บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุโดยนัยมีอาทิว่า ตโย กุสลเหตู ดังนี้แล้ว ทรงประสงค์จะแสดงเหตุเหล่านั้นนั่นแหละโดยฐานะแห่งการเกิดขึ้นอีก จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเลสุ อุปฺ ในนิทเทสแห่งอาสวทุกะ (บาลีข้อ ๙๑๗) ว่า ยตฺถ เทฺว ตโย อาสวา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (อาสวะ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด) นี้ บัณฑิตพึงทราบ ความเกิดขึ้นแห่งอาสวะรวมกัน ๓ อย่าง. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะย่อมเกิดรวมกันโดย ๒ อย่าง คือเกิดขึ้นในทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงรวมกับอวิชชาสวะ เกิดขึ้นในทิฏฐิสัมปยุต ๔ ดวง พร้อมกับทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ ส่วนภวาสวะย่อมเกิดรวมกันอย่างเดียว คือเกิดในทิฏฐิวิปปยุต ๔ พร้อมกับอวิชชาสวะ. อนึ่ง ในคำว่า อาสวะ ๒-๓ อย่างบังเกิดร่วมกัน นี้ฉันใด แม้ในคำว่า สัญโญชน์ ๒-๓ บังเกิดรวมกันในจิตตุปบาทใด นี้ก็ฉันนั้น คือการเกิดของสัญโญชน์ทั้งหลายรวมกันพึงมี ๑๐ อย่าง. บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น กามราคสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง ปฏิฆะย่อมเกิดร่วมกัน ๓ อย่าง มานะย่อมเกิดร่วมกัน ๑ อย่าง วิจิกิจฉาและภวราคะก็เกิดร่วมกันอย่างละ ๑ อย่างเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร คือกามราคสัญโญชน์ก่อน เกิดร่วมกัน ๔ อย่างคือ เกิดร่วมกันกับมานสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับทิฏฐิสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับสีลัพพตปรามาสและอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์เพียงเท่านั้น ๑. ก็ปฏิฆสัญโญชน์เกิดร่วมกัน ๓ อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกันกับอิสสาสัญโญชน์และอวิชชาสัญ มานสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกันพร้อมกับภวราคสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ วิจิกิจฉาสัญโญชน์นั้นย่อมเกิดร่วมกันอย่างเดียว คือร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์. แม้ในภวราคสัญโญชน์ก็นัยนี้แหละ สัญโญชน์ ๒-๓ เกิดร่วมกันในจิตตุปบาทนี้ ด้วยประการฉะนี้. ว่าด้วยนีวรณโคจฉกทุกะ จริงอยู่ ในบรรดานิวรณ์เหล่านั้น กามฉันทเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง พยาบาทเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง อุทธัจจะเกิดร่วมกันอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เกิดร่วมกันอย่างเดียวเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร? คือ กามฉันทะก่อนย่อมเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง คือเกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกันกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑. ก็คำใดที่ตรัสว่า นิวรณ์เกิดร่วมกัน ๒-๓ นั้น คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวโดยการกำหนดไว้ในเบื้องต้นแล้ว เพราะฉะนั้น การบังเกิดร่วมกันแห่งนิวรณ์แม้ทั้ง ๔ ก็ย่อมถูกต้องทีเดียว. ส่วนพยาบาทบังเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง คือเกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑. ส่วนอุทธัจจนิวรณ์เกิดร่วมกันมีอย่างเดียว คือเกิดร่วมกับอวิชชานิวรณ์เพียงอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เกิดร่วมกันอย่างเดียว คือเกิดกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์. ว่าด้วยกิเลสโคจฉกทุกะ จริงอยู่ ในบรรดากิเลส ๑๐ เหล่านี้ โลภกิเลสย่อมเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง ปฏิฆกิเลสเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง โมหกิเลสก็พึงทราบ ๒ อย่างเหมือนกัน. พึงทราบอย่างไร? คือ โลภะก่อนเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง คือ เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิต ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในสสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิต ๑ เกิดร่วมกับโมหะ มานะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกจิตนั่นแหละ ๑ เกิดร่วมกับโมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในสสังขาริกจิตนั่นแหละ ๑ อนึ่ง เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ทิฏฐิ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะในสสังขาริกประกอบด้วยทิฏฐิ ๑. ส่วนปฏิฆะเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในสสังขาริกจิต ๑. ส่วนโมหะเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ๑ เกิดพร้อมกับอุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ๑. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล. แห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ. นิคมกถา พระโลกนารถเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกจิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัตถุทธารกัณฑ์ อันน่ารื่นรมย์ใจ ทรงแสดงพระธรรมสังคณีใด การพรรณนาเนื้อความแห่งพระธรรมสังคณีที่ได้ทรงรวบรวมธรรมโดยสิ้นเชิงแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งทรงตั้งไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้เริ่มแล้ว การพรรณนาเนื้อความนี้นั้นเข้าถึงความสำเร็จแล้วโดยชื่อว่าอัฏฐสาลินี เพราะมีเนื้อความไม่อากูลโดยพระบาลี ๓๙ ภาณ กุศลใดที่ข้าพเจ้ายังอรรถวรรณนาให้จบลงนั้นสำเร็จแล้วด้วยอานุภาพแห่งกุศลนั้น ขอสัตว์แม้ทั้งหมดจงรู้พระธรรมของพระธรรมราชา อันนำมาซึ่งความสุขแล้ว จงบรรลุสันติสุขคือพระนิพพานอันยอดเยี่ยม หาความโศกมิได้ ไม่มีความคับแค้นใจ ด้วยข้อปฏิบัติอันบริสุทธิ์โดยง่าย. ขอพระสัทธรรมจงดำรงอยู่สิ้นกาลนาน ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งหมดจงเคารพธรรม ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล พระราชาแต่เก่าก่อนทรงคุณธรรมอันดีทรงปกครองปวงประชาโดยธรรมฉันใด ขอพระราชาปัจจุบันจงทรงปกครองปวงประชาโดยธรรม ดุจพระโอรสของพระองค์ฉันนั้นเถิด. อรรถกถาธรรมสังคณี ชื่อว่าอัฏฐสาลินี นี้อันพระเถระผู้มีนามที่ครูทั้งหลายขนาน๑- แล้วว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วย ศรัทธา ปัญญาและวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้ยังหมู่แห่งคุณมีศีลอาจาระความซื่อตรง ความอ่อนโยนเป็นต้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ (การวินิจฉัยข้อความที่ยุ่งยาก) ในความแตกต่างกันแห่งลัทธิของตนและคนอื่น ผู้ประกอบด้วยความเฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ผู้มีปรีชาญาณอันไม่ติดขัดในสัตถุศาสน์ อันต่างด้วยปริยัติคือพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ผู้เป็นมหาไวยากรณ์ ผู้อธิบายเนื้อความได้กว้างขวาง ผู้ประกอบด้วยถ้อยคำไพเราะอันเลิศซึ่งเปล่งออกไปได้คล่องแคล่วอันเกิดแต่กรณสมบัติ เป็นนักพูดชั้นเยี่ยมโดยทั้งผูกทั้งแก้ เป็นมหากวี เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระฝ่ายมหาวิหารซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์๒- ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วในอุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมีการแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉานแล้วเป็นบริวาร เป็นผู้มีความรู้ไพบูลย์และหมดจดวิเศษแล้ว รจนาไว้. ขออรรถกถาธรรมสังคณีชื่อ อัฏฐสาลีนีนี้ อันแสดงนัยแห่งปัญญาวิสุทธิ์ แก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาธรรมเครื่องสลัดออกจากโลก จงดำรง อยู่ในโลกตราบเท่าพระนามว่า พุทโธ ของพระ โลกเชษฐ์เจ้า ผู้เป็นพระมหาฤาษี ผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ยังเป็นไปในโลก เทอญ. ____________________________ ๑- ในที่นี้กล่าว นามเธยฺย (การตั้งชื่อ) เป็นของพระพุทธโฆสาจารย์ที่ครูทั้งหลายขนานให้มีถึง ๑๓ บท. ๒- เถรวงศ์ หมายถึงพระมหากัสสปเถระเป็นต้น และคำว่า " ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วในอุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมีการแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉานดีแล้วเป็นบริวาร" เหล่านี้ เป็นคุณของพระมหากัสสปเถระเป็นต้น. .. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ อัตถุทธารกัณท์ เหตุโคจฉกะเป็นต้น จบ. |