![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า มิถิลายํ ปุรุตฺตเม คือ ในนครอันอุดมแห่งกรุงวิเทหะชื่อว่ามิถิลา. บทว่า เนมิ นาม มหาราชา คือ พระเนมิกุมารทรงอุบัติสืบต่อวงศ์กษัตริย์ดุจกงรถ จึงได้ชื่อว่าเนมิ. ชื่อว่าเป็นมหาราชา เพราะเป็นพระราชา บทว่า ปณฺฑิโต กุสลตฺถิโก เป็นบัณฑิตต้องการกุศล คือต้องการบุญเพื่อตนและเพื่อผู้อื่น. ได้ยินว่า ในครั้งอดีต ในนครมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระโพธิสัตว์ของเราได้เป็นพระราชาพระนามว่ามฆเทพ. พระองค์ทรงสนุกสนานตอนเป็นพระกุมารอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงได้รับ ครั้นต่อมา ช่างกัลบกเห็นพระเกศาหงอกจึงกราบ ผมบนศีรษะของพ่อหงอก ความชรา ปรากฏแล้ว เทวทูตปรากฏแล้ว ถึงเวลาที่ พ่อจะบวชละ. จึงมอบราชสมบัติให้ ผิว่าตนมีอายุ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ยังสำคัญตนดุจยืนอยู่ใกล้ความตาย จึงสลดใจ ชอบที่จะบวช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระทิศัมบดีพระนามว่ามฆเทพ ทอดพระเนตรเห็น พระเกศาหงอกบนพระเศียร ได้ความสังเวช พอพระทัยที่จะทรงผนวช. พระราชาทรงประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า ลูกควรประพฤติโดยทำนองนี้เหมือนอย่างที่พ่อปฏิบัติ ลูกอย่าได้เป็นคนสุดท้ายเลย แล้วเสด็จออกจากพระนครทรงผนวชเป็นภิกษุยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยฌานและสมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. แม้พระโอรสของพระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอดหลายพันปี ได้ทรงผนวชโดยอุบายนั้นเหมือนกันแล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. กษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ หย่อนไปกว่าสองพระองค์อย่างนี้ คือโอรสของกษัตริย์องค์นั้นก็ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่บนพรหมโลกทรงรำพึงว่า กัลยาณธรรมที่เราได้ทำไว้ในมนุษยโลกยังเป็นไปอยู่หรือ หรือว่าไม่เป็นไปได้ ทรงเห็นว่าเป็นไปตลอดกาลเพียงเท่านี้ บัดนี้จักไม่เป็นไปต่อไป. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แต่เราจักไม่ให้การสืบสายของเราขาดไป จึงทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโอรสได้พระนามว่าเนมิ เพราะทรงอุบัติสืบต่อวงศ์ตระกูลดุจกงรถ ฉะนั้น. ในวันขนานพระนามของพระโอรสนั้น พระชนกตรัสเรียกพราหมณ์ผู้ชำนาญการ พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่าเนมิ เพราะอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว. พระโอรสนั้นตั้งแต่ยังเยาว์พระชนม์ ได้ทรงขวนขวายในศีลและอุโบสถกรรม. ลำดับนั้น พระชนกของพระกุมาร ทอดพระเนตรเห็นพระเกศาหงอกโดยนัยก่อน จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก มอบราชสมบัติแก่พระโอรสแล้ว เสด็จออกจากพระนครทรงผนวช ยังฌานให้เกิดแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก. ฝ่ายพระเนมิราชทรงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ท่าม มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระเนมิราชนั้น กระทำบุญมีทานเป็นต้น จุติจาก ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความที่อัธยาศัยในการให้ของพระองค์กว้างขวางและความที่ทานบารมีบริบูรณ์ไม่มีขาดเหลือ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า :- ในครั้งนั้น เราสร้างศาลา ๔ แห่ง มี ๔ มุข บริจาคทานแก่เนื้อ นก และคนเป็นต้น ณ ที่นั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทา คือ ในเวลาที่เป็นพระเนมิราชนั้น. บทว่า มาปยิตฺวาน คือ ให้สร้าง. บทว่า จตุสฺสาลํ คือ โรงทานเชื่อมกันใน ๔ ทิศ. บทว่า จตุมฺมุขํ คือ ประกอบด้วยประตู ๔ ประตูใน ๔ ทิศ เพราะไม่สามารถทำทาน ให้สิ้นสุดไปโดยประตูเดียวเท่านั้นได้และให้ไทยธรรมถึงที่สุดได้ เพราะโรงทานใหญ่มากและเพราะไทยธรรมและผู้ขอมาก จึงต้องให้สร้างประตูใหญ่ ๔ ประตูใน ๔ ทิศ แห่งโรงทาน. ณ โรงทานนั้นตั้งแต่ประตูถึงปลายประตูไทยธรรมตั้งอยู่เป็นกองใหญ่. ทานย่อมเป็นไปเริ่มตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงเวลาเข้าไปตามปกติ. แม้ใน ที่จริงแล้ว มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ทั้งหมดก็รับและบริโภคทานนั้นเช่นเดียวกับทานของพระมหาสุทัศนราช ด้วยสำเร็จแก่คนมั่งคั่ง และแม้มีสมบัติมาก เพราะสละไทยธรรมมากมายและประณีต. จริงอยู่ พระมหาบุรุษกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้เจริญงอกงาม แล้วบริจาคมหาทานในครั้งนั้น. ทรงบริจาคทานด้วยให้สำเร็จ แม้แก่สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายมีเนื้อและนกเป็นต้นนอกโรงทาน เช่นเดียวกับมนุษย์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บริจาคทาน ณ โรงทานนั้นแก่เนื้อ นกและคนเป็นต้น. ไม่บริจาคเฉพาะแก่สัตว์เดียรัจฉานเท่านั้น แม้แก่เปรตทั้งหลายก็ทรงให้ส่วนบุญทุกๆ วัน. ทรงบริจาคทานในโรงทาน ๕ แห่ง เหมือนในโรงทานแห่งเดียว. แต่ในบาลีกล่าวไว้ดุจแห่งเดียวว่า ในครั้งนั้น เราสร้างโรงทาน ๔ โรง มี ๔ มุข. บทนั้น ท่านกล่าวหมายถึงโรงทานท่ามกลางพระนคร. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงไทยธรรม ณ โรงทานนั้นโดยเอกเทศ จึงตรัสว่า :- เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำและอาหาร. ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉาทนํ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มหลายๆ อย่าง มีผ้าทำด้วยเปลือกไม้และผ้าเนื้อละเอียดเป็นต้น. บทว่า สยนํ ได้แก่ ที่ควรนอนหลายอย่างมีเตียงและบัลลังก์เป็นต้น และพรมทำด้วยขนแกะ และเครื่องลาดที่ปักเป็นรูปสวยงามเป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้แม้ที่นั่งก็พึงกล่าวว่า ท่านให้ด้วย สยนศัพท์นั่นเอง. บทว่า อนนฺ ํ ปานญฺจ โภชนํ ได้แก่ ข้าวและน้ำมีรสเลิศต่างๆ ตามความชอบใจของสัตว์เหล่านั้นๆ และชนิดของอาหารต่างๆ ที่เหลือ. บทว่า อพฺโพจฺฉินฺนํ กริตฺวาน กระทำไม่ให้ขาดสาย คือกระทำไม่ให้ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่ทานนั้นเป็นไปแล้วโดยความเป็นทานบารมี ปรารภสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดงถึง พระพุทธดำรัสนั้นมีความดังต่อไปนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นเสวกเข้าไปหานายของตนด้วยการคบหากันตามกาลอันควร เพราะเหตุแห่งทรัพย์ที่ควรได้ ย่อมแสวงหาความยินดีที่นายพึงให้ยินดีได้โดยอาการที่ให้ยินดีด้วยกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมฉันใด แม้เราผู้เป็น เราปรารถนาโพธิญาณคือสัมมาสัมโพธิญาณอันอุดมนั้น จึงทำอย่างใดอย่างหนึ่งมีการบริจาคชีวิตเป็นต้น. เพื่อแสดงถึงความกว้างขวางแห่งอัธยาศัยในการให้ไว้ในที่นี้ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกำหนดเทศนาไว้ด้วยทานบารมีเท่านั้น. แต่ในเทศนาชาดก ท่านชี้แจงถึงความบริบูรณ์แม้แห่ง เป็นความจริงอย่างนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ตกแต่งพระองค์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล แล้วทรงให้มหา เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ มนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้ก็ยังทำ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า :- น่าอัศจรรย์หนอ ได้มีผู้ฉลาดเกิดขึ้นในโลก ได้เป็นพระราชาพระนามว่าเนมิราช เป็นบัณฑิต มีความต้องการด้วยกุศล. ทวยเทพทั้งปวงมีท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพเป็นต้นได้สดับดังนั้น ประสงค์จะเห็น วันหนึ่ง เมื่อพระมหาบุรุษทรงรักษาอุโบสถ ประทับอยู่เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งขัดสมาธิใน พระโพธิสัตว์ไม่สามารถตัดสินความสงสัยของพระองค์ได้. ในขณะนั้น ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงถึงเหตุนั้น ครั้นทรงเห็นพระโพธิสัตว์ทรงวิตกอยู่อย่างนั้นจึงทรงดำริว่า เอาเถิด เราจะตัดสินความวิตกของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเสด็จมาประทับอยู่ข้างหน้า. พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร? จึงทรงบอกว่า พระองค์เป็นเทวราชแล้วตรัสถามว่า มหาราช พระองค์ทรงดำริถึงอะไร? พระโพธิสัตว์จึงตรัสบอกความนั้น. ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงให้เห็นว่าพรหมจรรย์นั่นแหละประเสริฐที่สุด จึงตรัสว่า :- บุคคลเกิดในตระกูลกษัตริย์ ก็เพราะ ประพฤติพรหมจรรย์ต่ำ บุคคลเกิดเป็นเทวดา ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลาง บุคคล บริสุทธิ์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด. การเป็นพรหมมิใช่เป็นได้ง่ายๆ เพียง วิงวอนขอให้เป็นผู้ที่จะเป็นพรหมได้นั้น ต้อง ไม่มีเหย้าเรือน ต้องบำเพ็ญตบะ. ในบทนั้นพึงทราบความดังนี้ ความประพฤติเพียงเว้นจากเมถุนในลัทธิศาสนาเป็นอันมาก ชื่อว่าพรหม ชนภายนอกกล่าวพรหมโลกนั้นว่านิพพาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิสุชฺฌติ ย่อมบริสุทธิ์. แต่ในพระศาสนา เมื่อภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาหมู่เทพอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ด้วยประการฉะนี้ ท้าวสักกะจึงพรรณนาว่า มหาราช การอยู่ประพฤติ บทว่า กายา คือ หมู่พรหม. บทว่า ยาจโยเคน คือ ประกอบด้วยความวิงวอน. บาลีว่า ยาชโยเคน ก็มี คือประกอบด้วยการบูชา. อธิบายว่า ประกอบด้วยการให้. บทว่า ตปสฺสิโน คือ บำเพ็ญตบะ. ท้าวสักกะทรงแสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้นว่ามี ก็และท้าวสักกะครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทพระโพธิสัตว์ว่า มหาราช แม้ ครั้งนั้น หมู่เทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่จอมเทพพระองค์เสด็จไปไหนมา? ท้าวสักกะตรัสว่า เราไปตัดสินความสงสัยของพระเจ้าเนมิราช ในกรุงมิถิลา. เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงพรรณนาคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์โดยพิสดาร. ทวยเทพได้สดับดังนั้นจึงทูล ข้าแต่จอมเทพ พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายประสงค์จะเห็นพระเจ้าเนมิราช. พวกข้าพระพุทธเจ้าขอโอกาส ขอพระองค์ตรัสเรียกพระเจ้าเนมิราชเถิด. ท้าวสักกะตรัสรับว่าตกลง แล้วตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมารับสั่งว่า ท่านจงไปทูลเชิญเนมิราชประทับเวชยันตปราสาทแล้วนำมา. มาตลีเทพบุตรรับเทวบัญชาแล้วนำรถไปรับพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงซักไซ้ไล่เลียง จึงทูลถึงฐานะของผู้มีบาปกรรมและผู้มีบุญกรรม นำไปสู่เทวโลกตามลำดับ. แม้ทวยเทพทั้งหลายได้สดับว่า พระเจ้าเนมิราชเสด็จมาแล้วจึงถือของ พระราชาเสด็จลงจากรถแล้วเสด็จเข้าไปยังเทวสภาประทับนั่งร่วมอาสนะกับท้าวสักกะ ท้าวสักกะต้อนรับด้วย ทรงประทับอยู่ ๗ วัน โดยนัยจำนวนวันของมนุษย์ แล้วทูลว่า ข้าพเจ้าจะ ท้าวสักกะมีเทวบัญชากะมาตลีเทพบุตรว่า ท่านจงนำพระเจ้าเนมิราชไปยังกรุงมิถิลาเถิด. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระโพธิสัตว์ให้ทรงขึ้นสู่เวชยันตรถ แล้วพาไปส่งถึงกรุงมิถิลาทางทิศปราจีน. มหาชนเห็นทิพยรถจึงได้ทำการต้อนรับพระราชา. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระมหาสัตว์ให้ลงข้างสีหบัญชร แล้วทูลลากลับไปยังเทวโลก. แม้มหาชนก็พากันมาล้อมพระราชาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ เทวโลกเป็นอย่างไรบ้าง พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพรรณนาถึงสมบัติในเทวโลก แล้วทรงแสดงธรรมว่า แม้พวกท่านก็จงทำบุญมีทานเป็นต้น พวกท่านจักเกิด |