บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อารัมภกถา ๑. ขันธวิภังคนิเทศ วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ๕ เป็นคำกำหนดจำนวน ด้วยคำว่า ๕ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม ____________________________ ๑- คำว่า สุตตันตภาชนีย์ คือคำที่จำแนกโดยนัยที่ทรงแสดงในพระสูตร. ว่าด้วยขันธศัพท์ จริงอยู่ ชื่อว่าขันธ์ โดยฐานะว่ากอง เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหก หรือว่าเท่านี้ร้อยอาฬหก หรือว่าเท่านี้พันอาฬหก หรือว่าเท่านี้แสนอาฬหก ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้ ย่อม อนึ่ง ธุลีมิใช่มีประมาณเล็กน้อย เขาก็เรียกว่ารชักขันธ์ (กองธุลี) โคมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่าควักขันธ์ (กองโค) พลมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่าพลขันธ์ (กองพล) บุญมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่าบุญขันธ์ (กองบุญ) เพราะธุลีมีมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่ารชักขันธ์ โคเป็นต้นมีประมาณมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่าควักขันธ์ พลมีประมาณมากและบุญมีประมาณมาก ท่านก็เรียกว่าพลขันธ์และบุญขันธ์ ดังนี้. ____________________________ ๑- องฺ จตุกฺก เล่ม ๒๑/ข้อ ๕๑/เล่ม ๗๒ คำว่า อาฬหก เป็นชื่อกำหนดนับโดยการตวงของ เช่น ๔ กำมือเป็น ๑ ฟายมือ, ๒ ฟายมือเป็น ๑ กอบ, ๒ กอบเป็น ๑ ทะนาน, ๔ ทะนานเป็น ๑ อาฬหก. อนึ่ง ชื่อว่าขันธ์ โดยฐานะว่าคุณ เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า สีลกฺขนฺโธ (คุณคือศีล) สมาธิขนฺโธ (คุณคือสมาธิ) ดังนี้. และชื่อว่าขันธ์โดยฐานะเป็นบัญญัติ เหมือนในข้อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ (มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ) ลอยตามกระแสแม่น้ำคงคาไป๒- ดังนี้. ชื่อว่าขันธ์ในฐานะโดยความเป็นคำติดปาก เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า จิต มโน มานัส วิญญาณ วิญญาณขันธ์ อันใด๓- ดังนี้. ____________________________ ๒- สํ. สฬายตนวคฺค เล่ม ๑๘/ข้อ ๓๒๕/หน้า ๒๒๖. ๓- อภิ. วิ เล่ม ๓๕/ข้อ ๒๙๔/หน้า ๑๙๓. ขันธ์นี้นั้น ทรงประสงค์เอาโดยฐานะว่ากองในอธิการนี้ เพราะชื่อว่าอรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถว่าเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นแท่ง เป็นกอง ฉะนั้น พึงทราบว่าขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นกอง ดังนี้ แม้จะกล่าวว่า อรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (คือเป็นส่วน) ดังนี้ ก็ควร เพราะคนทั้งหลายในโลกกู้หนี้เขามาแล้ว เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ก็พูดว่า พวกเราจักให้ ๒ ขันธ์ (๒ ส่วน) ๓ ขันธ์ (๓ ส่วน) ดังนี้ แม้การกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นโกฏฐาส คือเป็นส่วน ดังนี้ก็ควร ด้วยประการฉะนี้ คำว่า รูปขันธ์ ในสุตตันต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประมวลรูปทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งรูปมีประเภทอย่างนี้ คือ ส่วนแห่งรูป ๒๕#- และส่วนแห่งรูป ๙๖##- ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง มีรูปที่เกิดแต่อดีต อนาคตและปัจจุบันเป็นต้น โดยพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่ารูปขันธ์ ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ____________________________ #- รูป ๒๕ คือ อายตนะภายในและภายนอก ๑๐ และสุขุมรูป ๑๕. ##- รูป ๙๖ คือ กรรมชรูปได้แก่จักขุทสกะ โสต ฆาน ชิว กายทสก อิตถีภาวทสก ปุริสภาวทสก รวม ๗๐ และสุทธัฏฐกรูป ๘ เกิดแต่ จิต อุตุ อาหารรวม ๒๔ สัททรูป ๒ เกิดแต่จิตและอุต. อนึ่ง ทรงประมวลเวทนานั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่าเวทนาขันธ์. และทรงประมวลสัญญานั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งสัญญาอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่าสัญญาขันธ์. และทรงประมวลสังขารนั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่าสังขารขันธ์. และทรงประมวลวิญญาณนั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งจิตอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า จักขุวิญ อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการแห่งขันธ์ ๕ นี้ รูปแม้ทั้งหมดที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ (คือกรรม จิต อุตุ อาหาร) ชื่อว่ารูปขันธ์. เวทนาที่เกิดพร้อมกับจิต ๘๙ มีกามาวจรกุศลจิต ๘ เป็นต้น ชื่อว่าเวทนาขันธ์. แม้สัญญาก็ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้นก็ชื่อว่าสังขารขันธ์. จิต ๘๙ ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ พึงทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ ๕ แม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อธิบายรูปขันธ์ พึงทราบวินิจฉัยในขันธวิภังค์นั้น ดังนี้ บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น. บทว่า กตโม เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา. บทว่า รูปกฺขนฺโธ (รูปขันธ์) เป็นบทแสดงธรรมที่ทรงปุจฉา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกรูปขันธ์นั้นในบัดนี้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ กิญฺจิ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นบทที่ทรงถือเอาโดยไม่เหลือ. บทว่า รูปํ (รูป) เป็นบทกำหนดธรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ แม้ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นอันทรงทำการกำหนดเอารูปโดยไม่มีส่วนเหลือ. ถามว่า ในรูปขันธ์นั้น ธรรมที่ชื่อว่ารูป ด้วยอรรถว่ากระไร? ตอบว่า ที่ชื่อว่ารูป ด้วยอรรถว่าย่อยยับ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวกเธอจึงเรียกว่ารูปเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล ฉะนั้นจึงเรียกว่ารูป รูปย่อมย่อยยับเพราะอะไร? ย่อมย่อยยับเพราะความเย็นบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความร้อนบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความหิวบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะความระหายบ้าง ย่อมย่อยยับเพราะสัมผัสเหลือบ ยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลานบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ารูป ดังนี้. ในพระดำรัสเหล่านั้น คำว่า กึ เป็นการณปุจฉา (ถามถึงเหตุ) อธิบายว่า พวกเธอเรียกรูปด้วยเหตุอะไร คือชื่อว่ารูปนั้น ด้วยเหตุอะไร. อิติศัพท์ในบทว่า รุปฺปติ นี้เป็นศัพท์ยกเหตุขึ้นแสดง. อธิบายว่า เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับ ฉะนั้นจึงชื่อว่ารูป. ก็บทว่า รุปฺปติ มีอธิบายว่า รูปย่อมกำเริบ อันปัจจัยย่อมกระทบ อันปัจจัยย่อมเบียดเบียน ย่อมแตกสลาย โดยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้ รูปเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอรรถว่าย่อยยับไป ด้วยประการฉะนี้ แม้จะกล่าวว่า ชื่อว่ารูป ด้วยลักษณะที่ย่อยยับไป ดังนี้ก็ควร เพราะรูปนี้มีการย่อยยับเป็นลักษณะ. อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า รูปย่อมย่อยยับไปเพราะความเย็นบ้าง ดังนี้ ว่าด้วยความเย็นก่อน ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏในโลกันตริกนรก. จริงอยู่ นรกหนึ่งๆ ในระหว่างทุกๆ สามจักรวาล มีประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งภายใต้ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนไม่มีพระจันทร์พระอาทิตย์ ไม่มีดวงประทีป ไม่มีแสงสว่างแห่งแก้วมณี มืดมิดเป็นนิตย์ ชื่อว่าโลกันตริกนรก อัตภาพของสัตว์ผู้เกิดในโลกันตริกนรกนั้นมีประมาณ ๓ คาวุต สัตว์เหล่านั้นจะมีเล็บทั้งหลายที่ยาวหนาเกาะที่เชิงเขา ห้อยหัวลงดุจค้างคาว เมื่อใดมันเขยิบตัวไปถึงหัตถบาสของกันและกัน เมื่อนั้น พวกมันก็จะสำคัญว่า พวกเราได้อาหารแล้วต่างก็พากันขวนขวายในสิ่งที่ตนว่าเป็นอาหารนั้น จึงไล่ตามกันไปรอบๆ แล้ว พลัดตกลงไปในน้ำที่รองแผ่นดิน เมื่อถูกลมเย็นพัดกระหน่ำอยู่ มันก็จะขาดตกลงในน้ำ เหมือนผลมะซางสุกฉะนั้น. พอตกลงเท่านั้น มันก็มีหนังเอ็นเนื้อ กระดูกถูกน้ำกรดเย็นกัดทำลายเป็นชิ้นๆ เหมือนก้อนแป้งที่เขาใส่ในน้ำมันเดือด ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏในโลกันตริกนรก ด้วยความเย็นอย่างนี้. ความย่อยยับแห่งรูปนี้ปรากฏในประเทศทั้งหลายที่มีความเย็นเกิดแต่หิมะตก แม้มีแคว้นชื่อว่ามหิสกะเป็นต้นก็เหมือนกัน เพราะสัตว์ทั้งหลายในประเทศนั้นมีร่างกายถูกความเย็นทำลายตัดขาดแล้วย่อมถึงแม้ความสิ้นชีวิต ดังนี้. ว่าด้วยความร้อน ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในอเวจีมหานรก. จริงอยู่ ในอเวจีมหานรกนั้น สัตว์นรกย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ในเวลาต้องกรรมกรณ์มีการให้นอนลงบนพื้นแผ่นดินโลหะที่ร้อนแล้วจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ อย่างเป็นต้น. ว่าด้วยความหิว ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต) และในเวลาเกิดทุพภิกขภัย. จริงอยู่ พวกสัตว์ในกำเนิดเปรต ชื่อว่าเอามือถืออามิสอย่างใดอย่างหนึ่งใส่เข้าไปในปากมิได้มีตลอด ๒-๓ พุทธันดร ภายในท้องเป็นเหมือนต้นไม้มีโพรงที่ไฟติดทั่วแล้ว ในเวลาเกิดทุพภิกขภัย ชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้แม้เพียงน้ำข้าวแล้วถึงความตายไป นับประมาณมิได้. ว่าด้วยความระหาย ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในอสุรกายทั้งหลายมีกาลกัญชิกาสูรเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในพวกกาลกัญชิกาสูรเป็นต้นนั้น ย่อมไม่อาจได้หยาดน้ำเพียงยังหทัยให้ชุ่ม หรือเพียงให้เปียกลิ้นสิ้น ๒-๓ พุทธันดร แม้บางพวกที่ไปถึงแม่น้ำด้วยคิดว่า พวกเราจัดดื่มน้ำดังนี้ น้ำนั้นก็แห้งถึงความสำเร็จเป็นทรายแห่งแม่น้ำไป แม้บางพวกที่แล่นไปถึงมหาสมุทร มหาสมุทรก็กลายเป็นหินดาด สัตว์เหล่านั้นจึงซูบซีดถูกทุกข์มีกำลังบีบคั้นท่องเที่ยวไป. ได้ยินว่า กาลกัญชิกาสูรตนหนึ่งไม่สามารถทนความระหายได้จึงลงไปยังแม่น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างหนึ่งโยชน์ ในที่กาลกัญชิกาสูรนั้นลงไปแล้ว น้ำก็แห้งเป็นควันพลุ่งขึ้นเหมือนเดินบนหินดาดอันร้อนจัดฉะนั้น. เมื่ออสุรกายนั้นได้ยินเสียงน้ำจึงวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่นั่นแหละ ราตรีสว่างแล้ว. ในขณะนั้น พวกภิกษุ ๓๐ รูป ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรกำลังเที่ยวภิกขาจาร แต่เช้าตรู่เห็นเขาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนสัปบุรุษ ท่านเป็นใคร? อสุรกายนั้นตอบว่า กระผมเป็นเปรต ขอรับ. พวกภิกษุ : ท่านแสวงหาอะไร? อสุรกาย : น้ำดื่ม ขอรับ. พวกภิกษุ : แม่น้ำนี้เต็มฝั่ง ท่านไม่เห็นหรือ? อสุรกาย : ท่านขอรับ มันไม่สำเร็จแก่กระผม. พวกภิกษุ : ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนอนลงตรงหลังแม่น้ำเถิด พวกอาตมาจักเทน้ำลงในปาก อสูรนั้นตอบว่า ท่านขอรับ ถ้าว่า น้ำมีเพียงฟายมือจากน้ำที่เทลงด้วยบาตร ๓๐ ใบ ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย เพราะความระหาย ด้วยประการฉะนี้. ความที่รูปย่อยยับเพราะสัมผัสเหลือบเป็นต้น ปรากฏแล้วในประเทศทั้งหลายที่มากด้วยเหลือบและยุงเป็นต้น. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำว่า เหลือบ ได้แก่ แมลงวันหัวเหลือง. คำว่า มกสา ได้แก่ ยุงนั่นแหละ. คำว่า ลม พึงทราบด้วยอำนาจแห่งลมมีลมในท้องและลมในเบื้องหลังเป็นต้น. จริงอยู่ โรคลมเกิดขึ้นในร่างกายแล้วย่อมทำลายมือ เท้าและเบื้องหลังเป็นต้น ย่อมทำให้เป็นคนบอด ย่อมทำให้เป็นคนง่อย เป็นคนเปลี้ย. บทว่า อาตโป (แดด) ได้แก่ ความร้อนของดวงอาทิตย์ ความที่รูปย่อยยับไปด้วยความร้อนนั้นปรากฏแล้วในทางกันดาร มีทะเลทรายเป็นต้น. ได้ยินว่า มีหญิงคนหนึ่งล้าหลังพวกเกวียนในเวลาราตรีในทะเลทราย เมื่อพระอาทิตย์โคจรไปถึงกลางวัน ไม่สามารถจะวางเท้าที่ทรายกำลังร้อนได้ จึงยกกระเช้าลงจากศีรษะเหยียบ เมื่อไม่อาจยืนบนกระเช้า เพราะความร้อนยิ่งก็วางผ้าสาฎกบนกระเช้านั้นแล้วเหยียบ แม้ผ้าสาฎกนั้นร้อนทั่วแล้ว ก็จับลูกน้อยที่อุ้มมาให้นอนคว่ำเหยียบบนลูก คำว่า สิริสปฺปา (สัตว์เลื้อยคลาน) ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายมีตัวยาวอย่างใดอย่างหนึ่งแล่นเลื้อยไป ความที่รูปย่อยยับไปเพราะสัมผัสแห่งสัตว์เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจในเวลาที่ถูกอสรพิษขบเอาเป็นต้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะรวมรูปแม้ทั้งหมดซึ่งมี ๒๕ และ ๙๖ ส่วนที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง) เข้าในส่วนแห่งรูปที่เป็นอดีตเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ (รูปเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน) ดังนี้ ต่อจากนั้น ทรงประสงค์จะจัดรูปนั้นนั่นแหละกระทำให้เป็นทุกะ ๔ ทุกะมีอัชฌัตตทุกะเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา (รูปภายในหรือรูปภายนอก) ดังนี้ ต่อจากนั้น เมื่อจะทรงประมวลรูปนั้นแม้ทั้งหมดที่ทรงกำหนดไว้ใน ๑๑ ส่วนแสดงรวมเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำว่า ตเทกชฺฌํ (รูปนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเทกชฺฌํ แยกออกเป็น ตํ เอกชฺฌํ. บทว่า อภิสญฺญูหิตฺวา แปลว่า ประมวลมา. บทว่า อภิสงฺขิปิตฺวา ได้แก่ ทำการย่อ คำนี้ ตรัสอธิบายไว้ว่า ก็รูปมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตเรียกว่ารูปขันธ์ เพราะรวมเป็นกองเดียวกันในภาวะอย่างเดียวกัน กล่าวคือความเป็นรูปที่ย่อยยับไปเป็นลักษณะ ดังนี้. ด้วยคำอธิบายนี้ ย่อมเป็นอันตรัสรูปแม้ทั้งหมดในลักษณะแห่งการย่อยยับไปนี้ว่า ชื่อว่ารูปขันธ์ เพราะความเข้าถึงความเป็นกอง ดังนี้ เพราะขึ้นชื่อว่ารูปขันธ์อื่น นอกจากรูปหามีไม่. ก็รูปฉันใด ธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็ชื่อว่าเวทนาขันธ์เป็นต้นฉันนั้น เพราะความเข้าถึงความเป็นกองในลักษณะมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะเป็นต้น เพราะขึ้นชื่อว่าเวทนาขันธ์เป็นต้นอื่นนอกจากเวทนาเป็นต้น หามีไม่. ว่าด้วยรูปเป็นอดีตเป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตถ เป็นบทสัตตมีวิภัตติในมาติกาตามที่ทรงจัดตั้งไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง คำนี้ตรัสอธิบายว่า คำว่า รูปอดีต ที่ตรัสไว้ในมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า อตีตานา บททั้งหลายมีคำเป็นอาทิว่า อตีตํ นิรุทฺธํ รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นคำที่ตรัสไว้ในการพรรณนาบทภาชนีย์อตีตติกะแห่งนิกเขปกัณฑ์นั่นแหละ. คำว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้เป็นคำแสดงสภาวะของรูปที่ตรัสว่า อดีต ดังนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วฉันใด คำที่กล่าวไว้ในที่ทุกแห่งก็พึงทราบฉันนั้น. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง อีกนัยหนึ่ง ข้อว่า อตีตํเสน สํคหิตํ (รูปที่สงเคราะห์เข้าโดยส่วนอดีต) ได้แก่ รูปที่สงเคราะห์โดยส่วนอดีตนั่นแหละ ทำการนับได้ มีอยู่. ถามว่า รูปอะไร? ตอบว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบอรรถในที่ทั้งปวงอย่างนี้. แม้บทอธิบายรูปที่เป็นอนาคตและปัจจุบันก็มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ว่าด้วยรูป ๒ อย่าง รูปโดยปริยายแห่งพระสูตร ๑ รูปโดยนิเทศพระอภิธรรม ๑. ว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ทรงกำหนดรูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันนั้นไว้ด้วยภพ. จริงอยู่ รูปที่เกิดในภพอดีตจำเดิมแต่ปฏิสนธิ (ในภพปัจจุบัน) หรือรูปที่เกิดแล้วในภพถัดไป หรือรูปที่เกิดแล้วในภพที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่ารูปอดีต ทั้งนั้น. รูปที่จะเกิดในภพอนาคตจำเดิมแต่จุติแล้ว หรือรูปที่จะเกิดในภพถัดไป หรือรูปที่จะเกิดในที่สุด แห่งภพแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่ารูปอนาคต ทั้งนั้น. รูปที่กำลังเป็นไประหว่างจุติปฏิสนธิ (ตั้งแต่เกิดถึงตายในภพปัจจุบัน) ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. ส่วนในนิเทศแห่งพระอภิธรรม ทรงกำหนดรูปด้วยขณะ ด้วยว่าขณะแห่งรูปมี ๓ อย่าง คืออุปปาทขณะ (ขณะเกิด) ฐิติขณะ (ขณะตั้งอยู่) ภังคขณะ (ขณะดับ) รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้วดับไป หรือรูปที่ดับในขณะใกล้ๆ หรือรูปดับในขณะที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่ารูปอดีตนั่นแหละ รูปที่ยังไม่ถึงขณะทั้ง ๓ หรือยังไม่ถึงลักขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง หรือยังไม่ถึงขณะในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่ารูปอนาคตนั่นแหละ แต่รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้ว ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. ในปริยายแห่งพระสูตรและในนิเทศแห่งพระอภิธรรมนั้น แม้รูปนี้จะเป็นการจำแนกตามพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า รูปที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน สำเร็จแล้วโดยนิเทศแห่งพระอภิธรรมเท่านั้น ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง เพราะว่า รูปนี้ชื่อว่ารูปอดีต โดยส่วนทั้ง ๔ ด้วยอำนาจอัทธา ๑ สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑ เป็นรูปอนาคตและเป็นรูปปัจจุบันก็โดยส่วนทั้ง ๔ เหมือนกัน. ว่าด้วยอำนาจอัทธาก่อน รูปในกาลก่อนแต่ปฏิสนธิในภพหนึ่งของบุคคลคนหนึ่ง ชื่อว่ารูปอดีต รูปในบั้นปลายแต่จุติ ชื่อว่ารูปอนาคต รูปในระหว่างทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. ว่าด้วยอำนาจสันตติ รูปที่มีอุตุเดียวกัน มีส่วนเสมอกันเป็นสมุฏฐาน และรูปที่มีอาหารอย่างเดียวกันเป็นสมุฏฐาน แม้กำลังเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจเกิดสืบต่อมาแต่เบื้องต้น ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกับสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนแต่รูปปัจจุบันนั้น ชื่อว่ารูปอดีต รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกันเป็นสมุฏฐานเกิดหลังปัจจุบัน ชื่อว่ารูปอนาคต. จิตตชรูป (คือรูปเกิดแต่จิต) มีวิถีเดียวกัน มีชวนะเดียวกันและสมาบัติเดียวกัน ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. จิตตชรูปที่เกิดก่อนรูปปัจจุบันนั้น ชื่อว่ารูปอดีต. จิตตชรูปที่เกิดหลังรูปปัจจุบัน ชื่อว่ารูปอนาคต. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานไม่มีประเภทอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจสันตติอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่พึงทราบประเภทรูปอดีตเป็นต้นของรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นด้วยอำนาจเป็นรูปอุปถัมภ์อุตุชรูป อาหารชรูป จิตตชรูปเหล่านั้นนั่นแหละ. ว่าด้วยอำนาจสมัย รูปที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจการสืบต่อในสมัยทั้งหลายมีครู่ ยาม เวลาเช้า เวลาเย็น กลางคืนและกลางวันเป็นต้นแต่ละอย่าง สมัยนั้นๆ ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนแต่สมัยนั้น ชื่อว่ารูปอดีต. รูปที่เกิดหลังสมัยนั้น ชื่อว่ารูปอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะ รูปที่นับเนื่องด้วยขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้น ชื่อว่ารูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนขณะทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่ารูปอดีต รูปที่เกิดหลังขณะทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่ารูปอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่มีกิจแห่งเหตุและปัจจัยผ่านไปแล้ว ชื่อว่ารูปอดีต รูปที่มีกิจแห่งเหตุสำเร็จแล้วแต่กิจแห่งปัจจัยที่ยังไม่สำเร็จ ชื่อว่ารูปปัจจุบัน รูปที่มีกิจทั้ง ๒ ยังไม่มาถึง ชื่อว่ารูปอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่เป็นไปในขณะกิจของตน ชื่อว่ารูปปัจจุบัน รูปที่เป็นไปก่อนกิจของตนนั้นชื่อว่ารูปอดีต รูปที่จะเป็นไปในภายหลังกิจของตนนั้น ชื่อว่ารูปอนาคต. ก็ในนิเทศแห่งรูปที่เป็นอตีตติกะนี้ กถาว่าด้วยขณะเป็นต้นเป็นกถาไม่อ้อมค้อม (โดยตรง) ที่เหลือยังมีปริยายอ้อมค้อม ในกถาทั้ง ๒ เหล่านั้น นิปปริยายกถา (กถาไม่อ้อมค้อม) ทรงประสงค์เอาในสุตตันตภาชนีย์นี้. แม้นิเทศแห่งบทรูปหมวดอัชฌัตตทุกะมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งอัชฌัตติกะในหนหลังนั่นแหละ. รูปหยาบเป็นต้นมีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการพรรณนารูปกัณฑ์นั่นแล. ว่าด้วยนิเทศแห่งรูปหีนทุกะ (ข้อที่ ๖) บทว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ (ของสัตว์นั้นๆ) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติเป็นไปในสัตว์มาก เพราะเมื่อตรัสอยู่ว่า ของสัตว์แม้อื่น ของสัตว์แม้อื่น ดังนี้ ตรัสอยู่ตลอดวันก็ดี ตลอดแสนกัปก็ดี ก็ย่อมตรัสด้วยพระดำรัส (ว่าของสัตว์นั้นๆ) มีประมาณเท่านี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงกำหนดเอาสัตว์โดยไม่เหลือด้วยบททั้ง ๒ เท่านั้น จึงตรัสว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ ดังนี้. ก็ด้วยบทมีประมาณเท่านี้ย่อมสำเร็จการแสดงถึงสัตว์อื่นๆ แม้ทั้งหมด. บทว่า อุญฺญาตํ (ที่น่าดูหมิ่น) คือ ที่เขาสบประมาท. บทว่า อวมญฺญาตํ (น่าเหยียดหยาม) คือ รูปที่เขาเย้ยหยัน ซึ่งใครๆ รู้แล้วก็ไม่ประกาศว่ารูปบ้าง. บทว่า หีฬิตํ (น่าเกลียด) คือ รูปที่เขาขว้าง ที่เขาทิ้งด้วยอรรถว่าไม่ควรถือเอา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า รูปที่น่าเกลียด ดังนี้ก็มี. บทว่า ปริภูตํ (น่าตำหนิ) คือ รูปที่เขาตำหนิด้วยคำพูดว่า ประโยชน์อะไร ด้วยรูปนี้เล่า ดังนี้. บทว่า อจิตฺตีกตํ๑- (ไม่น่ายกย่อง) คือ รูปที่ไม่น่าเคารพ. บทว่า หีนํ (ทราม) คือ รูปที่ลามก. บทว่า หีนมตํ (รู้กันว่าทราม) คือ รูปที่เขารู้กันว่าเลว ได้แก่รูปที่เขากระทำให้ลามกรู้กัน. บทว่า หีนสมฺมตํ (สมมตกันว่าทราม) คือ รูปที่เขาสมมตกันในโลกว่าชั่วช้า หรือรูปที่คนเลวทรามรู้จักกันดี เหมือนคูถที่สัตว์มีคูถเป็นอาหารรู้จักกันดี. บทว่า อนิฏฺฐํ (ไม่น่าปรารถนา) คือรูปที่ไม่น่ารัก หรือรูปที่เขาไม่แสวงหาเพื่อต้องการจะได้ ถ้าใครๆ จะพึงแสวงหารูปนั้น ก็พึงแสวงหาเถิด แต่ว่า รูปที่ไม่น่าปรารถนานี้แหละเป็นชื่อของอารมณ์นั้น. บทว่า อกนฺตํ (ไม่น่ารัก) คือรูปที่ไม่น่าปรารถนา หรือหาสิริมิได้. บทว่า อมนาปํ (ไม่น่าชอบใจ) คือรูปที่ไม่ชุ่มชื่นใจ. ____________________________ ๑- บาลีเป็น อจิตีกตํ. จริงอยู่ รูปเช่นนั้นย่อมไม่ชุ่มชื่นใจ. อีกอย่างหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า มนํ อปฺปายติ วฑฺเฒตีติ มนาปํ น มนาปํ อมนาปํ แปลว่า รูปใดย่อมยังใจให้เอิบอาบ คือให้ใจเจริญ เพราะเหตุนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่ามนาปะ (ยังใจให้เอิบอาบ) รูปที่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ ชื่อว่าอมนาปะ. อีกอย่างหนึ่ง รูป ชื่อว่าไม่น่าปรารถนา เพราะเว้นจากสมบัติ รูปที่ไม่น่าปรารถนานั้นมีอกุศลกรรมเป็นสมุฏฐานโดยส่วนเดียว ในบรรดารูปทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ที่ชื่อว่า อกนฺตํ (รูปที่ไม่น่ารัก) เพราะไม่มีเหตุแห่งความสุข. ที่ชื่อว่า อมนาปํ (รูปที่ไม่น่าชอบใจ) เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์. บทว่า รูปา สทฺทา (รูปเสียง) เป็นต้นนี้เป็นคำแสดงสภาวะของรูปทรามนั้น. จริงอยู่ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่ไม่น่าปรารถนาด้วยสามารถแห่งรูปที่เกิด นิเทศแห่งบทรูปประณีต พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว แต่ในบทนี้ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจแห่งรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม. เพราะรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม ชื่อว่าเป็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาย่อมไม่มี รูปทั้งหมดน่าปรารถนาทั้งนั้น. ก็ในรูปเกิดแต่กรรมฉันใด แม้ในรูปทั้งหลายที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมมีความเป็นรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกเฉพาะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ไว้ในทุกะนี้ ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นกถามีอรรถเสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายก่อน. ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่พระองค์ทรงจำแนกไว้เฉพาะส่วนเดียวไม่มี พระองค์ทรงตรัสธรรมนั้นไว้ด้วยอำนาจความชอบใจของสัตว์นั้นๆ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจแล อาตมากล่าวว่าเป็นยอดในเบญจ ดูก่อนมหาบพิตร รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของบุคคลบางคน รูปเหล่านั้นไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากนั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา. ดูก่อนมหาบพิตร เสียงเหล่าใด ... กลิ่นเหล่าใด ... รสเหล่าใด ... โผฏฐัพพะเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นที่พอใจของคนบางคน ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน๒- ดังนี้เป็นต้น. ____________________________ ๒- สํ. สคาถวคฺค. เล่ม ๑๕/ข้อ ๓๖๑/หน้า๑๑๗. (เนื้อความในอรรถกถาหายไปมาก) ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ เพราะบุคคลคนหนึ่งย่อมชอบใจ ย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ เขาย่อมยังความโลภให้เกิดขึ้นในรูปเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลคนหนึ่งย่อมโกรธ ย่อมขัดเคือง ย่อมยังโทสะให้เกิดขึ้นในรูปเป็นต้นเหล่านั้น รูปเป็นต้นเหล่านั้นย่อมน่าปรารถนา ย่อมรักใคร่ ย่อมชอบใจแก่คนบางคน แต่ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจแก่คนบางคน. อนึ่ง บางคนย่อมยึดถือโดยความเคารพว่า รูปเหล่านี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ แต่อีกคนหนึ่งถือเอารูปเหล่านั้นนั่นแหละโดยไม่เคารพ ด้วยคิดว่ารูปเหล่านี้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ดังนี้ ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่ารูปที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่ทรงจำแนกเฉพาะโดยเฉพาะจึงไม่มี. จริงอยู่ แม้ไส้เดือนทั้งหลายก็ย่อมเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของพวกบุคคลผู้อยู่ปัจจันตประเทศ แต่ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจอย่างยิ่งของพวกที่อยู่ในมัชฌิมประเทศ อนึ่ง เนื้อของนกยูงเป็นต้นย่อมเป็นสิ่งน่าปรารถนาของบุคคลผู้อยู่ในมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่เป็นที่เกลียดชังของบุคคลนอกนี้ ดังนี้. พึงถามท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็ท่านกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ารูปที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐา เมื่อเขากล่าวว่าไม่มี ก็จะพึงกล่าวว่า อย่าเลยด้วยนิพพานของท่าน เมื่อบุคคลนั้นกล่าวสรรเสริญนิพพานอยู่ต่อไป ก็โกรธเอามืออุดหูทั้ง ๒ เสีย ดังนี้ มิใช่หรือ? ก็ด้วยอำนาจความข้อนี้ นิพพานในวาทะของท่านจะชื่อว่า เป็นอนิฏ ถามว่า พระองค์ทรงจำแนกด้วยอำนาจใคร? ตอบว่า ด้วยอำนาจของสัตว์ผู้ปานกลาง. จริงอยู่ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นี้ พระองค์มิได้ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งอิสรชนผู้ใหญ่ยิ่งเช่นพระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามหาสุทัสสนะและพระเจ้าธรรมาโสกราชเป็นต้น เพราะชนเหล่านั้นมีอารมณ์แม้ควรเป็นทิพย์ ที่ไม่น่าพึงใจปรากฏอยู่ ทั้งมิได้ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้มีทุกข์ แต่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมดาว่าอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์กำหนดได้ด้วยอำนาจวิบากเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดด้วยอำนาจชวนจิต แต่ชวนจิตย่อม จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ หรือเห็นอารมณ์อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นย่อมปิดตาเสีย ย่อมถึงโทมนัส ฟังเสียงแสดงธรรมก็ย่อมอุดหูเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น วิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณและโสตวิญญาณเป็นต้นของพวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น. สัตว์ทั้งหลายกินคูถมีสุกรเป็นต้นสูดกลิ่นคูถแล้ว ก็เกิดความดีใจว่า เราจักได้เคี้ยวกิน ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในการเห็นคูถ จักขุวิญญาณของพวกมันก็เป็นอกุศลวิบากเท่านั้น ในการสูดกลิ่น ฆานวิญญาณของมันก็เป็นอกุศลวิบาก ในการลิ้มรส ชิวหาวิญญาณของมันก็เป็นอกุศลวิบากนั่นแหละ สุกรที่ถูกมัดให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐย่อมส่งเสียงร้องดัง แต่โทมนัสของมันย่อมเกิดในชวนจิตเท่านั้นด้วยสัญญาวิปลาส กายวิญญาณของมันย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะความที่อารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่อารมณ์น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา แม้ด้วยอำนาจทวาร. จริงอยู่ กองคูถที่เป็นดังโคลนเลนมีสัมผัสเป็นสุข เป็นอนิฏฐารมณ์ในจักขุทวารและฆานทวาร เป็นอิฏฐารมณ์ในกายทวาร. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิถูกโบยด้วยแก้วมณี ถูกทำให้สะดุ้งบนหลาวทองคำ แก้วมณีและหลาวทองคำเป็นอิฏฐารมณ์ในจักขุทวาร เป็นอนิฏฐารมณ์ในกายทวาร. เพราะเหตุไร? เพราะการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ใหญ่. อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้ย่อมกำหนดด้วยวิบากเท่านั้นโดยส่วนเดียว. ในคำว่า ตํ ตํ วา ปน (ได้แก่ ตังตังวาปนกนัย)๓- นี้บัณฑิตไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง เพราะในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงแยกอรรถให้เข้าใจด้วยสมมติ๔- ทรงแยกให้เข้าใจด้วยบุคคล เพราะฉะนั้นด้วยอำนาจตังตังวาปนกนัยนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสความที่รูปทรามและรูปประณีต เพราะอาศัยการเปรียบเทียบ โดยเฉพาะบุคคล. จริงอยู่ รูปของพวกสัตว์นรก ชื่อว่ารูปทรามถึงที่สุด เพราะเทียบกับรูปของพวกสัตว์นรกนั้น รูปของนาคและสุบรรณในสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ชื่อว่าประณีต. รูปของนาคและสุบรรณเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปเปรต รูปเปรตทั้งหลาย จึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของเปรตเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปชาวชนบทนั้น รูปของชนชาวชนบทจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของชนชาวชนบทเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปนายบ้าน รูปของนายบ้านทั้งหลายจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของพวกนายบ้านเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของเจ้าประเทศราช รูปของเจ้าประเทศราชทั้งหลายจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของเจ้าประเทศราชเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปพระเจ้าจักรพรรดิ รูปของพระเจ้าจักรพรรดิจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของภุมเทวดา รูปของพวกภุมเทวดาจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของพวกภุมเทวดาเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปท้าวจาตุมหาราช รูปของท้าวจาตุมหาราชจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ รูปของพวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงชื่อว่าประณีต. ฯลฯ ก็รูปของพวกเทพชั้นอกนิษฐ์ ชื่อว่าประณีตถึงที่สุด. ____________________________ ๓- หมายถึงนัยที่กล่าวสรุปเนื้อความเฉพาะเรื่องนั้นๆ ๔- คำว่า สมมติ ก็คือปัญญัติแต่กว้างมาก ส่วนบุคคลเป็นเฉพาะอุปาทาบัญญัติในพระอภิธรรม คำว่า บุคคล กับคำว่า สัตว์ เป็นไวพจน์กัน. ว่าด้วยนิทเทสแห่งทูรทุกรูป รูปที่เป็นอิตถินทรีย์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในหนหลังนั่นแหละ แต่ในทุกะนี้ ตรัสสุขุมรูป (รูปละเอียด) ว่าเป็นทูเรรูป (รูปไกล) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ยาก ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ยาก ตรัสโอฬาริกรูป (รูปหยาบ) ว่าเป็นสันติเกรูป (รูปใกล้) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ง่าย ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประกอบว่า รูปนี้ เรียกว่ารูปไกล แม้ในที่ทรงประกอบอันมีกวฬิงการาหารเป็นที่สุดนั่นแหละ เพราะเหตุไร? เพราะชื่อว่ารูปไกล มี ๒ อย่าง คือไกลโดยลักษณะและไกลโดยโอกาส. ในรูปไกลทั้ง ๒ นั้น มิได้ตรัสคำว่า รูปไกลไว้โดยลักษณะ แต่ตรัสรูปไกลนั้นไว้โดยโอกาส เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า รูปไกลไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประสงค์จะแสดงโอฬาริกรูปว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยํ วา ปนญฺญํปิ (ก็หรือว่า รูปแม้อื่นใดมีอยู่). แม้ในนิเทศแห่งสันติกบท ก็มีนัยนี้แหละ. ในพระบาลีนั้น บทว่า อนาสนฺเน แยกบทเป็น น อาสนฺเน ได้แก่ ในที่ไม่ใกล้เคียง. บทว่า อนุปกฏฺเฐ แปลว่า ในที่ไม่ใกล้ชิด. บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า อสนฺติเก แปลว่า ในที่ไม่ใช่ใกล้. บทว่า อิทํ วุจฺจติ รูปํ ทูเร (นี้เรียกว่ารูปไกล) นี้ ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียกว่ารูปไกลโดยลักษณะ แต่ตรัสโอฬาริกรูป ๑๐ อย่างเรียกว่ารูปไกลโดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย นิเทศแห่งสันติกบทมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. บทว่า อิทํ วุจฺจติ รูปํ สนฺติเก (นี้เรียกว่ารูปใกล้) นี้ตรัสโอฬาริกรูป ๑๐ อย่าง เรียกว่ารูปใกล้โดยลักษณะ แต่ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียกว่ารูปใกล้โดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย. ถามว่า ก็รูปที่ชื่อว่าใกล้และไกลด้วยอำนาจโอกาสตั้งแต่ไหน?. ตอบว่า เมื่อบุคคลพูดอยู่ด้วยถ้อยคำปรกติ ๑๒ ศอก ชื่อว่าอุปจาร คือใกล้ต่อการฟัง รูปภายในแห่งอุปจารคือใกล้ต่อการฟังนั้น ชื่อว่ารูปใกล้ เกินจากนั้นไปชื่อว่ารูปไกล. บรรดารูปใกล้และไกลนั้น สุขุมรูปมีอยู่ในที่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลแม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส แต่สุขุมรูปที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าเป็นรูปใกล้โดยโอกาสเท่านั้น ไม่ชื่อว่าใกล้โดยลักษณะ. โอฬาริกรูปที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าเป็นรูปใกล้แม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส. โอฬาริกรูปที่มีอยู่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว ไม่ใช่ไกลโดยลักษณะ. ในคำว่า ตํ ตํ วาปน นี้ไม่พึงดูนัยที่มีข้างต้น เพราะนัยข้างต้นเป็นนัยที่ทรงแยกเสร็จแล้ว แต่ในที่นี้มิได้ทรงแยกรูปไกลโดยลักษณะ ทรงแยกรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว เพราะทรงแสดงรูปไกลและใกล้โดยการเทียบเคียงกันในขันธวิภังคนิเทศนี้. จริงอยู่ รูปของตน ชื่อว่ารูปใกล้ รูปของคนอื่นแม้เกิดภายในท้อง ก็ชื่อว่ารูปไกล. รูปของคนอื่นที่เกิดในท้อง ชื่อว่ารูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นที่อยู่ภายนอก ชื่อว่ารูปไกล. รูปของบุคคลอื่นผู้นอนเตียงเดียวกัน ชื่อว่ารูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นผู้ยืนอยู่ภายนอกหน้ามุข ชื่อว่ารูปไกล รูปภายในบริเวณ ชื่อว่ารูปใกล้ รูปภายนอกบริเวณ ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในสังฆาราม ชื่อว่ารูปใกล้ รูปภายนอกสังฆาราม ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในสีมา ชื่อว่ารูปใกล้ รูปนอกสีมา ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในเขตบ้าน ชื่อว่ารูปใกล้ รูปนอกเขตบ้าน ชื่อว่ารูปไกล. รูปในภายในชนบท ชื่อว่ารูปใกล้ รูปภายนอกชนบท ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในรัชสีมา ชื่อว่ารูปใกล้ รูปนอกรัชสีมา ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในสมุทร ชื่อว่ารูปใกล้ รูปภายนอกสมุทร ชื่อว่ารูปไกล. รูปภายในจักรวาล ชื่อว่ารูปใกล้ รูปภายนอกจักรวาล ชื่อว่ารูปไกล ดังนี้. ๒. เวทนาขันธนิเทศ (บาลีข้อที่ ๘) ข้าพเจ้าจักเว้นบทเหมือนกับบทที่กล่าวไว้ในหนหลังแล้วพรรณนาเฉพาะบทที่ยังมิได้พรรณนาเท่านั้น. บทว่า ยา กาจิ เวทนา (เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ทรงถือเอาเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า สุขา เวทนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเพื่อแสดงเวทนาอธิบายไว้ด้วยอำนาจเวทนาอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น สุขเวทนาทางกายและสุขเวทนาทางใจมีอยู่ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจก็มีอยู่เหมือนกัน. ส่วนอทุกขมสุขเวทนาที่ตรัสว่าเป็นไปทางกายโดยปริยายหมายถึงกายคือประสาทมีจักขุเป็นต้นมีอยู่ เป็นไปทางใจก็มีอยู่. ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นไปทางกายแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร ทุกขเวทนาทางใจก็เป็นกามาพจรเหมือนกัน แต่สุขเวทนาเป็นไปทางใจเป็นไปในภูมิ ๓ อทุกขมสุขเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ พึงทราบความที่เวทนาแม้มีประการทั้งหมดนั้นเป็นอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจสันตติและด้วยอำนาจขณะเป็นต้น. บรรดาเวทนาเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจสันตติ เวทนาที่นับเนื่องในวิถีเดียวกัน ในชวนะเดียวกัน ในสมาบัติเดียวกัน และเป็นไปโดยประกอบในอารมณ์เดียวกัน ชื่อว่าเวทนาปัจจุบัน เวทนาก่อนปัจจุบัน ชื่อว่าเวทนาอดีต เวทนาหลังปัจจุบัน ชื่อว่าเวทนาอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะเป็นต้น เวทนาที่นับเนื่องด้วยขณะทั้ง ๓ คือเวทนาที่ถึงท่ามกลางของเบื้องต้น และเบื้องปลายและกำลังทำกิจของตนอยู่ ชื่อว่าเวทนาปัจจุบัน เวทนาก่อนนั้น ชื่อว่าเวทนาอดีต เวทนาหลังปัจจุบันนั้น ชื่อว่าเวทนาอนาคต. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำนิเทศนี้หมายเอาความที่เวทนาอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจขณะเป็นต้น. ว่าด้วยนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด บทว่า อกุสลา เวทนา (อกุศลเวทนา) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยชาติ. บทว่า ทุกฺขา เวทนา โอฬาริกา (ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงเวทนาหยาบและละเอียดโดยสภาวะ. บทว่า อสมาปนฺนสฺส เวทนา (เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยบุคคล. บทว่า สาสวา (เวทนาที่มีอาสวะ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยโลกิยะและโลกุตระ. บรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอกุศลก่อนชื่อว่าเป็นเวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่ารำคาญใจ และด้วยอรรถว่ามีทุกข์เป็นวิบาก. เวทนาที่เป็นกุศลชื่อว่าเวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความกระวนกระวายและด้วยอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก เวทนาที่เป็นอัพยากฤตชื่อว่าเวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความอุตสาหะและด้วยอรรถว่าไม่มีวิบาก. เวทนาที่เป็นกุศลและเวทนาที่เป็นอกุศลชื่อว่าเวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่ามีอุตสาหะและด้วยอรรถว่ามีวิบาก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤตชื่อว่าเวทนาละเอียด โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ทุกขเวทนาชื่อว่าเวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าไม่มีความยินดีและด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์. สุขเวทนาชื่อว่าเวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่ามีความยินดีและด้วยอรรถว่าเป็นสุข. อทุกขมสุขเวทนาชื่อว่าเวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าสงบและด้วยอรรถว่าประณีต. สุขและทุกขเวทนาชื่อว่าเวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าหวั่นไหวและด้วยอรรถว่าแผ่ออกไป. จริงอยู่ แม้สุขเวทนาก็ย่อมหวั่นไหวย่อมแผ่ออกไป แม้ทุกขเวทนาก็เหมือนกัน เพราะสุขเวทนาเมื่อเกิดย่อมยังสรีระทั้งสิ้นให้หวั่นไหว ให้กระเพื่อม ให้ชุ่มฉ่ำ ให้มัวเมา ให้ยินดีเกิดขึ้น ดุจรดอยู่ด้วยหม้อน้ำเย็น. ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้นย่อมเป็นดุจเวลาที่ใส่ภาชนะร้อนไว้ภายในและดุจเอาคบเพลิงหญ้าเผาอยู่ภายนอกเกิดขึ้น. แต่อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่าเวทนาละเอียดโดยนัยที่กล่าวแล้ว. ก็เวทนาของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ ชื่อว่าเวทนาหยาบ เพราะความที่บุคคลนั้นมีจิตซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ เวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ชื่อว่าเวทนาละเอียด เพราะบุคคลนั้นประพฤติในนิมิตมีอารมณ์สงบ. เวทนามีอาสวะชื่อว่าเวทนาหยาบ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะเป็นเหตุ ขึ้นชื่อว่าวาระแห่งอาสวะ ย่อมเป็นสภาพหยาบอย่างเดียว. เวทนาไม่มีอาสวะ ชื่อว่าเวทนาละเอียด โดยปริยายตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว. ว่าด้วยมติของอาจารย์ อาจารย์รูปหนึ่งย่อมไม่ทำลาย อย่างไร? ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวทนาติกะว่า สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกข แม้พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในกุศลติกะว่า กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาชื่อว่าเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาชื่อว่าเวทนาละเอียด ดังนี้ พระดำรัสนั้น อาจารย์รูปหนึ่งก็คัดค้านว่า อัพยากตเวทนาทั้งหมดไม่ใช่เวทนาละเอียด เพราะอัพยากตเวทนานั้นเป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็มี. บรรดาอัพยากตเวทนา ๓ ชนิดนั้น อัพยากตเวทนาที่เป็นสุขและเป็นทุกข์เป็นเวทนาหยาบ อัพยากตที่เป็นอทุกขมสุขเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร? เพราะความที่อัพยากตเวทนานั้นมาในพระบาลีในเวทนาติกะ ด้วยอาการอย่างนี้ เวทนาติกะเป็นอันอาจารย์นั้นรักษาแล้ว แต่ทำลายกุศลติกะ. ก็อาจารย์ผู้ไม่เหลียวแลดูเวทนาติกะในที่แห่งกุศลติกะมาแล้ว ไม่แลดูกุศลติกะในที่แห่งเวทนาติกะมาแล้ว กล่าวซึ่งความที่เวทนาหยาบและเวทนาละเอียด โดยลักษณะแห่งกุศลติกะของธรรมมีกุศลเป็นต้น โดยลักษณะแห่งเวทนาติกะของเวทนามีสุขเป็นต้น ชื่อว่าย่อมไม่ทำลาย. อีกอย่างหนึ่ง ในพระดำรัสที่ตรัสในกุศลติกะว่า เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้นั่น อาจารย์รูปหนึ่งย่อมกล่าวว่า เวทนาที่เป็นกุศลแม้เป็นโลกุตร บรรดานัยเหล่านั้น มีนัยที่พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ อาจารย์ผู้กล่าวโดยทำนองนี้ว่า ก็เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศล เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจรและโลกุตรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจรและโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ชื่อว่าย่อมไม่ทำลาย. แต่พระจุฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ในอกุศลไม่ควรยกชื่อเวทนาว่าหยาบและละเอียด เพราะอกุศลนั้นเป็นสภาพหยาบโดยส่วนเดียวเท่านั้น แม้ในโลกุตระก็ไม่ควรยกความที่เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบและละเอียด เพราะโลกุตระนั้นเป็นสภาวะละเอียดโดยส่วนเดียว ดังนี้. พวกอันเตวาสิกได้นำถ้อยคำนี้มาบอกแก่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้. ฝ่ายพระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระสัมมา บทว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ ไม่พึงเพ่งถึงนัยข้างต้น บัณฑิตพึงกล่าวด้วยอำนาจแห่งตังตังวาปนกนัย เท่านั้น. จริงอยู่ เวทนาที่เป็นอกุศลมี ๒ อย่าง คือ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะและเวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะ ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะก็มี ๒ อย่าง คือ นิยตเวทนา อนิยตเวทนา. บรรดาเวทนาทั้ง ๒ นั้น นิยตเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด. อนึ่ง นิยตเวทนาคือเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาไม่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปถ้าเป็นอสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะก็มี ๒ อย่าง คือทิฏฐิคตสัมปยุตและทิฏฐิวิปยุต. ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ถ้าเป็นนิยตะก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นอนิยตะก็เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดแม้นั้น ถ้าเป็นอสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด. ว่าโดยย่อ เวทนาใดถึงอกุศลแล้วให้วิบากมาก เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากน้อยเป็นเวทนาละเอียด ส่วนเวทนาที่ถึงกุศลให้วิบากน้อยเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากมากเป็นเวทนาละเอียด. ในกุศล ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลนั้นก็เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เป็นอรูปาวจรกุศลก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นโลกุตรกุศลก็เป็นเวทนาละเอียด. นัยนี้โดยไม่ต่างกันในภูมิทั้ง ๔ ก่อน. แต่ว่าโดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรมี ๓ อย่างด้วยอำนาจแห่งทานมัย สีลมัย ภาวนามัย. บรรดาเวทนาทั้ง ๓ นั้น เวทนาที่สำเร็จด้วยการให้ทานเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลนั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาแม้นั้นก็มี ๒ อย่าง คือเป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒) และติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ใน ๒ อย่างนั้น เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ เป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาประกอบด้วยเหตุ ๓ ก็มี ๒ อย่างโดยเป็นสสังขาริกและอสังขาริก. ในบรรดาเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด. ในรูปาวจร เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับกุศลในทุติยฌาน ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตมรรคเป็นเวทนาละเอียด. ในวิบาก ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด. นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน. แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากที่เป็นอเหตุกะ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ) มีอยู่ ที่เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ) ก็มีอยู่ แม้เวทนาที่เป็นสเหตุกะก็มี ๒ คือ เวทนาที่เป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒) มีอยู่ ที่เป็นติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ก็มีอยู่. ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นสเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นสเหตุกะแม้นั้น ที่เป็นทุเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นติเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. แม้ในเวทนาที่เป็นติเหตุกะนั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นวิบากของทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด ฯลฯ ที่เป็นวิบากของจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับสกทาคามิผล ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตผลเป็นเวทนาละเอียด. ในบรรดากิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เวทนาที่เป็นกิริยาในกามาวจรเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปวจรแม้นั้นก็ยังหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด. นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน. แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน ในกามาวจรกิริยาที่ทรงแยกไว้ด้วยอำนาจเวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นต้น เวทนาที่เป็นอเหตุกกิริยาเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นสเหตุกกิริยาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นทุเหตุกกิริยาแม้นั้นก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นติเหตุกิริยาเป็นเวทนาละเอียด. ในเวทนาที่เป็นติเหตุกกิริยาแม้นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในตติยฌาน ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาใดหยาบ เวทนานั้นทราม. เวทนาใดละเอียด เวทนานั้นประณีต. ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ (บาลีข้อ ๑๓) เวทนาเป็นอกุศล ชื่อว่าเวทนาไกล จากเวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากต ด้วยอรรถว่าไม่เสมอกันและด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาพไกล ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. จริงอยู่ แม้ว่าคน ๓ คนผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้นและพร้อมด้วยเวทนามีทุกข์เป็นต้น นั่งในเตียงเดียวกันไซร้ เวทนาเหล่านั้นของบุคคลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่าไกลกันนั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเวทนาไม่เสมอกันและด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่าเวทนาใกล้ ด้วยอรรถว่ามีส่วนเสมอกันและด้วยอรรถว่าเหมือนอกุศล บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาวะใกล้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถ้าบุคคล ๓ คน ผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนามีอกุศลเป็นต้น คนหนึ่งเกิดในกามภพ คนหนึ่งเกิดในรูปภพ คนหนึ่งเกิดในอรูปภพ เวทนาเหล่านั้นของบุคคลแม้เหล่านั้น ชื่อว่าเวทนาใกล้กันทั้งนั้น ด้วยอรรถว่าเสมอกันและด้วยอรรถว่าคล้ายกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนามีกุศลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึงกล่าวด้วยอำนาจตังตังวาปนกนัยนั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยกเวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่เป็นอกุศลมี ๒ อย่างคือเวทนาที่สหรคตด้วยโลภะและสหรคตด้วยโทสะ. ในเวทนา ๒ เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่าเวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่าเวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ, แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่าเวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ ชื่อว่าเวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะที่เป็นนิยตะ๑- ชื่อว่าเวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่าอนิยตะ เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็นเวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้นๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่าเป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริกและเวทนาอันต่างด้วยธรรมมีทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล. ____________________________ ๑- คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก. ๓. สัญญาขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๑๔) บทว่า ยา กาจิ สญฺญา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา สญฺญา (สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงสัญญาที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสัญญาที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บรรดาสัญญาเหล่านั้น สัญญาที่เกิดแด่จักขุสัมผัส หรือในจักขุสัมผัส ชื่อว่าจักขุสัมผัสสชา. แม้ในสัญญาที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็ในสัญญา ๖ เหล่านี้ สัญญา ๕ อย่างข้างต้นมีจักขุปสาทเป็นต้นเป็นที่อาศัยเกิดโดยเฉพาะ มโนสัมผัสสชาสัญญา (สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส) มีหทยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง สัญญาแม้ทั้งหมดจึงชื่อว่าเป็นไปในภูมิ ๔. พึงทราบวินิจฉัยในโอฬาริกทุกนิเทศ. บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺสชา สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส ความว่า ผัสสะที่กระทำจักขุปสาทเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะให้เป็นที่อาศัยเกิดปรารภรูปเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น ชื่อว่าปฏิฆสัมผัส. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัสนั้น หรือเกิดในปฏิฆสัมผัสนั้น ชื่อว่าปฏิฆสัมผัสสชา. แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆ จริงอยู่ สัญญานี้ ตรัสเรียกว่า สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆะ เพราะอาศัยวัตถุที่เป็นสัปปฏิฆะ (เป็นไปกับด้วยการกระทบ) และปรารภอารมณ์ที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น. แม้คำว่า มโนสัมผัสสชา นี้ก็เป็นชื่อของปฏิฆ แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) สัญญาที่เป็นไปในปัญจทวาร ชื่อว่าสัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆ ในข้อนี้มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้. ได้ยินว่า หญิง ๒ คนกำลังนั่งกรอด้ายในบ้าน ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปเที่ยวไปในบ้าน รูปหนึ่งเดินข้างหน้า ได้แลดูหญิงคนหนึ่ง หญิงนอกนี้ถามหญิงนั้นว่า เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุหนุ่มนี้จึงแลดูเธอดังนี้ นางตอบว่า ภิกษุนี้ไม่แลดูฉันด้วยจิตที่เป็นวิสภาคารมณ์ แต่แลดูด้วยสำคัญว่าเป็นน้องสาว ดังนี้ เมื่อภิกษุทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแล้วก็มานั่ง ณ โรงฉัน ภิกษุนอกนี้จึงถามภิกษุนั้นว่า ท่านแลดูหญิงคนนั้นหรือ. ท่านตอบว่า ขอรับกระผมแลดู. ท่านแลดูเพื่อประโยชน์อะไร? ภิกษุนั้นตอบว่า กระผมแลดูเธอด้วยคิดว่า เธอคล้ายน้องสาวของผม ด้วยอาการอย่างนี้ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร บัณฑิตพึงทราบว่า แม้ใครๆ แลดูแล้วก็พึงทราบได้ ดังนี้ ก็สัญญานี้นั้นมีปสาทวัตถุเท่านั้น แต่อาจารย์บางพวกแสดงว่า เพราะสัญญานั้นเป็นไปด้วยชวนะดังนี้. สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวารเป็นสัญญาละเอียด เพราะความที่สัญญานั้นอันบุคคลพึงถามบุคคลอื่นแม้นั่งเตียงเดียวกัน หรือตั่งเดียวกันว่า ท่านคิดหรือตรึกอะไร ดังนี้ จึงทราบได้ด้วยอำนาจแห่งคำบอกของบุคคลนั้น. คำที่เหลือเช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแล. ๔. สังขารขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๐) บทว่า เย เกจิ สงฺขารา (สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) นี้ ทรงกำหนดสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนา (เจตนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงสังขารที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา (เกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำว่า เจตนา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเป็นประธานสังขารทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย เพราะสังขาร ๔ มาในพระบาลีเกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณ โดยที่สุดทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ซึ่งบรรดาสังขารเหล่านั้น เจตนาชื่อว่าเป็นประธาน เพราะปรากฏด้วยอรรถว่าเป็นตัวกระทำ เพราะฉะนั้น เจตนานี้เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว ก็สังขารที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้นย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้ว ก็เพราะเจตนานั้น พระองค์ทรงถือเอาแล้วนั่นแหละ แม้ในที่นี้ เจตนา ๕ ข้างต้นมีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดอย่างเดียว เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสมีหทยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง เจตนาทั้งหมดเป็นเจตนาเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนเวทนาขันธ์นั่นแล. ๕. วิญญาณขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๖) บทว่า ยํ กิญฺจิ วิญฺญาณํ (วิญญาณอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือวิญญาณอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุวิญญาณ) เป็นต้น พระองค์ตรัสเพื่อทรงแสดงวิญญาณที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในพระบาลีนี้ วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้นเป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว. มโนวิญญาณมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง วิญญาณทั้งหมดเป็นวิญญาณเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนกับเวทนาขันธ์นั้นแล. ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ ๑๖ อย่าง โดยการเกิดครั้งแรก (สมุคฺคมโต) ๑ โดยการเกิดก่อนและหลัง (ปุพฺพาปรโต) ๑ โดยกำหนดกาล (อทฺธานปริจฺเฉทโต) ๑ โดยการเกิดขณะเดียวกันดับต่างขณะกัน (เอกุปฺปาทนานานิโรธโต) ๑ โดยการเกิดต่างขณะดับพร้อมกัน (นานุปฺปาทเอกนิโรธโต) ๑ โดยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน (เอกุปฺปาทเอกนิโรธโต) ๑ โดยเกิดไม่พร้อมกันดับไม่พร้อมกัน (นานุปฺปาทนานานิโรธโต) ๑ โดยเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน (อตีตานาคตปจฺจุปนฺนโต) ๑ โดยเป็นธรรมภายในและภายนอก (อชฺฌตฺติกพาหิรโต) ๑ โดยเป็นสภาพหยาบและละเอียด (โอฬาริกสุขุมโต) ๑ โดยเป็นธรรมทรามและประณีต (หีนปณีตโต) ๑ โดยเป็นธรรมไกลและใกล้ (ทูรสนฺติกโต) ๑ โดยปัจจัย (ปจฺจยโต) ๑ โดยสมุฏฐาน (สมุฏฺฐานโต) ๑ โดยความสำเร็จ (ปรินิปฺผนฺนโต) ๑ โดยเป็นของปรุงแต่ง (สงฺขตโต) ๑. ว่าโดยการเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕ บรรดาการเกิด ๒ อย่างนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์อย่างนี้. จริงอยู่ ขันธ์ ๕ ของพวกคัพภไสยกสัตว์ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่หลังไม่ก่อนกันในขณะปฏิสนธิ. ข้อนี้ท่านกล่าวว่า ความสืบต่อแห่งรูป กล่าวคือกลละที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นของนิดหน่อยมีเพียงแมลงวันตัวน้อยจะพึงดื่มได้ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น แล้วยังกล่าวอีกว่า นั่นก็ยังมากเกินไป คือมันเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของเข็มละเอียดที่เขาจุ่มในน้ำมันแล้วยกขึ้น ดังนี้. แม้หยาดน้ำมันนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อเขาจับผมเส้นหนึ่งยกขึ้นจากน้ำมันแล้วก็เป็นเพียงหยาดน้ำที่ไหลออกตรงปลายผมเส้นนั้น ดังนี้ แม้หยาดน้ำนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อผ่าเส้นผมของมนุษย์ชาวชนบทนี้ออกเป็น ๘ ส่วน เส้นผมของชาวอุตตรกุรุทวีปมีประมาณเท่าส่วนหนึ่งแต่ ๘ ส่วนนั้น กลละนั้นก็เป็นเพียงหยาดที่ตั้งอยู่ตรงปลายผมของมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นที่เขายกขึ้นจากน้ำมันงาใส ดังนี้ แม้น้ำมันงาใสนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า นั่นก็ยังมาก ธรรมดาขนทรายเป็นธรรมชาติละเอียด กลละนั้นเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของขนเนื้อทรายเส้นหนึ่งที่เขาจุ่มในน้ำมันงาใสแล้วยกขึ้น ดังนี้. ก็กลละนี้นั้นใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ เสมอด้วยหยาดน้ำมันงาใส ข้อนี้สมดังคำที่ท่าน
ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้ ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือวัตถุทสกะ ๑ กายทสกะ ๑ ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและด้วยอำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑. บรรดาสันตติรูปทั้ง ๓ กลุ่มเหล่านั้น รูปนี้คือวัตถุรูป ๑ มหาภูตรูป ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้นและวรรณะ คันธะ รสะ โอชารวม ๔ ที่อาศัยมหา ก็เวทนาที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ชื่อว่าเวทนาขันธ์ สัญญา ... ชื่อว่าสัญญาขันธ์ สังขาร ... ชื่อว่าสังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิตชื่อว่าวิญ ก็ชื่อว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกท่านแสดงไว้โดยมิได้กล่าวถึงประเพณี ๓ นั้น. จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะมีอายตนะบริบูรณ์ คือมีรูปสันตติที่เป็นประธาน ๗ กลุ่ม ได้แก่กรรมชรูปตามที่กล่าวข้างต้น ๓ และจักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ ย่อมเกิดขึ้น. บรรดากรรมชรูป ๗ กลุ่มเหล่านั้น จักขุทสกะเป็นต้นเป็นเช่นกับกายทสกะนั่นแหละ แต่ภาว |