ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 400อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 416อ่านอรรถกถา 35 / 431อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ปัจจยาการวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ อกุศลมูลกวิบากนิเทส

               อกุศลมูลวิบากนิเทศ (บาลีข้อ ๔๑๖)               
               ว่าด้วยอกุศลวิบากจิต ๗               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอัพยากฤตทั้งหลาย โดยนัยอื่นอีกทีเดียว จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน ดังนี้.
               ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย แม้นี้ ตรัสหมายเอาความเป็นอุปนิสสยปัจจัย.
               จริงอยู่ กุศลมูลย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่กุศลวิบากและอกุศลมูลเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลวิบาก แต่ไม่ควรกล่าวถึงกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกันทีเดียว ฉะนั้น ปัจจัยที่เป็นกุศลมูลและอกุศลมูลนี้ จึงเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัยและกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยเหตุนั้นแหละ ในนิเทศวารจึงไม่จำแนกว่า ตตฺถ กตมํ กุสลมูลํ ในปัจจยาการนั้น กุศลมูลเป็นไฉน ทรงจำแนกว่า ตตฺถ กตโม กุสลมูลปจฺจยา สงฺขาโร ในปัจจยาการนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ดังนี้.
               แม้ในอกุศลวิบากก็นัยนี้เหมือนกัน.
               อนึ่ง ในวิบากนิเทศแม้นี้ ย่อมได้เฉพาะปัจจยจตุกะที่หนึ่งเท่านั้น ดุจในนิเทศแห่งอกุศลมีอวิชชาเป็นมูล แม้ปัจจยจตุกะนั้นก็ทรงแสดงปฐมวารแล้วทรงย่อไว้ ฉะนั้น พึงทราบประเภทแห่งวาระ ในนัยที่มีกุศลเป็นมูลและอกุศลเป็นมูล ด้วยอำนาจจตุกะแต่ละจตุกะในวิปากจิตแต่ละดวง แต่เพราะอวิชชาและกุศลมูล อกุศลมูล ย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นกิริยา ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวปัจจยาการ ด้วยอำนาจกิริยาแล.
               ด้วยประการฉะนี้ ปัจจยาการนี้
                                   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวาทะประเสริฐ
                         ตรัสไว้โดยประเภทมิใช่น้อย ในธรรมที่เป็นอกุศล
                         กุศล และอัพยากฤต ส่วนในวิบากแห่งกุศลและ
                         อกุศล ตรัสไว้อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจ
                         อุปนิสสยปัจจัย เพื่อให้เกิดความแตกฉานแห่ง
                         ปรีชาญาณ ในประเภทธรรมที่เป็นปัจจัย เพราะ
                         เมื่อเว้นลำดับแห่งปริยัติ การฟัง การคิด การปฏิบัติ
                         ย่อมไม่แตกฉานปรีชาญาณ ในปัจจยาการนี้
                         แม้ในกาลไหนๆ ฉะนั้น นักปราชญ์ ผู้มีปัญญา
                         ทรงจำ ควรทำในปัจจยาการนั้น โดยลำดับแห่ง
                         ปริยัติ การฟัง การคิด และปฏิบัติในกาลทุกเมื่อ
                         เพราะกิจอื่นที่ควรทำยิ่งกว่าปัจจยาการนั้น มิได้มี
                         ฉะนี้แล.
               วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ.               

               ก็ปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๒ ปริวรรต คือด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์ และอภิธรรมภาชนีย์เท่านั้น ดังนี้แล.

               ปฏิจจสมุปปาทวิภังคนิเทศ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปัจจยาการวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ อกุศลมูลกวิบากนิเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 400อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 416อ่านอรรถกถา 35 / 431อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=5786&Z=5873
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5415
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5415
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :