บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาจตุกนิทเทส ในบรรดารูปมีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้น รูปายตนะชื่อว่า ทิฏฺฐํ (รูปที่เห็นได้) เพราะอรรถว่าอันจักษุอาจมองดูเห็นได้. สัททายตนะชื่อว่า สุตํ (รูปที่ฟังได้) เพราะอรรถว่าอันโสตอาจฟังเสียงรู้ได้. หมวดสามแห่งอายตนะมีคันธายตนะเป็นต้นชื่อว่า มุตํ (รูปที่รู้ได้) ด้วยอรรถว่าอันฆานะ ชิวหาและกาย พึงรู้โดยการรับอารมณ์ที่ถึงแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปที่ชื่อ มุตํ เพราะเหตุที่ถูกต้องแล้วจึงเกิดวิญญาณดังนี้ก็มี. ส่วนรูปทั้งหมดทีเดียวชื่อว่า วิญฺญาตํ (รูปที่รู้แจ้ง) ทางใจ เพราะอรรถว่าอันมโนวิญญาณพึงรู้. อรรถกถาปัญจนิทเทส บทว่า กกฺขฬํ (ธรรมชาติที่แข็ง) คือ กระด้าง. ความกระด้างนั่นแหละเรียกว่าธรรมชาติที่กระด้าง. อธิบายว่า ธรรมชาติที่หยาบ. ความแข็งภาวะที่แข็งแม้ทั้ง ๒ นอกนี้ก็เป็นการอธิบายสภาวะนั่นเอง. บทว่า อชฺฌตฺตํ (เป็นภายใน) ได้แก่ เป็นภายในอันเกิดในตน. บทว่า พหิทฺธา วา (หรือภายนอกก็ตามที) ได้แก่ เป็นภายนอก. บทว่า อุปาทินฺนํ (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น.๑- คำว่า อุปาทินฺนํ นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน. จริงอยู่ รูปอันตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่าเป็นอุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว. บทว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่ สภาวะที่ไปในเตโชธาตุทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ. อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่ อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคตํ (ธรรมชาติที่อุ่น) ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสุมํ (ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสุมคตํ (ธรรมชาติที่อบอุ่น). รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัดไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะที่พัดไปมา. ถมฺภิตตฺตนฺติ อุปฺปลนาฬตจาทีนํ วิย วาตปุณฺณานํ ถมฺภิตภาโว รูปสฺส. บทว่า ถมฺภิตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความเคร่งตึงของรูป ดุจความเคร่งตึงอันเต็มด้วยลมมีก้านและเปลือกอุบลเป็นต้น. บทว่า ถมฺภิตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ภาวะที่ค้ำจุนรูปไว้ เหมือนอย่างสิ่งที่เต็มด้วยลมเป็นต้นว่าก้านและเปลือกอุบล. บทว่า ถมฺภิตตฺตํ (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความที่ลมค้ำจุนรูปไว้ ดุจความที่ลมค้ำจุนก้านและเปลือกอุบลเป็นต้นไว้. ____________________________ ๑- ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมฏฐานเท่านั้น. อรรถกถาฉักกนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด ๖ เป็นต้นนั้น รูปที่ชื่อว่าอัน ในบทว่า สพฺพํ รูปํ (รูปทั้งหมด) นี้ เพราะแม้เพียงรูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้มิได้มี ฉะนั้น จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้. จริงอยู่ นัยในฐานะที่ควรเพื่อทรงอธิบายถึงพระอภิธรรมแล้ว อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้กระทำไว้ชื่อว่าย่อมไม่มี. และนัยนี้ก็ชื่อว่า ฐานะที่ควรเพื่อแนะนำ เพราะความไม่มี แม้แต่รูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงทำนัย (ข้อแนะนำ) ไว้ จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ ดังนี้. บทว่า สุขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นสุข ข้อ ๖๕๙) คือได้สุขเวทนาเป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นทุกข์) คือ ได้ทุกขเวทนาเป็นปัจจัย. แม้ในคำว่ามีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นนี้ พระองค์ทรงประทานนัยไว้นี้ เพราะความที่โผฏฐัพพารมณ์มีสภาวะเป็นทุกข์และเป็นสุข. แต่ว่าในนิทเทสรูปหมวด ๙ ไม่ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์มีอยู่ ในรูปหมวด ๑๐ ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปนั้นนั่นแหละเป็นสัปปฏิฆะ (กระทบได้) และอัปปฏิฆะ (กระทบไม่ได้) ในรูปหมวด ๑๑ ทรงจำแนกอายตนะไว้ ๑๐ กับอีกครึ่งหนึ่ง. บัณฑิตพึงทราบนิทเทสวารแห่งอายตนะเหล่านั้นๆ โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล. ว่าด้วยปกิณณกกถา สโมธาน คือการประมวลมา สมุฏฐาน คือเหตุให้เกิดขึ้น ปรินิปผันนะ คือรูป. บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ข้อว่า สโมธาน ความว่า รูปทั้งหมดทีเดียวว่าโดยสโมธานคือการประมวลมา นับได้ ๒๕ รูป คือจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาศธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รวมกับรูปคือหทยวัตถุ พึงทราบว่า มี ๒๖ ชื่อว่ารูปอื่นจากนี้มิได้มี. แต่อาจารย์บางพวกผู้มีวาทะว่ามิทธะเป็นรูปจึงกล่าวว่า ชื่อว่ามิทธรูปมีอยู่ อาจารย์เหล่านั้นพึงถูกสกวาทยาจารย์กล่าวว่า ท่านจะเป็นมุนีสัมพุทธะแน่นอน นิวรณ์ของท่านไม่มีดังนี้เป็นต้น พึงปฏิเสธว่า รูปที่ชื่อว่ามิทธรูป ไม่มี. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า รูป ๒๖ เหล่านั้นกับพลรูปก็เป็นรูป ๒๗ รวมกับสัมภวรูปก็เป็นรูป ๒๘ รวมกับชาติรูปก็เป็น ๒๙ รวมกับโรครูป ก็เป็น ๓๐ รูป แม้อาจารย์นั้นก็พึงถูกให้แสดงความไม่มีแห่งรูปเหล่านั้นไว้แผนกหนึ่ง แล้วปฏิเสธ. จริงอยู่ พระองค์ทรงถือเอาพลรูปนั่นแหละด้วยวาโยธาตุที่ทรงถือเอาแล้วชื่อว่า พลรูปอื่นย่อมไม่มี. ทรงถือเอาสัมภวรูปด้วยอาโปธาตุ ทรงถือเอาชาติรูปด้วยอุปจยะและ ว่าโดยสมุฏฐานของรูป รูปสิบมีสมุฏฐาน ๑ รูปหนึ่งมีสมุฏฐาน ๒ รูปสามมีสมุฏฐาน ๓ รูปเก้ามีสมุฏฐาน ๔ รูปสองไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย. บรรดารูปเหล่านั้นรูปสิบ ชื่อว่ามีสมุฏฐาน ๑ คือ รูป ๘ เหล่านี้คือจักขุประ ส่วนชรตารูปและอนิจจตารูป ย่อมไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ เหล่านั้นแม้สมุฏฐานเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูป ๒ ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะรูปทั้ง ๒ นี้ ไม่เกิด. ถามว่า เพราะเหตุไร รูปทั้ง ๒ นี้ จึงไม่เกิด. ตอบว่า เพราะรูปที่เกิดแล้วก็ต้องแก่และแตกดับ. จริงอยู่ รูปหรืออรูปก็ตามเกิดขึ้นแล้วก็ต้องแตกดับ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงยอมรับคำดังกล่าวนี้แน่นอน เพราะว่ารูปหรืออรูปเกิดขึ้นแล้วชื่อว่าไม่สิ้นไป ปรากฏอยู่หามีไม่ แต่ตราบใด รูปยังไม่แตกดับ ความแก่หง่อมของรูปนั้นก็ยังปรากฏอยู่ตราบนั้น เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงสำเร็จว่า รูปเกิดขึ้นแล้ว ต้องแก่และแตกดับไป. ก็ถ้าว่ารูปทั้ง ๒ นี้ พึงเกิดไซร้ รูปทั้ง ๒ แม้นี้ก็พึงแก่และแตกดับไป และความแก่ของรูปก็ย่อมไม่แก่ หรือความแตกของรูปก็ย่อมไม่แตกดับไป เพราะฉะนั้น รูปทั้ง ๒ นี้จึงชื่อว่าไม่เกิด เพราะรูปเกิดแล้วๆ ก็ต้องแก่และแตกดับ. ในข้อนั้น หากมีผู้ท้วงขึ้นด้วยคำว่า อุปจยรูป สันตติรูป ในนิทเทส ทั้งหลายว่า รูปที่กรรมแต่งขึ้น เป็นต้น ย่อมเป็นคำรับรองว่า ชาติรูป ย่อมเกิด ดังนี้ ฉันใด รูปแม้แก่แล้วก็จงแก่ไปเถิด แม้รูปที่แตกก็จงแตกไปเถิด ฉันนั้น ดังนี้. ในข้อนั้น ท่านมิได้ยอมรับว่า ชาติรูปย่อมเกิด แต่ธรรมเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมเป็นต้น ท่านยอมรับโวหารของความเกิดขึ้นของธรรมนั้นโดยมีชาติเป็นปัจจัย โดยความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ชาติรูปย่อมไม่เกิด เพราะชาติรูปเมื่อเกิดก็เป็นเพียงการเกิดเท่านั้นย่อมเกิด. ในข้อนั้น ถ้าพึงมีผู้ท้วงว่า ชาติรูปเป็นความเกิดของธรรมเหล่าใด ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าความเกิดของธรรมเหล่านั้นฉันใดนั่นแหละ. อนึ่ง ความแก่และความแตกดับของธรรมเหล่าใด มีอยู่ แม้ความแก่และความแตกดับจงได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ฉันใด แม้รูปทั้ง ๒ นี้ ก็จะพึงกล่าวได้ว่า มีกรรมเป็นต้นเป็นสมุฏฐานฉันนั้นนั่นแหละดังนี้. ข้อนี้ตอบว่า ความแก่และความแตกดับ จะได้โวหารนั้นหามิได้ ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะความไม่มีในขณะแห่งอานุภาพของชนกปัจจัย จริงอยู่ อานุภาพแห่งชนกปัจจัยทั้งหลายมีอยู่ในอุปาทขณะแห่งธรรมอันตนพึงให้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่เกินจากนั้นไป และในขณะแห่งธรรมอันชนกปัจจัยเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ชาติเมื่อปรากฏ ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าเป็นความเกิดของธรรมเหล่านั้น เพราะความมีอยู่พร้อมในขณะนั้น รูป (อุปจยะและสันตติ) ทั้ง ๒ นอกนี้หามีในขณะนั้นไม่ และจะพึงกล่าวว่า เกิดอยู่ในขณะนั้นก็ไม่ได้เลย. หากจะท้วงต่อไปอีกว่า รูปแม้ทั้ง ๒ นี้ก็ยังชื่อว่าเกิดอยู่ เพราะพระบาลีมีมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว) เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้. ตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะพระบาลีนั้นแสดงไว้โดยปริยาย. จริงอยู่ ในพระบาลีนั้น พระองค์ตรัสว่า ชราและมรณะนั้นว่า เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้ โดยปริยาย เพราะธรรมทั้งหลายที่อาศัยเหตุเกิดขึ้นเป็นชราและมรณะ. หากจะมีคำท้วงอีกว่า รูปทั้ง ๓ แม้นั้น ก็ย่อมไม่มีเหมือนเขากระต่าย เพราะไม่เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นของเที่ยงเหมือนพระนิพพานแน่. ตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะยังมีความเป็นไปเนื่องด้วยนิสสยปัจจัยอยู่. จริงอยู่ เมื่อนิสสยปัจจัยมีปฐวีเป็นต้น ธรรมชาติทั้ง ๓ มีความเกิดเป็นต้น ก็ย่อมปรากฏ ฉะนั้นจะว่าไม่มีอยู่ ก็ไม่ได้. อนึ่งเล่า เมื่อไม่มีนิสสยปัจจัยเหล่านั้น ก็จะไม่ปรากฏ จะว่าเที่ยงก็ไม่ได้ เพื่อจะทรงปฏิเสธความยึดมั่นแม้นี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า รูปทั้ง ๒ (อุปจยรูปและสันตติรูป) ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรๆ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า สมุฏฺฐหนฺติ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างอื่นต่อไป มาติกานี้ของเนื้อความนั้นว่า กมฺมชํ (รูปเกิดแต่กรรม) กมฺมปจฺจยํ (มีกรรมเป็นปัจจัย) กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นปัจจัย). อาหารสมุฏฺฐานํ (รูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน) อาหารปจฺจยํ (มีอาหารเป็นปัจจัย) อาหารปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย). อุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุปจฺจยํ (มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย). จิตฺตสมุฏฺฐานํ (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) จิตฺตปจฺจยํ (มีจิตเป็นปัจจัย) จิตฺตปจฺจยอุตุสมุฏฺฐานํ (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย). บรรดาสมุฏฐานแห่งรูปทั้ง ๔ เหล่านั้น รูป ๘ อย่างมีจักขุประสาทเป็นต้น รวมกับหทยวัตถุ ชื่อว่ากัมมชะ (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้ คือผม หนวด งาช้าง ขนหางม้า ขนหางจามรี ชื่อว่ากรรมปัจจัย (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้ว่าจักรรัตนะ อุทยานและวิมานของพวกเทวดา ชื่อว่ากัมมปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นปัจจัย). สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อาหาร ชื่อว่าอาหารสมุฏฐาน (มีอาหารเป็นสมุฏฐาน) กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่รูปสันตติแม้ทั้ง ๒ คืออาหารสมุฏฐานและอุปาทินนรูป เป็นปัจจัยให้เกิดอาหารสมุฏฐาน และอนุบาลกรรมชรูป เพราะฉะนั้น กรรมชรูปอันอาหารหล่อเลี้ยงไว้นี้ ชื่อว่าอาหารปัจจัย (มีอาหารเป็นปัจจัย) บุคคลเสพวิสภาคาหารเดินอยู่กลางแดดย่อมเกิดโรคเกลื้อนดำเป็นต้น (ตกกระ) นี้ชื่อว่าอาหารปัจจยอุตุสมุฏฺฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย). สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อุตุ ชื่อว่าอุตุสมุฏฐาน (มีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุแม้ในสุทธัฏฐกะนั้น ก็ยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น นี้ชื่อว่าอุตุปัจจัย (มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุแม้ในรูป ๘ อย่างอื่นนั้น ย่อมยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น นี้ชื่อว่าอุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานมีอุตุเป็นปัจจัย) ด้วยประการฉะนี้ อุตุย่อมอาจเพื่อสืบสันตติรูป ๓ เท่านั้น เลยจากนี้ไป อุตุไม่อาจเพื่อสืบต่อ ข้อความนี้สมควรแสดง แม้โดยอนุปาทินนรูปเช่น พลาหโก (เมฆ) ชื่อว่ามีอุตุสมุฏฐาน เพราะมีอุตุ สายฝนชื่อว่ามีอุตุเป็นปัจจัย เมื่อฝนตกแล้ว พืชทั้งหลายย่อมงอกขึ้น แผ่นดินย่อมส่งกลิ่น ภูเขาย่อมปรากฏเป็นสีเขียว น้ำทะเลย่อมมากขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่าอุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย). สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่จิต ชื่อว่าจิตตสมุฏฐาน (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) คำว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย นี้ ชื่อว่าจิตตปัจจัย (รูปมีจิตเป็นปัจจัย). คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ย่อมแสดงรูปช้างบ้าง แสดงรูปม้าบ้าง แสดงรูปรถบ้าง แสดงรูปกระบวนทัพต่างๆ บ้างในอากาศ คือกลางหาว นี้ชื่อว่าจิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย). ข้อว่า ปรินิปฺผนฺนํ ได้แก่ รูป (เกิดแต่กรรม) ๑๕ รูป ชื่อว่าปรินิปผันนะ. รูป (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) ๑๐ รูป ชื่อว่าอปรินิปผันนะ. อธิบายว่า ถ้ารูปธรรมที่เป็นอปรินิปผันนะ (รูปที่ไม่เกิดแต่กรรม) รูปเหล่านั้นก็ชื่อว่าอสังขตรูป (รูปที่กรรมไม่แต่งขึ้น) แต่กายวิการของรูปเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่ากายวิญญัตติ. วจีวิการของรูปเหล่านั้นแหละชื่อว่าวจีวิญญัตติ. ช่องว่างชื่อว่าอากาศธาตุ. ความเบาแห่งรูปชื่อว่าลหุตา ความอ่อนแห่งรูป ชื่อว่ามุทุตา. ความควรแก่การงานของรูปชื่อว่ากัมมัญญตา. ความเกิดขึ้นแห่งรูปชื่อว่าอุปจยะ ความเป็นไปแห่งรูปชื่อว่าสันตติ. อาการคือความแก่ของรูปชื่อว่าชิรตา อาการที่รูปมีแล้วกลับไม่มีชื่อว่าอนิจจตา. รูปทั้งหมดดังกล่าวมานี้เป็นอปรินิปผันนะ (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) เป็นสังขตะ (มีปัจจัยแต่งขึ้น) ทั้งนั้นแล. พรรณนารูปกัณฑ์ ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาธรรมสังคหะ จบเท่านี้. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทศเป็นต้น จบ. |