![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ ๑- บาลีข้อ ๒๓๖ บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยวิภังค์ต่อจากสัจจวิภังค์นั้น ต่อไป. บทว่า พาวีสติ (๒๒) เป็นบทกำหนดจำนวน. บทว่า อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ทั้งหลาย) เป็นบทอธิบายธรรมที่ทรงกำหนดไว้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงอินทรีย์เหล่านั้นโดยย่อ จึงตรัสคำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ (จักขุนทรีย์) เป็นต้น. ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ ๒๒ ที่ชื่อว่าอิตถินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในความเป็นหญิง. ที่ชื่อว่าปุริสินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในความเป็นชาย. ที่ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการตามรักษา (อนุบาล). ที่ชื่อว่าสุขินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณสุข. ที่ชื่อว่าทุกขินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณทุกข์. ที่ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณโสมนัส. ที่ชื่อว่าโทมนัสสินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณโทมนัส. ที่ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณอุเบกขา. ที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการน้อมใจเชื่อ. ที่ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความเพียร. ที่ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความปรากฏ (ของอารมณ์). ที่ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความไม่ฟุ้งซ่าน. ที่ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการเห็น. ที่ชื่อว่าอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้ซึ่งการดำเนินไปว่า เราจักรู้ทั่วถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ (นี้เป็นโสดาปัตติมรรค). ที่ชื่อว่าอัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรค). ที่ชื่อว่าอัญญาตาวิน ในอินทริยวิภังค์นี้ วรรณนาชื่อว่าสุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้ทรงถือเอา เพราะเหตุไร? เพราะอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ ๒ บาง ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ ก็ชื่อว่า อรรถแห่งอินทรีย์นั่นเป็นอย่างไร. อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่ (จอม) อรรถแห่งอินทรีย์ มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันบุคคลผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดนั้น ย่อมสมควรตามความเหมาะสมในที่นี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นจอม (เป็นใหญ่) เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่าเป็นใหญ่ เพราะในกรรมทั้งหลายไม่มีกรรมอะไรที่มีความเป็นใหญ่กว่า ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในอธิการนี้ อินทรีย์ทั้งหลายอันเกิดพร้อมด้วยกรรมย่อมแสดงซึ่งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลก่อน และอินทรีย์เหล่านั้นอันพระสัมมาสัมพุทธะผู้เป็นจอมนั้นทรงสอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องหมายความเป็นใหญ่ และด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว. อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการเสพแห่งอารมณ์ และบางอย่างก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าอันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้วบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่าอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ กล่าวคือความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้นสำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็อ่อนแล. นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น ก็ลักษณะเป็นต้นเหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง (อรรถ ____________________________ #- อินทรีย์ ๔ คือ ตั้งแต่ข้อ ๑๙ ถึง ๒๒. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า "ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับสุขินทรีย์เป็นต้นนั้น" ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น. เพื่อทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่งข้อปฏิบัติว่า "ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อมปรากฏในตนก่อน" ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ พระองค์ทรงแสดงอัญญินทรีย์ไว้ต่อจากอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น. เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า "การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา (การเจริญ) ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไรๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ย่อมไม่มี" จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้ายแล. นี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกันในอินทรีย์เหล่านี้อย่างนี้. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจ ตอบว่า พึงทราบกิจของจักขุนทรีย์ก่อน เพราะพระบาลีว่า จกฺขฺวายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย๑- (จักขวายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจอินทริย ____________________________ ๑- ในอภิธรรมปัฏฐานเล่ม ๔๐ ข้อ ๑๗ หน้า ๑๐ ใช้คำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ ไม่ใช้คำว่า จกฺขฺวายตนํ นอกนั้นเหมือนกัน. กิจของโสต ฆาน ชิวหาและกายินทรีย์ก็อย่างนั้น. แต่การให้สหชาตธรรมทั้งหลายเป็นไปในอำนาจของตน เป็นกิจของมนินทรีย์. การตามรักษาสหชาตธรรมเป็นกิจของชีวิตินทรีย์. การทรงไว้ซึ่งอาการแห่งนิมิต (เครื่องหมาย) กิริยาอาการและท่าทางของหญิงและชาย เป็นกิจของอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์. การครอบงำสหชาตธรรมแล้วให้ถึงลำดับตามอาการอันหยาบ (โอฬาร) ตามภาวะของตน เป็นกิจของสุข ทุกข โสมนัส โทมนัสสินทรีย์. การให้ถึงอาการมัชฌัตตา (อุเบกขา) อันสงบและประณีต เป็นกิจของอุเปกขินทรีย์. การครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธาเป็นต้น และการให้สัมปยุตธรรม ถึงความเป็นภาวะมีอาการผ่องใสเป็นต้น เป็นกิจของสัทธินทรีย์เป็นต้น. การละสังโยชน์ ๓ (มีทิฏฐิสังโยชน์เป็นต้น) และการทำให้สัมปยุตตธรรมมุ่งหน้าต่อการละสังโยชน์ ๓ นั้น เป็นกิจของอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์. การละทำให้เบาบาง (ตนุกรปหาน) ซึ่งกามราคะ พยาบาทเป็นต้น และการให้สัมปยุตต พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์เหล่านี้โดยกิจด้วยประการฉะนี้. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยภูมิ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เป็นอินทรีย์นับเนื่องในภูมิ ๔. โสมนัสสินทรีย์นับเนื่องด้วยภูมิ ๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาพจร รูปาพจรและโลกุตระ. อินทรีย์ ๓ ในที่สุดเป็นโลกุตระอย่างเดียวแล. พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ว่า ภิกษุ ผู้มากด้วยความสลดใจ ดำรงอยู่ใน อินทรีย์สังวร กำหนดรู้อินทรีย์ทั้งหลายได้แล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ได้แล. ในนิเทศวาร พึงทราบคำทั้งปวงมีอาทิว่า ยํ จกฺขุ จตุนฺนํ มหาภูตานํ (จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔) ดังนี้ โดยนัยที่กล่าวไว้ในบทภาชนะในธรรมสังคณีนั่นแล. อนึ่ง ในนิเทศทั้งหลายมีวิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นต้น พระองค์มิได้ตรัสคำว่า สัมมาวายามะ มิจฉาวายามะ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นต้นไว้ เพราะเหตุไร เพราะเป็นสัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันทั้งหมด). จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อินทริย วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ อินทริยวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ จบ. |