บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ โพชฌงค์ ๗ นัยที่หนึ่ง คำว่า ๗ เป็นคำกำหนดจำนวน. คำว่า โพชฺฌงฺคา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือเป็นองค์แห่งพระสาวกผู้ตรัสรู้. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอันใด อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัททวะ (อันตราย) มิใช่น้อย มีการหดหู่ ความฟุ้งซ่าน การตั้งอยู่ (แห่งทุกข์) การพอกพูน (หรือการประมวลมาซึ่งทุกข์) อันมีการยึดมั่นในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิเป็นต้น. คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ย่อมตั้งขึ้นเพื่อทำลายความสืบต่อแห่งกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ย่อมตรัสรู้ ได้แก่ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔. อีกอย่างหนึ่ง... ได้แก่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั่นแหละ. ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้นก็ได้. พระอริยสาวกนี้ใด ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี มีประการตามที่กล่าวมานั้น. แม้เพราะอรรถว่าเป็นองค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ ก็ชื่อว่าโพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา องค์แห่งรถเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า หรือว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้ ฉะนี้แล. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทานี้ว่า ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตรัสรู้. ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมรู้ตาม. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมรู้เฉพาะ. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าย่อมรู้พร้อม ดังนี้ก็ได้. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วยอันดีด้วย ชื่อว่าสัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์คือสตินั่นแหละ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์. (โพชฌงค์ที่เหลือก็เช่นเดียวกัน) บรรดาสัมโพชฌงค์เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์มีการตั้งมั่น (อุปัฏฐานะ) เป็นลักษณะ. ธัมมวิจย ____________________________ ๑- คำว่า ปฏิสังขานะ คือการเพ่งเฉย ในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งโพชฌงค์ ๖ ที่เหลือโดยอาการเป็นกลาง อาจารย์บางพวกได้กล่าวว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ปรุงแต่งศรัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิให้สม่ำเสมอกัน. ในสัมโพชฌงค์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติสัมโพชฌงค์ก่อน เพราะความที่สติสัม ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ว่าไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่านี้ เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และอุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง. จริงอยู่ในโพชฌงค์เหล่านี้ โพชฌงค์ ๓ (ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ) เป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดแล จิตหดหู่ ในสมัยนั้นเป็นกาลสมควรเพื่อการเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้. โพชฌงค์ ๓ (ปัสสัทธิสมาธิ อุเบกขา) เป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยใดแล จิตฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นกาลสมควรเพื่อการเจริญ อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือสติ) ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึงปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือนอำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแลเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง. พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิกํ จะแปลว่า เป็นธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. ท่านอธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี ๗ เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และอุทธัจจะและเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวงดังพรรณนามาฉะนี้แล. สติสัมโพชฌงค์ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญาเพราะประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริงอยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด เพราะเป็นธรรมคล้อยตาม (อนุโลม) ต่อพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถสัจจะและมรรคสัจจะ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติเนปกฺเกน ดังนี้ ปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า เนปักกะ อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยสติและด้วยปัญญา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสงเคราะห์ (ถือเอา) ปัญญาในการจำแนกบทแห่งสตินี้. ตอบว่า เพื่อการแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง. จริงอยู่ สติแม้เว้นจากปัญญาก็เกิดขึ้นได้ สตินั้นเมื่อเกิดพร้อมกับปัญญา ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง เมื่อเว้นจากปัญญา ย่อมทุรพล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาปัญญาด้วย เพื่อแสดงซึ่งความที่โพชฌงค์นั้นเป็นสภาพมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ราชมหาอำมาตย์ ๒ คนพึงยืนอยู่ในทิศทั้งสอง บรรดามหาอำมาตย์สองคนนั้น คนหนึ่งอุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ คนหนึ่งเป็นผู้เดียวเท่านั้นยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในมหาอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจด้วยอำนาจของพระราชบุตรด้วย มหาอำมาตย์คนที่ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรนั้น ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ สติอันเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ สติเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจด้วยอำนาจของตนบ้าง ด้วยอำนาจของพระราชบุตรบ้างฉันใด สติบังเกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญา ก็ย่อมเป็นสภาพมีกำลังฉันนั้น. มหาอำมาตย์คนที่อยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมเป็นผู้ไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ฉันใด สติที่บังเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา ย่อมมีกำลังทราม (ทุรพล) ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาปัญญาด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้. คำว่า จิรกตมฺปิ ได้แก่ วัตรอันกระทำไว้นานๆ ด้วยกายของตนหรือของผู้อื่น หรือว่าได้แก่ กสิณมณฑล หรือกสิณบริกรรม. คำว่า จิรภาสิตมฺปิ ได้แก่ ธรรมกถาอันตั้งอยู่ในวัตตสีสะแม้มากอันตนหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจาไว้นานๆ หรือว่าได้แก่ การวินิจฉัยในกรรมฐาน หรือธรรมกถานั่นแหละอันตั้งอยู่ในวิมุตตายนสีสะ. คำว่า สริตา โหติ ได้แก่ ส่วนแห่งอรูปธรรมอันยังกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นให้ตั้งขึ้นพร้อม เป็นไปทั่วแล้ว ก็ระลึกได้ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. คำว่า อนุสริตา ได้แก่ ระลึกได้บ่อยๆ. คำว่า อยํ วุจฺจติ สติสมฺโพชฺฌงฺโค ได้แก่ สตินี้อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ซึ่งยังโพชฌงค์ที่เหลือให้ตั้งขึ้น อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าสติสัมโพชฌงค์. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำไว้นานๆ วาจาที่กล่าวไว้นานๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้น. คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญาว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญาให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปริวิมํสํ อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือเป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่าความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็นความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าวิริยสัมโพชฌงค์. ปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า อยํ วุจุจติ ได้แก่ ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเรียกว่าปีติสัมโพชฌงค์. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าสมาธิสัมโพชฌงค์. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่นด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่าย่อมตั้งมั่น. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ ๖ ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จซึ่งอาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าอุเปกขาสัมโพช ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไรๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่านกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่างๆ เป็นลักษณะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่งไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้. โพชฌงค์ ๗ นัยที่สอง คำว่า อชฺฌตฺตธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายในมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายอันเป็นภายใน. คำว่า พหิทฺธา ธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายนอกมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายภายนอก. บทว่า ยทปิ ท่านแก้ เป็น ยาปิ (...แม้ใด). บทว่า ตทปิ ท่านแก้ เป็น สาปิ (...แม้นั้น). บทว่า อภิญฺญาย ได้แก่ เพื่อการรู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง. มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่าสัมโพธิ (ความตรัสรู้) ในบทว่า สมฺโพธาย อธิบายว่า เพื่อมรรคผล. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่าวานะ ในบทว่า นิพฺพานาย ตัณหานั้นไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงเรียกว่านิพพาน. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพานนั้น เพื่ออสังขตะ เพื่ออมตธาตุ เพื่อการกระทำให้แจ้ง ดังนี้. แม้ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำว่า กายิกํ วิริยํ ได้แก่ ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้อธิษฐานอยู่ซึ่งการจงกรม. คำว่า เจตสิกํ ได้แก่ ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้ว เว้นกายปโยคอย่างนี้ว่า ตราบใด จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย โดยความไม่ถือมั่นแล้ว เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ดังนี้. คำว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายแห่งขันธ์ทั้ง ๓. คำว่า จิตฺตปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์. พึงทราบวินิจฉัยในอุเปกขาสัมโพชฌงค์ เช่นเดียวกับสติสัมโพชฌงค์นั่นแหละ. ในนัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ ๗ เจือด้วยโลกียะและโลกุตตระ. ส่วนพระเถระในปางก่อนทั้งหลายแสดงแยกไว้ว่า นัยนี้ ปรากฏได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะว่าในอัชฌัตตธรรมเหล่านี้ ธรรมทั้ง ๓ คือสติ ปวิจยะ (ธัมมวิจยะ) อุเปกขาเป็นโลกิยะเท่านั้น เพราะความที่ตน (ธรรมทั้ง ๓) มีขันธ์เป็นอารมณ์. ความเพียรทางกาย (วิริยะ) อันยังไม่บรรลุมรรคก็เช่นกัน (ยังเป็นโลกียะ) ส่วนปีติ สมาธิ อันเป็นอวิตักกอวิจาระเป็นโลกุตตระ ธรรมที่เหลือเจือด้วยโลกิยะและโลกุต เมื่อจะกล่าวว่า ความเพียร แม้อันเกิดขึ้นด้วยปโยคะในการก้าวไป ว่าเป็นโลกิยะ ดังนี้ ก็ไม่หนักใจ. ถามว่า ก็ปีติ สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระในกาลเช่นไร เป็นโลกุตตระเท่านั้น. ตอบว่า ในเบื้องต้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมได้ในกามาวจร. ปีติอันเป็นอวิตักกอวิจาระย่อมไม่ได้. ปีติอันเป็นอวิตักกอวิจาระย่อมได้ในรูปาวจร. ก็แต่ว่าไม่ได้ปีติสัมโพชฌงค์. คำที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่ได้ในอรูปาวจร. ก็ในอธิการนี้ ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่เคยได้ จึงปฏิเสธปีติทั้งหลายอันบุคคลทั้งหลายได้อยู่. คือว่า ปีติสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระนี้ อย่างนี้ เป็นสภาพออกไปแล้วจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จากอรูปาวจรบ้าง ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกุตตระอันเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น. สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมได้ในกามาวจร โดยทำนองเดียวกัน. อนึ่ง สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมไม่ได้. สมาธิอันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมได้ในรูปาวจรและอรูปาวจร. ส่วนสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมไม่ได้. ก็แต่ในอธิการนี้ ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่ได้ จึงปฏิเสธสมาธิแม้อันบุคคลได้อยู่. สมาธินี้อย่างนี้ออกไปจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จากอรูปาวจรบ้าง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้วทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงถือเอาโลกิยะแล้วทำโลกุตตระ พึงถือเอาโลกุตระแล้วทำโลกิยะ ก็ได้. เพราะว่า แม้เวลาเจริญโลกุตตระของสติ ปวิจยะ อุเบกขาในอัชฌัตตธรรม มีอยู่. ในอธิการนี้ มีพระสูตรเป็นอุทาหรณ์ว่า ผู้มีอายุ เราแลย่อมกล่าวอัชฌัตตวิโมกข์ว่า เป็นธรรมสิ้นไปแห่งความยึดมั่นในที่ทั้งปวง อาสวะทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่นอนเนื่องแก่ธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น โลกุตตระทั้งหลายจึงชื่อว่ามีอยู่โดยพระสูตรนี้. ก็แต่ว่า ในกาลใด เมื่อความเพียรอันเป็นไปทางกายซึ่งเกิดขึ้นด้วยจังกมประโยค อันยังไม่สงบนั่นแหละ วิปัสสนาย่อมสืบต่อไปสู่มรรค ในกาลนั้น ความเพียรนั้นจึงเป็นโลกุตตระ. อนึ่ง พระเถระเหล่าใดย่อมกล่าวว่า โพชฌงค์ที่ยกขึ้นมิได้เว้นกสิณฌานทั้งหลาย อานาปานฌานทั้งหลายและพรหมวิหารฌานทั้งหลาย ในวาทะของพระเถระเหล่านั้น ปีติสมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมเป็นโลกีย์แล. โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓ บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมเจริญ คือย่อมให้เกิด ให้บังเกิดยิ่งในสันดานของตนบ่อยๆ. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อันอาศัยวิเวก. บทว่า วิเวโก ได้แก่ วิเวกคือความสงัด. อนึ่ง วิเวกนี้มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก. บรรดาวิเวกเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่าตทังควิเวก. สมาบัติ ๘ ชื่อว่าวิกขัมภนวิเวก. มรรค ชื่อว่าสมุจเฉทวิเวก. ผล ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิวิเวก. พระนิพพาน อันสละซึ่งนิมิตทั้งปวง ชื่อว่านิสสรณวิเวก. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ว่า พระโยคีย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยซึ่งตทังควิเวก อาศัยซึ่งสมุจเฉทวิเวก อาศัยซึ่งนิสสรณวิเวก โดยหมายเอาในคำว่า วิเวก ๕ จึงชื่อว่าอาศัยซึ่งวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีนี้ประกอบเนืองๆ ด้วยการประกอบในการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังควิเวก โดยกิจในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย (อชฺฌาสยโต) แต่ในกาลแห่งมรรค อาศัยซึ่งสมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยซึ่งสมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๕ อย่าง ก็มี. จริงอยู่ อาจารย์เหล่านั้นไม่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นในขณะที่วิปัสสนา มรรคและผลมีกำลังอย่างเดียว ยังยกขึ้นแม้ในกสิณฌาน อานาปานฌาน อสุภฌาน พรหมวิหารฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัส อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก โดยอัชฌาสัยในขณะแห่งวิปัสสนา ฉันใด แม้จะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวก ดังนี้ ก็ควร. ในคำว่า อาศัยซึ่งวิราคะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ วิราคะเป็นต้นก็มีวิเวกเป็นอรรถนั่นแหละ. อนึ่ง โวสสัคคะ (ความสละหรือการถอน) มีเพียง ๒ อย่าง คือปริจาคโวสสัคคะและปักขันทนโวสสัคคะ. ในโวสสัคคะ ๒ นั้น การละกิเลสด้วยสามารถแห่งตทังควิเวกในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิเวกในขณะแห่งมรรค ชื่อว่าปริจาคโวสสัคคะ. การแล่นไปสู่พระนิพพานในขณะแห่งวิปัสสนาโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่ตทงควิเวกนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ. โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในนัยแห่งการพรรณนาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้. จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมสละกิเลสทั้งหลายโดยประการตามที่กล่าวแล้วด้วย ย่อมแล่นไปสู่นิพพานด้วย ฉะนี้. บัณฑิตพึงทราบว่า ก็การที่น้อมไปอยู่ น้อมไปแล้ว ถึงที่สุดอยู่ ถึงที่สุดแล้วด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ (น้อมไปเพื่อสละ) ซึ่งมีการสละเป็นอรรถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุนี้ประกอบเนืองๆ ในการเจริญโพชฌงค์ฉันใด สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงผลซึ่งมีการสละกิเลส อันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ย่อมบรรลุผลอันมีการแล่นไปสู่พระนิพพานอันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วยฉันใด ก็สติสัมโพช แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลายเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระแล. วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ โพชฌงควิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ จบ. |