![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา) แห่งการวางเฉย ชื่อว่ากิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่าอุเบกขา เพราะอรรถว่าย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง. ชื่อว่ากิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่าย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่งอันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่าความเพ่งเล็งยิ่ง. ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่ามัชฌัต นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้. ก็บัณฑิตพึงนับนัยในอภิธรรมภาชนีย์นั้น ด้วยว่าอภิธรรมภาชนีย์นี้ ท่านจำแนกนัยไว้ ๔,๐๐๐ นัย คือในมรรคหนึ่ง มี ๑,๐๐๐ นัย (๑,๐๐๐ x ๔ = ๔,๐๐๐) สำหรับในการถามและตอบรวมโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗. สำหรับในการแยกวิสัชนาทีละข้อ โพชฌงค์ทั้ง ๗ มี ๔ หมวด จัดเป็น ๒๘,๐๐๐ นัย คือโพชฌงค์ ๗ เป็น ๔ ด้วยสามารถแห่งโพชฌงค์แต่ละข้อ. นัยแม้ทั้งหมดนั้นเป็น ๓๒,๐๐๐ นัย โดยนับรวมกับ ๔ นัยแรก. ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนกกุศลทั้งหลายไว้ ๓๒,๐๐๐ นัยเหมือนกัน. แต่เพราะโพชฌงค์ทั้ง วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ โพชฌงควิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์ แจกโพชฌงค์ ๗ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต จบ. |