![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ก็ในอายตนะทั้งหมดในที่นี้ พึงทราบความที่อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากตะโดยความเป็นรูป พึงทราบความที่อายตนะ ๒ เป็นกุศลเป็นต้นเหมือนขันธ์ ๔ ในขันธวิภังค์ เพราะขันธ์ ๔ เป็นธรรมมีปัจจัยด้วยเป็นสังขตะด้วยทั้งหมดทีเดียว แต่ธรรมายตนะมาแล้วว่า พึงเป็นอปัจจัยก็มี พึงเป็นอสังขตะก็มี ดังนี้. อนึ่ง ในอารัมมณติกะ ธรรมายตนะเป็นอนารัมมณะ คือเป็นสุขุมรูป ย่อมเข้ากันกับส่วนแห่งอารมณ์ที่เป็น นวัตติพพารัมมณะ (อารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว) ก็ความแปลกกันในอายตนวิภังค์นี้ ดังนี้ คือ ธรรมายตนะนั้นแลเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และธรรมารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพารัมมณะ (คือเป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) โดยไม่เป็นปริตตารมณ์เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันทีเดียว. อายตนะ ๒ แม้ในที่นี้ก็เหมือนขันธ์ ๔ คือคำทั้งหมดว่า เมื่อบุคคลผู้มีจิตยินดี ผู้มีจิตประทุษ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ อายตนวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ จบ. |