![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ กิเลสเท่านั้น ชื่อว่ากิเลสวัตถุ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้มีอาสวะยังไม่สิ้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกิเลสมีโลภะเป็นต้น ที่ชื่อว่ากิเลสวัตถุ เพราะอรรถว่า กิเลสเหล่านั้นด้วย เป็นวัตถุของสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกิเลสเหล่านั้นด้วย. ก็เพราะแม้กิเลสทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น โดยความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลสที่เป็นปัจจัยนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่ากิเลสวัตถุ แม้ด้วยอรรถว่าเป็นวัตถุ (ที่อยู่) ของกิเลสทั้งหลาย. ก็โลภะนี้ว่า ตตฺถ กตโม โลโภ โย ราโค สาราโค (บรรดากิเลส ๑๐ เหล่านั้น โลภะเป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก) ดังนี้ ทรงขยายออกตั้งร้อยกว่าบท ในฐานะทั้ง ๓ คือ เหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะและในกิเลสโคจฉกะนี้. ทรงอธิบายไว้ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะและอุปาทานโคจฉกะ โคจฉกะละ ๘ บท. โลภะนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงถือเอาโดยนิปปเทส (แสดงโดยไม่เหลือ) ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้ร้อยกว่าบทบ้าง ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้โคจฉกะละ ๘ บทบ้าง ในโคจฉกะเหล่านั้น ตัณหาที่ตั้งอยู่โดยส่วนเดียวกันนั่นแหละ ในเหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ อุปาทานโคจฉกะ กิเลสโคจฉกะ พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒ ตั้งอยู่ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ ก็พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒ นั้น อย่างไร? คือในอาสวโคจฉกะ เป็นกามาสวะและภวาสวะ ในสัญโญชนโคจฉกะได้ ก็กิเลสวัตถุเหล่านี้ควรนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง. ว่าโดยลำดับกิเลส โลภะอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ โมหะและมานะอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ถีนะเป็นต้นอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ โทสะอันอนาคา .. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ กิเลสโคจฉกะ จบ. |