ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 274อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 291อ่านอรรถกถา 35 / 358อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ปัจจยาการวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ อกุศลนิเทส

               อธิบายอกุศลนิเทศ               
               ปฐมจตุกะ               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอากุศล (ในปัจจยาการ) ก่อน เพราะนิเทศอกุศลนี้ มิได้ทรงตั้งมาติกาเหมือนในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง ซึ่งทรงกระทำกุศลติกะไว้เป็นเบื้องต้นแล้วทรงจำแนกกุศลก่อนโดยลำดับมาติกาที่ทรงตั้งไว้ เพื่อจะทรงจำแนกแสดงองค์ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นตามลำดับที่ทรงตั้งไว้ในมาติกา ด้วยอำนาจอกุศลธรรมว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) เท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน). เนื้อความแห่งพระบาลีนั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.
               อนึ่ง เพราะตัณหาและกามุปาทานย่อมไม่เกิดในขณะแห่งจิตดวงเดียวกันฉะนั้นในที่นี้ เพื่อทรงแสดงอุปาทานที่ได้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ทิฏฺฐิ ทิฏฺฐิคตํ ดังนี้.
               อนึ่ง เพราะในนิเทศแห่งภพ อุปาทานถึงการสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน ดังนี้เป็นต้น เพราะเมื่อตรัสอยู่อย่างนี้ก็จะพึงปรากฏความที่อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน ก็อุปาทานนั้นนั่นแหละย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น.
               ในนิเทศแห่งชาติเป็นต้น เพราะธรรมเหล่านี้มีชาติเป็นต้นเป็นความเกิดเป็นต้นของอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ความที่ฟันหัก ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น จุติ กิริยาที่จุติ ดังนี้
               พระองค์ทรงตั้งวาระที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว ต่อไปก็ทรงแสดงปัจจยาการในวาระที่ ๒ โดยวาระที่ ๑ ในสมัยนั้นแหละ เพื่อทรงแสดงปัจจยาการโดยนัยแม้อื่นอีก จึงไม่ตรัสวาระกำหนดสมัยไว้ต่างหากแล้วทรงทำเทศนาโดยนัยมีอาทิว่า ตสฺมึ สมเย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ในสมัยนั้น.
               บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เว้นผัสสะ นี้ตรัสไว้เพื่อทรงนำผัสสะออกจากนาม เพราะแม้ผัสสะก็นับเนื่องด้วยนาม.
               ในวาระที่ ๓ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานกำลังเป็นไปอยู่ เพราะความที่จักขายตนะเป็นต้นอันรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นค้ำจุนแล้วย่อมปรากฏ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จกฺขฺวายตนสฺส อุปจโย (ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ) เป็นต้น.
               อนึ่ง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ด้วยปัจฉาชาตปัจจัยแม้แก่กรรมชรูปซึ่งกำลังเป็นไปในสมัยนั้น แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ ในวาระที่ ๓ นั้น ทรงถือเอาสันตติ ๒ คือสันตติรูปเกิดแต่กรรมและสันตติรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันตติ ๒ แม้นอกนี้ก็พึงถือเอา เพราะวิญญาณก็เป็นปัจจัยแก่สันตติ ๒ นอกนี้เหมือนกัน.
               ส่วนในวาระที่ ๔ ก็เพราะแม้ในขณะจิตเดียวกัน จักขวายตนะเป็นต้นมีมหาภูตรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีหทยรูปเป็นปัจจัย และอายตนะแม้ทั้งหมดมีเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไปด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัยและสหชาตปัจจัยเป็นต้นตามควร ฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ จกฺขฺวายตนํ ในปัจจยาการนั้น สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยเป็นไฉน? คือจักขวายตนะ.
               ปฐมจตุกนิเทศ จบ.               

               นิเทศจตุกะที่ ๒               
               คำทั้งหมดในจตุกะที่ ๒ ตื้นทั้งนั้น.

               นิเทศจตุกะที่ ๓               
-----------------------------------------------------
               [๒๖๔] ตติยจตุกฺเก ยสฺส สมฺปยุตฺตปจฺจยภาโว น โหติ, ยสฺส จ โหติ,
ตํ วิสุํ วิสุํ ทสฺเสตุํ อิทํ วุจฺจติ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ
นามนฺติอาทิ วุตฺตํ.

               ๓๑๙-๓๒๖] ในจตุกกะที่ ๓ ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจยการใดและมีแก่ปัจจยาการใด เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้นๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า นี้เรียกว่า นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย (อิทํ วุจฺจติ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ นามํ).

-----------------------------------------------------
               ในจตุกะที่ ๓ ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจัยใด ปัจจยาการใดมี เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้นๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสว่า อิทํ วุจฺจติ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ นามํ นี้เรียกว่านามรูป เรียกว่านามสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
               ตติยจตุกนิเทศ จบ.               

               นิเทศจตุกะที่ ๔               
               นิเทศแห่งนามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยในจตุกะที่ ๔ แม้มิได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย" ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ" ดังนี้ ในนิเทศบทอดีตโดยลำดับ นั้นแม้มิได้ตรัส ก็นับว่าเป็นอันตรัสแล้วโดยแท้ เพราะนามใดเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้นแหละ แม้ผัสสะก็เป็นปัจจัยแก่นามนั้นเหมือนกันฉะนี้แล.
               จตุตถจตุกนิเทศ จบ.               

               อนึ่ง พึงทราบนัย ๘ แม้มีสังขารเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่หนึ่งมีอวิชชาเป็นมูลซึ่งจำแนกไว้ ๑๖ วาระ ในจตุกะ ๔ ที่ทรงประกาศในอกุศลจิตดวงที่ ๑ นี้ ส่วนพระบาลีทรงย่อไว้ และพึงทราบว่า ในอกุศลจิตดวงที่หนึ่งนั้นแหละ มี ๙ นัย ๓๖ จตุกะ และ ๑๔๔ วาระ ด้วยประการฉะนี้.
               บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอกุศลจิตที่เหลือ โดยนัยนี้แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน).
               ในพระบาลีนั้น เพราะในจิตที่พรากจากทิฏฐิ ไม่มีอุปาทานเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มอธิโมกข์ซึ่งเป็นนิบาตกระทำให้มั่นคง เป็นดุจอุปาทานเกิดในที่แห่งอุปาทาน. และเพราะในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส แม้ตัณหาที่มีเวทนาเป็นปัจจัยก็ไม่มี ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มบทปฏิฆะที่เป็นกิเลสมีกำลังเป็นดุจตัณหาเกิดในที่ตัณหา ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละ ในที่แห่งอุปาทาน.
               ส่วนในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแม้อธิโมกข์ เพราะไม่มีการตัดสิน ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเป็นกิเลสมีกำลังไว้ในที่แห่งตัณหาลดฐานะแห่งอุปาทานเสีย แต่ในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะมีอธิโมกข์ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยอุทธัจจะซึ่งเป็นกิเลสมีกำลัง ในที่แห่งตัณหา. ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละไว้ ในที่อุปาทาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุสักว่า ความต่างกันในอกุศลทั้งหมด แล้วทรงย่อพระบาลีไว้. ก็ความต่างกันนี้ ทรงแสดงไว้ในนิเทศอธิโมกข์นั้น เป็นนิเทศอธิโมกข์ที่ยังมิได้เคยแสดงมาก่อน. คำที่เหลือมาในภายหลังทั้งนั้น.
               ก็ในนิเทศแห่งอธิโมกข์ มีวินิจฉัยว่า
               ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะอำนาจการตัดสินอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ (การตัดสินใจ) เพราะอรรถว่า น้อมใจไปในอารมณ์นั้น คือถึงความตกลงใจ เพราะไม่มีความสงสัย. อาการที่ตัดสินอารมณ์ ชื่อว่า อธิมุจฺจนา (กิริยาที่ตัดสินใจ) ที่ชื่อว่า ตทธิมุตฺตตา (ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น) เพราะอรรถว่าความน้อมใจไปในอารมณ์นั้น ก็ในจิตทุกดวง พึงทราบประเภทแห่งนัยจตุกะโดยนัยที่กล่าวในปฐมจิต (อกุศล) นั่นแหละ.
-----------------------------------------------------
               เกวลญฺหิ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺเต อุปาทานมูลกสฺส นยสฺส อภาวา อฏฺฐ นยา
ทฺวตฺตึส จตุกฺกานิ อฏฺฐวีสาธิกญฺจ วารสตํ โหตีติ.

               ก็เพราะในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาล้วนๆ ไม่มีนัยที่มีอุปาทานเป็นมูล จึงมี ๘ นัย ๓๒ จตุกกะและ ๑๒๘ วาระ ฉะนี้แล.

               ก็เพราะในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาไม่มีนัย มีอุปาทานเป็นมูลอย่างเดียว จึงมี ๘ นัย ๓๒ จตุกะและเป็น ๑๒๘ วาระ ฉะนี้แล.
-----------------------------------------------------

               อกุศลนิเทศ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปัจจยาการวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ อกุศลนิเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 274อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 291อ่านอรรถกถา 35 / 358อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=4108&Z=5015
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5289
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5289
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :