู่ด้วยอุบายหลายๆ อย่าง อย่างนี้ก็ไม่เห็นช่องทางของพระกุมารนั้น. พระมหาสัตว์ทรงรำพึงถึงภัยในนรกเท่านั้น ในที่ทั้งปวงไม่ทรงทำลายการตั้งใจ ไม่ไหวติง. พวกแม่นมทดลองอย่างนี้ถึง ๑๕ ปี ครั้นพระชนม์ได้ ๑๖ พระพรรษา พวกแม่นมคิดว่า คนง่อยเปลี้ยก็ตาม คนใบ้ คนหนวกก็ตาม จะไม่กำหนัดในสิ่งควรกำหนัด จะไม่อยากเห็นในสิ่งควรเห็น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น เราจะหา พระกุมาร เพราะพระองค์สมบูรณ์ด้วยพระปัญญา จึงทรงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะด้วยทรงหวังว่า สตรีเหล่านี้อย่าได้สัมผัสร่างกายของเราเลย. สตรีเหล่านั้น เมื่อไม่ได้สัมผัสร่างกายของพระกุมาร จึงคิดว่า พระกุมารนี้มีพระวรกายกระด้าง คงไม่ใช่มนุษย์แน่. คงจักเป็นยักษ์ จึงพากันกลับไป. พระมารดาพระบิดา ไม่ทรงสามารถที่จะยึดถือได้ด้วยการทดลองใหญ่ ๑๖ ครั้ง และด้วยการทดลองเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายครั้งตลอด ๑๖ ปีอย่างนี้ จึงทรงขอร้องต่างๆ กันและหลายครั้งว่า เตมิยกุมารลูกรัก พ่อและแม่รู้ว่าลูกไม่เป็นใบ้ เพราะปาก หูและเท้าอย่างนี้มิใช่ของคนใบ้ คนหนวกและคนง่อยเปลี้ยเลย. ลูกเป็นบุตรที่พ่อและแม่ปรารถนาจะได้มา ลูกอย่าให้พ่อแม่ต้องพินาศเสียเลย จงปลดเปลื้องข้อครหาจากราชสำนักในชมพูทวีปทั้งสิ้นเถิด. พระกุมารนั้น แม้พระมารดาพระบิดาทรงขอร้องอยู่อย่างนี้ ก็บรรทมทำเป็นไม่ได้ยิน. ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้บุรุษผู้ฉลาดตรวจดูพระบาททั้งสอง ช่องพระ พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น ทรงร่าเริงยินดีอย่างยิ่งว่า ความปรารถนาของเราเป็นเวลาช้านาน จักถึงความสำเร็จ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ครั้งนั้นเสนาบดีเป็นต้น ตรวจมือเท้าลิ้นและ ช่องหูของเรา แล้วเห็นความไม่บกพร่องของ เรา ติเตียนว่า เราเป็นคนกาลกรรณี ทีนั้นชาว ชนบท เสนาบดีและปุโรหิตทั้งปวง ร่วมใจกัน ทั้งหมด พลอยดีใจในการรับสั่งให้นำไปทิ้ง. เรานั้นได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดี เป็นต้นนั้นแล้ว ร่าเริงดีใจ เราประพฤติตบะมา เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา. ในบทเหล่านั้น บทว่า มทฺทิย คือ ตรวจด้วยการลูบคลำ. บทว่า อนูนตํ คือ มือเป็นต้นไม่บกพร่อง. บทว่า นินฺทิสุํ คือ ติเตียนว่า แม้มีอวัยวะไม่บกพร่องอย่างนี้ แต่เฉยเมยดุจคนใบ้เป็นต้นก็ไม่ควรครองราชสมบัติ. พระกุมารนี้เป็นคนกาลกรรณี. บทว่า ฉฑฺฑนํ อนุโมทิสุํ ความว่า ชาวชนบททั้งปวง พวกราชบุรุษมี บทว่า โส เม อตฺโถ สมิชฺฌถ ความว่า เราประพฤติสะสมความประพฤติ ความประพฤติที่ทำได้ยากด้วยอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้น เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา. พึงทราบความสัมพันธ์ด้วยคำที่เหลือว่า เรานั้นได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดีเหล่านั้น มีพระมารดาพระบิดาเป็นต้นของเรา แล้วร่าเริงด้วยความสำเร็จ ความประสงค์ของเรา ดีใจด้วยการ เมื่อพระราชามีพระบัญชาให้ฝังพระกุมารลงในแผ่นดินอย่างนี้แล้ว พระนางจันทาเทวีทรงสดับเรื่องราวนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์ทรงประทานพรให้แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันยังยึดถือพรนั้นไว้. บัดนี้ ขอ พระราชาตรัสว่า จงรับพรเถิด. พระเทวีทูลว่า ขอพระองค์ทรงประทานราชสมบัติแก่โอรสของหม่อมฉันเถิด. ตรัสว่า โอรสของเจ้าเป็นกาลกรรณี. เราไม่อาจให้ได้ดอก. ทูลว่า ข้า พระเทวีตกแต่งพระโอรส ทรงให้ตีกลองป่าวประกาศในพระนครว่า นี้เป็นราชสมบัติของเตมิยกุมาร แล้วให้พระโอรสขึ้นคอช้าง ยกเศวตฉัตรให้พระโอรส ซึ่งทำประทักษิณพระนครเสด็จกลับมา แล้วบรรทม ณ สิริ พระเทวีขอร้องโดยทำนองนี้ล่วงไป ๖ วัน. ในวันที่ ๖ พระราชาตรัสเรียกสุนันทสารถีมา แล้วตรัสว่า พรุ่งนี้เจ้าจงนำพระกุมารโดยรถอวมงคลออกไปแต่เช้าตรู่ ฝังลงในแผ่นดินที่ป่า พระเทวีได้สดับดังนั้น ตรัสว่า ลูกเอ๋ย พระเจ้ากาสีมีพระบัญชาให้ฝังลูกที่ พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น จึงร่าเริงยินดีอย่างยิ่งว่า ดูก่อนเตมิยะ เจ้าทำความเพียรมา ๑๖ ปีจะถึงที่สุดแล้ว. แต่พระหทัยของพระมารดา พระโพธิสัตว์ได้เป็นดุจมีอาการแตกสลายไป. เมื่อราตรีนั้นผ่านไป สารถีนำรถมาแต่เช้าตรู่ จอดไว้ที่ประตู เข้าไปยังห้องสิริ ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระองค์อย่าทรง พระเทวีทรงทุบพระอุระ ทรงพระกันแสงร่ำไห้ด้วยพระสุรเสียงดัง ทรงล้มลงบนพื้นกว้าง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงมองดูพระมารดา ทรงดำริว่า เมื่อเราไม่พูด พระมารดาจักเศร้าโศกสุดกำลัง แม้อยากจะพูดแต่ก็อดกลั้นไว้ด้วยพระดำริว่า หากเราจักพูด ความพยายามที่เราทำมาตลอด ๑๖ ปีก็จะเป็นโมฆะ. แต่เมื่อเราไม่พูด จักเป็นปัจจัยแก่ตัวเราและ สารถีคิดว่า เราจักนำพระมหาสัตว์ขึ้นรถ แล้วจักแล่นรถไป มุ่งไปทางประตูทิศตะวันตก แต่กลับแล่นมุ่งไปทิศตะวันออก. รถออกจากพระนครด้วยอานุภาพของเทวดา แล่นไปยังที่ประมาณ ๓ โยชน์. พระมหาสัตว์ทรงยินดีเป็นที่ยิ่ง. แนวป่า ณ ที่นั้น ได้ปรากฏแก่สารถีดุจ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำให้เรา ไล้ทา ด้วยของหอม สวมราชมงกุฎราชาภิเษกแล้ว มีฉัตรที่บุคคลถือไว้ให้ทำประทักษิณพระนคร ดำรงเศวตฉัตรอยู่ ๗ วัน พอดวงอาทิตย์ขึ้น สารถีอุ้มเราขึ้นรถเข้าป่า สารถีหยุดรถไว้ ณ โอกาสหนึ่ง ปล่อยรถเทียมม้าพอพ้นมือ ก็ขุด หลุมเพื่อจะฝังเราเสีย ในแผ่นดิน. ในบทเหล่านั้น บทว่า นหาเปตฺวา คือ ให้อาบน้ำด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ. บทว่า อนุลิมฺปิตฺวา คือ ให้ลูบไล้ด้วยของหอม. บทว่า เวเฐตฺวา ราชเวฐนํ คือ สวมราชมงกุฎที่พระเศียร อันเป็นไปตามประเพณี บทว่า อภิสิญฺจิตฺวา คือ อภิเษกโดยแบบแผนราชาภิเษกใน บทว่า ฉตฺเตน กาเรสุํ ปุรํ ปทกฺขิณํ คือ มีเศวตฉัตรกั้นให้เราทำ บทว่า สตฺตาหํ ธารยิตฺวาน ความว่า ดำรงเศวตฉัตรของเราที่พระนางจันทาเทวี พระมารดาของเราได้ด้วยพรอยู่ ๗ วัน. บทว่า อุคฺคเต รวิมณฺฑเล ความว่า แต่นั้น ในวันรุ่งขึ้น พอดวงอาทิตย์ขึ้น สุนันท บทว่า หตฺถมุจฺจิโต คือ พ้นจากมือ. อธิบายว่า มีมือพ้นจากคันรถ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หตฺถมุจฺจิโต คือ พ้นจากมือ. อธิบายว่า ปล่อย. บทว่า กาสุํ คือ หลุม. บทว่า นิขาตุํ คือ เพื่อฝัง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์อธิษฐาน ประพฤติสิ่งที่ทำได้ยากตลอด ๑๖ ปี ด้วยอธิษฐานเป็นใบ้เป็นต้น จึงตรัสสองคาถาว่า :- พระราชาทรงคุกคามการอธิษฐาน ที่เรา อธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่างๆ แต่เราไม่ทำลายการ อธิษฐานนั้น เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะ เกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณ เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นแหละ เราจึง อธิษฐานองค์ ๓. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตชฺเชนฺโต วิวิธการณา คือ พระราชาทรงคุกคามด้วยเหตุต่างๆ. ความว่า ทรงคุกคามด้วยเหตุหลายประการมีห้ามน้ำนมเป็นต้น ตั้งแต่เรามีอายุได้ ๒ เดือนจนกระทั่งอายุ ๑๖ ปี คือให้ลำบากด้วยอาการกำจัดภัย. บทที่เหลือเข้าใจได้ง่ายแล้ว. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อสุนันทสารถีกำลังขุดหลุม คิดว่านี้เป็นการ ทันใดนั้นเอง ที่วางพระบาทของพระมหาสัตว์ก็ผุดขึ้นดุจถุงหนังเต็มด้วยลมตั้งขึ้นจรดท้ายรถ. พระมหาสัตว์เสด็จลง ทรงดำเนินไปๆ มาๆ เล็กน้อย ทรงทราบว่า เรามีกำลังพอที่จะไปได้ แม้ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ จึงทรงจับรถข้างท้ายแล้วยกขึ้นดุจยานน้อยสำหรับ ขณะนั้นเอง ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้น จึงมี วิษณุกรรมรับเทวบัญชาแล้ว จึงตกแต่งพระมหาสัตว์นั้นด้วยเครื่องอลังการอันเป็นของทิพย์และของมนุษย์ ดุจท้าวสักกะ. พระมหาสัตว์เสด็จไปยังสถานที่ที่สารถีกำลังขุดหลุม ด้วยเทพลีลาประทับยืน ดูก่อนสารถี ท่านรีบร้อนขุดหลุมไป ทำไม ดูก่อนสหาย เราถามท่าน ขอท่านจง บอกเราเถิดว่า ท่านจักทำอะไรแก่หลุม. สารถีมิได้เงยหน้าดู กล่าวว่า :- พระโอรสของพระราชา เป็นใบ้ ง่อย เปลี้ย ไม่มีความรู้สึก. พระราชามีพระบัญชา ให้เราฝังพระโอรสนั้นในป่า. พระมหาสัตว์ ตรัสว่า:- ดูก่อนสารถี เราไม่หนวก ไม่ใบ้ ไม่ ง่อยเปลี้ยและไม่วิกล หากท่านฝังเราในป่า ท่านพึงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม. ดูก่อนสารถี ท่านจงดู ขาและแขน ของเรา และจงฟังเราพูด. หากท่านฝังเรา ในป่า ท่านพึงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม. สารถีนั้นหยุดขุดหลุมแหงนดู เห็นรูปสมบัติของพระมหาสัตว์ ไม่รู้ว่าเป็นมนุษย์หรือเทวดา จึงถามว่า :- ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็น ท้าวสักกะจอมเทพ. ท่านเป็นใคร เป็นลูก ของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร. พระมหาสัตว์จึงทรงแสดงธรรม โดยนัยมีอาทิว่า :- เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ ท้าวสักกะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ที่ ท่านจะฝังในหลุมนี้แหละ. ท่านอาศัยเราผู้ เป็นโอรสของพระราชาพระองค์นั้น เป็นอยู่. ดูก่อนสารถี หากท่านฝังเราในป่า ท่าน พึงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม. บุคคลพึงนั่งหรือพึง นอนใต้ร่มไม้ใด ไม่พึงหักกิ่งไม้นั้น เพราะผู้ ทำลายมิตร เป็นคนลามก. พระราชาเหมือน ต้นไม้ เราเหมือนกิ่งไม้. ดูก่อนสารถี ท่านเหมือนบุรุษที่เข้าไป อาศัยร่มเงา. หากท่านฝังเราในป่า ท่านพึงทำ สิ่งที่ไม่ชอบธรรม. แล้วสารถีก็ทูลวิงวอนเพื่อขอให้พระโพธิสัตว์เสด็จกลับ จึงตรัสถึงเหตุที่ไม่กลับ และความพอใจในการบรรพชา ตลอดถึงเรื่องราวของ แม้เมื่อสารถีนั้นประสงค์จะบวช เพราะธรรมกถานั้น และเพราะการปฏิบัตินั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า :- ดูก่อนสารถี ท่านจงนำรถกลับไป แล้ว เป็นคนไม่มีหนี้กลับมา เพราะบรรพชาเป็น ของคนไม่มีหนี้. ข้อนี้ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญ แล้ว. แล้วก็ทรงส่งสารถีกลับไปแจ้งแด่พระราชา. สารถีนำรถและเครื่องอาภรณ์ไปเฝ้าพระราชา ทูลความนั้นให้ทรงทราบ. ในทันใดนั้นเอง พระราชาทรงดำริว่า เราจักไปหาพระมหาสัตว์จึงเสด็จออกจากพระนคร พร้อมด้วยจตุรงคเสนา นางสนมและชาวพระนคร ชาวชนบท. แม้พระมหาสัตว์ ครั้นทรงส่งสารถีกลับไปแล้ว ก็มีพระประสงค์จะทรงผนวช. ท้าวสักกะทรงทราบจิตของพระ วิษณุกรรมจึงไปเนรมิตอาศรมในราวป่าประมาณ ๓ โยชน์ ทำให้สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน ที่จงกรม สระโบกขรณี ผลไม้และต้นไม้ และเนรมิตเครื่องบริขารของบรรพ พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงทราบว่าท้าวสักกะประทานให้ จึงเสด็จเข้าสู่บรรณ แม้พระเจ้ากาสีก็เสด็จไปตามทางที่สารถีได้ทูลไว้ แล้วเสด็จเข้าสู่อาศรม. พระมหาสัตว์ทรงร่วมกันปฏิสันถาร แล้วทรงเชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติ. เตมิย พระราชาทรงสลดพระทัย ทรงเบื่อหน่ายในการครองเรือน มีพระประสงค์จะทรงผนวช จึงตรัสถามพวกอำมาตย์และสนมทั้งหลาย. แม้ทั้งหมดก็ประสงค์จะบวช. ลำดับนั้น พระราชาทรงทราบว่า นางสนมกำนัลใน ๑๖,๐๐๐ คน ตั้งแต่พระนางจันทาเทวีเป็นต้น และพวกอำมาตย์เป็นต้น ประสงค์จะบวช จึงรับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศในพระนครว่า ผู้ใดประสงค์จะบวชในสำนักพระโอรสของเรา ผู้นั้นก็จงบวชเถิด. ทรงให้เปิดห้องพระคลังทองเป็นต้นแล้วทรงบริจาค. อนึ่ง ชาวพระนครละทิ้งตลาดอันยาวเหยียดและปิดประตูเรือนไปเฝ้าพระราชา. พระราชาทรงผนวชในสำนักของพระมหาสัตว์ พร้อมด้วยมหาชน. อาศรมบทประมาณ ๓ โยชน์ที่ท้าวสักกะประทานเต็มพอดี. พระราชาสามนตราชทั้งหลายได้ทรงสดับว่า พระเจ้ากาสีทรงผนวช จึงดำริว่าจักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงเสด็จเข้าพระนคร ทรงเห็นพระนครเช่นกับเทพนครและพระราชนิเวศน์เช่นกับเทพวิมานเต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงคิดว่าจะพึงมีภัยเพราะอาศัยทรัพย์นี้ เสด็จออกกลับไปในทันใดนั้นเอง. พระมหาสัตว์ทรงสดับการมาของพระราชาเหล่านั้น จึงเสด็จไปชาย พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด พร้อมด้วยบริวารก็พากันบวชในสำนักของพระโพธิ ด้วยประการฉะนี้ ได้เป็นมหาสมาคมอื่นๆ อีกมากมาย. ฤๅษีทั้งหมดบริโภคผลาผล แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. ผู้ใดวิตกถึงกามวิตกเป็นต้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบจิตของผู้นั้น แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งแสดงธรรมบนอากาศ. พระราชานั้นทรงได้สัปปายะในการฟังธรรม จึงยังสมาบัติและอภิญญาให้เกิด. แม้ผู้อื่นๆ ก็เป็นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมดเมื่อสิ้นชีวิตก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายที่มีใจเลื่อมใสในพระมหาสัตว์ แม้ในหมู่ฤๅษีก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นกามภูมิ ๖ ชั้น. พรหมจรรย์ของพระมหาสัตว์ยังเป็นไปอยู่ ตลอดกาลยาวนาน. เทพธิดาสิงสถิตอยู่ ณ เศวตฉัตรในครั้งนั้นได้เป็นนางอุบลวรรณาในครั้งนี้. สารถี คือพระสารีบุตรเถระ. พระมารดาพระบิดา คือตระกูลมหาราช. บริษัททั้งหลาย คือพุทธบริษัท. เตมิยบัณฑิต คือพระโลกนาถ. อธิษฐานบารมีของพระมหาสัตว์นั้นถึงที่สุดในจริยานี้. แม้บารมีที่เหลือพึงเจาะจงกล่าวตามสมควร. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ คือ ความกลัวนรกตั้งแต่ประสูติได้หนึ่งเดือน. ความกลัวบาป. ความรังเกียจราชสมบัติ. การอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้นอันมีเนกขัมมะเป็นนิมิต และความไม่หวั่นไหวแม้ในการประชุมวิโรธิปัจจัย (ข้าศึก, ผู้ทำร้าย). จบอธิษฐานบารมี ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น ๖. มูคผักขจริยา จบ. |