![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อธิบายปฏิปทา ๔ บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจครั้งแรกจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่าปฏิปทา. ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจารจนถึงอัปปนา เรียกว่าอภิญญา. ก็ปฏิปทานี้นั้นย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคน อธิบายว่า ชื่อว่าปฏิบัติยาก ไม่ได้เสพความสุขเพราะความที่ปัจจนิก ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้วอบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า). บุคคลใดย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยเร็ว ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว). บุคคลใดเมื่อข่มกิเลสทั้งหลายไม่ลำบากข่มได้โดยง่าย ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าสุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก). ในอธิการแห่งฌานเหล่านั้น สัปปายะและอสัปปายะก็ดี บุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นก็ดี อัปปนาโกศลก็ดี ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในจิตตภาวนานิทเทสในวิสุทธิมรรคแล้ว. ในปฏิปทามีสัปปายะเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลใดเสพอสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นทุกขาปฏิปทาและทันธาภิญญา. บุคคลใดเสพสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา. ส่วนบุคคลใดเสพอสัปปายะในส่วนเบื้องต้น ย่อมเสพสัปปายะในเวลาภายหลัง หรือว่า เสพสัปปายะในกาลส่วนเบื้องต้น เสพอสัปปายะในกาลภายหลัง บัณฑิตพึงทราบว่าปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลนั้นปะปนกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระโยคาวจรไม่ทำบุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นอย่างนั้นให้สำเร็จก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขาเป็นทุกขาปฏิปทา โดยปริยายตรงกันข้ามเป็นสุขาปฏิปทา. อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรไม่ทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นทันธาภิญญา เมื่อทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นขิปปาภิญญา. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยอำนาจตัณหาและอวิชชา และด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา. จริงอยู่ ปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นสุขาปฏิปทาและปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาภิญญา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นขิปปาภิญญา อนึ่ง บุคคลใดไม่สร้างความดีในสมถะไว้ ปฏิ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งกิเลสและอินทรีย์. จริงอยู่ ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลมีกิเลสกล้า มีอินทรีย์อ่อนก็เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา. ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีกิเลสอ่อน อินทรีย์อ่อนก็เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา. บรรดาปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้โดยประการที่กล่าวมานี้ บุคคลใดย่อมบรรลุฌาน เพราะปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า ฌานนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. แม้คำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอธิการแห่งฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สติเป็นสภาพสมควรแก่ปฐมฌานเป็นต้นนั้น ย่อมตั้งโดยชอบ ปัญญาเป็นฐิติภาคินี (มีส่วนตั้งมั่น) และพึงทราบปฏิปทาในการข่มไว้ด้วยสติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ หรือด้วยความใคร่ในฌานนั้นๆ และพึงทราบอภิญญาในการอบรมอัปปนาของผู้บรรลุอุปจารฌานนั้นๆ. อนึ่ง ปฏิปทาและอภิญญาย่อมมีแม้ด้วยสามารถแห่งการบรรลุก็ได้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้ทุติยฌานที่บุคคลบรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาแล้ว บรรลุก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ ก็นัยนี้แหละ. พึงทราบความต่างกัน ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งปฏิปทาแม้ในฌานปัญจกนัย เหมือนในฌานจตุกนัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ๒ นัย เป็นหมวด ๙ เป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้. ในฌานหมวด ๙ ปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต ๓๖ ดวง แต่ว่าโดยอรรถ (ใจความ) ได้จิต ๒๐ ดวงเท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌานปัญจกนัยแล. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน ปฏิปทา ๔ จบ. |