![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ ๒ คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ ๒ คือ สุขินทรีย์และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๒ นั้นเป็นปริตตารัมมณะโดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา มหคฺคตารมฺมณํ (โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ. คำว่า นวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ ๙ แม้ปริตตารัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์และอินทรีย์หมวด ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น. จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วยรูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป. คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ ๔) ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้นไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ. บทว่า มคฺคเหตุกํ (เป็นมรรคเหตุกะ) นี้ ตรัสไว้หมายเอาเหตุที่เป็นสหชาตะ ในเวลาที่วิริยะหรือวิมังสาเป็นใหญ่ เป็นมัคคาธิปติ แต่ในเวลาที่ฉันทะหรือจิตเป็นใหญ่ ก็เป็นนวัตตัพพธรรม. คำว่า ทสินฺทฺริยา สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อุปฺปาทิโน (อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปาทีก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอารูปอินทรีย์ ๗ และวิปากอินทรีย์ ๓ อินทรีย์ ๑๐ ตรัสไว้ในหนหลังพร้อมทั้งโทมนัสสินทรีย์ ในอินทรีย์ ๑๐ เหล่านั้น โทมนัสสินทรีย์ ในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ อินทรีย์ที่เหลือ แม้ในเวลาที่พิจารณานิพพานก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ. คำว่า ตีณินฺทฺริยานิ พหิทฺธารมฺมณานิ (อินทรีย์ ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ) ได้แก่ อินทรีย์ ๓ ที่เป็นโลกุตรินทรีย์. บทว่า จตฺตาริ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้น ปรารภเป็นไปในอัชฌัตตธรรมบ้าง ในพหิทธาธรรมบ้าง. บทว่า อฏฺฐินฺทฺริยา (อินทรีย์ ๘) ได้แก่ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์และอินทรีย์หมวด ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ในบรรดาอินทรีย์ ๘ เหล่านั้น ความเป็นนวัตตัพพารัมมณะ พึงทราบในเวลาแห่งอากิญจัญญายตนะ. ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาพจร อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นอินทรีย์ระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ ปัญหา วรรณนาอินทริยวิภังค์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ อินทริยวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ จบ. |