![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยความมัวเมาในชาติเป็นต้น ก็ในเอกกมาติกานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ชื่อว่าการอาศัยมีอยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในมาติกานี้ว่า ได้แก่ เมื่อชาติมีอยู่ ดังนี้. แม้ในคำว่า เพราะอาศัยโคตรเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. ชื่อว่ามัวเมา ด้วยสามารถแห่งความมัวเมา. อาการแห่งความมัวเมา คือกิริยาที่มัวเมา. ความเป็นแห่งกิริยาที่มัวเมา คือสภาพที่มัวเมา. คำว่า ความถือตัว (มานะ) กิริยาที่ถือตัว (มญฺญนา) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลัง. คำว่า อยํ วุจฺจติ (แปลว่า บุคคลนี้เรียกว่า) ได้แก่ บุคคลนี้นั่นแหละ เมื่อชาติมีอยู่ อาศัยชาตินั้นแล้วมีมานะ (มีความถือตัว) อันถึงซึ่งกิริยาอันมัวเมา อันเกิดขึ้นแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มีความมัวเมาในชาติ ดังนี้. บรรดาวรรณะแม้ทั้ง ๔ เหล่ามีกษัตริย์เป็นต้น (กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) ชื่อว่าความมัวเมานี้นั่นแหละ ย่อมเกิดขึ้น. จริงอยู่ กษัตริย์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติย่อมทำมานะ (ความถือตัว) ว่า บุคคลอื่นเช่นเราย่อมไม่มี กษัตริย์ที่เหลือ (เว้นเรา) ตั้งขึ้นมาในภายหลัง ส่วนเราเป็นกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ ดังนี้. แม้พราหมณ์เป็นต้นก็นัยนี้. แม้ในนิทเทสแห่งความมัวเมาในโคตรเป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้เช่นกัน. เพราะว่าแม้กษัตริย์ ก็ทำมานะ (ถือตัว) ว่า เราเป็นกษัตริย์โกณฑัญญโคตร เป็นกษัตริย์อาทิจจโคตร ดังนี้. แม้พราหมณ์ก็ทำมานะว่า เราเป็นพราหมณ์กัสสปโคตร เราเป็นพราหมณ์ภารทวาชโคตร ดังนี้. แม้แพศย์ แม้ศูทร ก็อาศัยตระกูลวงศ์ของตน แล้วทำมานะ. ชนทั้งหลายผู้เป็นหัวหน้าคณะแม้ทั้ง ๑๘ คณะ ก็ย่อมทำมานะว่า หัวหน้าหมู่โน้นแตกแยกกัน เราไม่แตกแยกกัน ดังนี้เป็นต้น. ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ว่าด้วยความมัวเมาในชีวิต ว่าด้วยความมัวเมาในลาภ ว่าด้วยความมัวเมาในสักการะ ว่าด้วยความมัวเมาในความทำความเคารพ ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า ว่าด้วยความมัวเมาในบริวาร ว่าด้วยความมัวเมาในโภคสมบัติ ว่าด้วยความมัวเมาในวรรณะ ว่าด้วยความมัวเมาในการศึกษา ว่าด้วยความมัวเมาในปฏิภาณ ว่าด้วยความมัวเมาในรัตตัญญู ว่าด้วยความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ว่าด้วยความมัวเมาในอิริยาบท ว่าด้วยความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ ว่าด้วยความมัวเมาในยศ ก็บรรดาประชุมชน ๑๘ พวก ผู้ครองเรือนพวกหนึ่งก็มีหัวหน้าคนหนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราจักแต่งตั้งคนผู้บำรุงเรา เราจักเที่ยวไป. แม้ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) เป็นหัวหน้าคณะมีอยู่ ก็มีความสำคัญตนด้วยสามารถแห่งความเมามัวว่า เราเป็นหัวหน้า ภิกษุทั้งหลายเป็นไปในโอวาทของเราเป็นต้น ชื่อว่าความมัวเมาในยศ. ว่าด้วยความมัวเมาในศีล ว่าด้วยความมัวเมาในฌาน ว่าด้วยความมัวเมาในศิลปะ ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสมานะ (ความถือตัว) อันเป็นไปกับด้วยวัตถุ (สวัตถุกะ) ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงมานะอันไม่มีวัตถุ (อวัตถุกะ) อันกำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตตฺถ กตโม มโท (แปลว่า ในคำเหล่านั้น ความมัวเมา เป็นไฉน) คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล. ปมาทนิทเทส อธิบายความประมาท คำว่า โวสฺสคฺคานุปฺปทานํ แปลว่า การเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป คือการปล่อยจิตไปบ่อยๆ. คำว่า อสกฺกจฺจกิริยตา (แปลว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ) ได้แก่ ชื่อว่าความกระทำโดยไม่เคารพด้วยสามารถแห่งการไม่ทำด้วยความเคารพ คือการเจริญกุศลธรรมทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น หรือว่า ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความเคารพต่อบุคคล หรือว่าต่อไทยธรรม. ความเป็นแห่งการกระทำโดยติดต่อกันไป ชื่อว่าสาตัจจะ. ความไม่ทำโดยติดต่อกัน ชื่อว่าอสาตัจจะ. อาการที่ทำโดยไม่ติดต่อกัน ชื่อว่าอสาตัจจกิริยตา. ความกระทำโดยไม่มั่นคง ชื่อว่าอนัฏฐิตกิริยตา. ในข้อนี้ เปรียบเหมือนตัวกิ้งก่า วิ่งไปหน่อยหนึ่งแล้วหยุดหน่อยหนึ่ง ย่อมไม่วิ่งไปติดต่อกันฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลใดให้ทานครั้งหนึ่ง (วันหนึ่ง) หรือทำการบูชาครั้งหนึ่ง หรือว่าฟังธรรมครั้งหนึ่ง ก็หรือว่าทำสมณธรรมครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ทำต่อไป ย่อมไม่ให้กุศลนั้นๆ เป็นไปติดต่อกัน การทำนั้นของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความกระทำไม่มั่นคง ดังนี้. คำว่า โอลีนวุตฺติตา (แปลว่า ความประพฤติย่อหย่อน) ได้แก่ ชื่อว่าความประพฤติย่อหย่อน เพราะไม่มีความประพฤติแผ่ออกไป กล่าวคือการกระทำไม่ให้ขาดระยะ. คำว่า นิกฺขิตฺตฉนฺทตา (แปลว่า ความทอดทิ้งฉันทะ) ได้แก่ ความที่วิริยะฉันทะในการทำกุศลเป็นสภาพอันเขาทิ้งเสียแล้ว. คำว่า นิกฺขิตฺตธุรํ (แปลว่า ความทอดทิ้งธุระ) ได้แก่ การตัดธุระ คือตัดความเพียรออกไป. อธิบายว่า ความที่บุคคลนั้น มีฉันทะอันมีในใจทอดทิ้งเสียแล้ว. คำว่า อนธิฏฺฐานํ (แปลว่า ความไม่ตั้งใจจริง) ได้แก่ ความไม่มีความตั้งใจเฉพาะในการกุศล. คำว่า อนนุโยโค ได้แก่ การไม่ประกอบความเพียรเนืองๆ. ความเผลอสติ ชื่อว่าความประมาท. ก็คำว่า โย เอวรูโป ปมาโท (แปลว่า ความประมาท...อันใด มีลักษณะเช่นนี้) นี้ เป็นการแสดงอาการโดยความไม่มีขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถและโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใดที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใดแม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย (ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติ บัณฑิตพึงทราบความประมาทนั้นนั่นแหละว่า เป็นอาการสละสติ ดังนี้. ถัมภนิทเทส อธิบายความหัวดื้อ คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้ออันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถฉะนั้น. ครั้นเห็นพระเจดีย์หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติเคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ. สารัมภนิทเทส อธิบายความแข่งดี คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลนี้ ชื่อว่ามีความแข่งดี. ว่าโดยลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า มีสิ่งเปรียบด้วยการกระทำเกินเป็นลักษณะ คือว่า บุคคลใดประกอบด้วยสิ่งใด บุคคลผู้แข่งดีนั้นย่อมกระทำสิ่งนั้นๆ ให้เป็นสองเท่า. เช่น ผู้ครองเรือน บุคคลอื่นตกแต่งหรือตระเตรียมสิ่งของภายในบ้านด้วยวัตถุเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลผู้แข่งดีย่อมจัดแจงสิ่งนั้นสองอย่าง ผู้แข่งดีคนอื่นอีกย่อมจัดแจงสิ่งนั้นเป็นสี่ ผู้อื่นอีกย่อมจัดแจงเป็นแปด ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมจัดแจงเป็น ๑๖. ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) ผู้มีการแข่งดีมีอยู่ เมื่อผู้หนึ่งเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่งด้วยสูตรหนึ่ง ผู้แข่งดีคนอื่นย่อมคิดว่า เราจักเป็นผู้ล้าหลังผู้นั้นดังนี้ จึงเรียน ๒ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนเอา ๓ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียน ๔ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนพระพุทธพจน์ ๕ นิกาย. ก็การเรียนพระพุทธพจน์นั้น ไม่ควรด้วยสามารถแห่งความแข่งดี. เพราะว่าความแข่งดีนั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล เป็นทางยังสัตว์ให้ถึงนรก. แต่ว่า ว่าด้วยสามารถแห่งฝักฝ่ายในกุศล เมื่อบุคคลถวายสลากภัตเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลอื่นควรให้เพิ่มเป็นสอง เมื่อบุคคลถวายสองอย่าง บุคคลอื่นควรถวายเพิ่มเป็นสี่อย่างอย่างนี้สมควร. ก็ครั้นเมื่อภิกษุเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่ง ภิกษุอื่นเรียนเอาสองนิกายด้วยคิดว่า เมื่อเราสาธยายพระพุทธพจน์อยู่ ความผาสุกย่อมมี ดังนี้ก็ควร ฉะนั้น การเรียนพุทธพจน์ให้ยิ่งกว่านั้น เพราะมั่นอยู่ในฝักฝ่ายแห่งกุศลอันเป็นวิวัฏฏะ ก็ควร. อัตริจฉตานิทเทส อธิบายความอยากได้เกินประมาณ ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ภิกษุได้สิ่งใดๆ มา ก็ไม่ยินดีสิ่งนั้นๆ ก็หรือว่า เป็นคฤหัสถ์ย่อมได้สิ่งใดๆ ในบรรดารูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ก็ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้นๆ. คำว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความปรารถนาให้วิเศษขึ้นไป.) ชื่อว่าความอยาก เพราะอำนาจแห่งความปรารถนา. หรือว่า อาการแห่งความอยากนั้นแหละ ชื่อว่ากิริยาที่ปรารถนา. สภาพแห่งความอยากเกินการได้ของตน ชื่อว่าความมักมาก. คำว่า ราคะ เป็นต้น มีอรรถตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ผู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่า ความมักมาก. แม้ความอยากเกินประมาณนี้ ก็เป็นชื่อของความมักมากนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความอยากได้เกินประมาณนี้ ได้แก่ ความไม่สันโดษในลาภของตน และความปรารถนาในลาภของผู้อื่น ข้อนี้มีการอยากได้เกินประมาณเป็นลักษณะ (เป็นเครื่องกำหนด). จริงอยู่ แม้วัตถุอันประณีต อันบุคคลผู้มีความอยากเกินประมาณนั้นได้แล้ว ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าของลามก (ต่ำช้า). แม้วัตถุอันลามกอันบุคคลอื่นได้แล้ว ย่อมปรากฏราวกะว่าเป็นของประณีต. ข้าวยาคูอันสุกแล้วในภาชนะหนึ่ง หรือว่าภัต หรือว่าขนมที่เขาใส่ไว้ในบาตรของตน เป็นราวกะว่าเป็นของลามก. ในบาตรของผู้อื่น ย่อมปรากฏราวกะว่า เป็นของประณีต. อนึ่ง ความอยากเกินประมาณนี้ ย่อมมีแม้แก่บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย. ในข้อนี้พึงทราบเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ต่อไป. เรื่องของผู้มีความโลภเกินประมาณ แม้พระเจ้าพาราณสีก็ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อสุกด้วยถ่านไฟ ดังนี้ จึงทรงพาพระเทวีเสด็จเข้าไปประพาสป่า ทอดพระเนตรเห็นกินนรีนางหนึ่ง ทรงทิ้งพระเทวีเสด็จตามนางกินนรีนั้นไป. พระเทวีจึงเสด็จไปสู่อาศรมบท (บวชเป็นตาปสินี) แล้วกระทำกสิณบริกรรม บรรลุสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ นั่งอยู่ เห็นพระราชากำลังเสด็จมา จึงเหาะขึ้นไปในอากาศได้เสด็จไปแล้ว. เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า
เทวดาได้ทำการเยาะเย้ยพระราชาว่า พระองค์ เมื่อปรารถนานางจันทกินนรี ทรงละทิ้งพระราชธิดาอสิตาภู จึงเสื่อมจากนางทั้งสอง เมื่อโลภเกินไปอย่างนี้ ย่อมทำตนให้เสื่อมไป ดังนี้. เรื่องบุตรเศรษฐี ลำดับนั้น เขาได้มีปริวิตกว่า เราจะรวบรวมทรัพย์ให้มากด้วยทุนทรัพย์นี้ ดังนี้ จึงปรารถนาจะขึ้นเรือไปสู่สมุทรเพื่อไปค้าขาย. ทีนั้นมารดาของเขาได้กล่าวห้ามว่า พ่อ ในตระกูลของเรามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ เจ้าอย่าไปเลย ดังนี้ เขาไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดา เดินไปอยู่นั่นแหละ มารดาจึงไปยืนขวางข้างหน้า ในขณะนั้นแหละ เขาโกรธแล้ว จึงใช้เท้าประหารมารดาให้ล้มลง ด้วยคิดว่า หญิงนี้มายืนขวางหน้าเรา ดังนี้ ได้ทำมารดาให้อยู่ในระหว่าง (ข้ามไป) ไปแล้ว. มารดาลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า พ่อเจ้าอย่าได้สำคัญอย่างนี้ว่า เมื่อเราทำกรรมเห็นปานนี้ในมารดาผู้เช่นกับด้วยเราไปแล้วจักมีความสุข ดังนี้. เมื่อนายมิตตวินทุกะนั้นก้าวขึ้นเรือไปอยู่ เรือแล่นไปถึงวันที่ ๗ ก็หยุด. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกล่าวว่า บุรุษผู้ลามกต้องมีอยู่ในเรือนี้แน่แท้ ท่านทั้งหลายจงจับสลากกัน ดังนี้ สลากที่พวกเขาให้จับอยู่ ก็ตกแก่นายมิตตวินทุกะนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง. มนุษย์เหล่านั้นจึงจับนายมิตตวินทุกะนั้นลอยแพ แล้วจึงแล่นเรือไปในสมุทร. แพของนายมิตตวินทุกะนั้นลอยไปถึงเกาะหนึ่ง เขาเสวยสมบัติอยู่กับด้วยนางเวมานิกเปรตทั้งหลาย แม้ผู้อันนางเวมานิกเปรตทั้งหลายกล่าวอ้อนวอนว่า ขอท่านอย่าไป ดังนี้ เมื่อเขาไปอยู่เห็นสมบัติสองเท่าของสมบัตินั้นก็เสวยอยู่ๆ เป็นไปโดยลำดับ ในที่สุดได้เห็นบุรุษคนหนึ่งมีกงจักรคมกล้าหมุนอยู่ที่ศีรษะ จักรนั้นปรากฏราวกะว่าดอกปทุม. นายมิตตวินทุกะนั้นจึงกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้ดอกปทุมที่ท่านประดับไว้นี้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้. บุรุษนั้นกล่าวว่า ข้าแต่นาย นี้มิใช่ดอกปทุม นี้เป็นกงจักรอันคมกล้า ดังนี้. นายมิตตวินทุกะกล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ลวงข้าพเจ้า ดอกปทุมเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ามิเคยเห็นหรือ ดังนี้แล้วกล่าวว่า ก็ท่านฉาบทาด้วยจันทน์แดง จึงไม่ต้องการให้ดอกปทุมอันเป็นเครื่องประดับนั้นแก่เรา ดังนี้. บุรุษนั้นคิดว่า แม้ชนนี้จักเป็นผู้ทำกรรมเช่นเรานั่นแหละ จึงใคร่จะเสวยผลของกรรมนั้น ดังนี้. ลำดับนั้น บุรุษผู้มีกงจักรอันพัดผันอยู่ที่ศีรษะนั้น จึงกล่าวว่า เอาเถิด เราจักให้ ดังนี้แล้วเอากงจักรใส่ให้บนศีรษะของนายมิตตวินทุกะแล้วไป. พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
เรื่องอำมาตย์ สกํ นิเกตํ อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ ดังนี้ แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็นมลทิน ด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตีข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนีออกมา เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทรามอย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้. มหิจฉตานิทเทส อธิบายความมักมากหรือความหิวกระหาย ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ในการบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่ามีความอยากมากเป็นลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบเหมือนพ่อค้าหาบเร่ (กจฺ จริงอยู่ ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง ๓ ให้อิ่ม ให้เต็ม คือไฟย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทรย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย ดังนี้.
จริงอยู่ บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า. ในข้อนี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ :- เรื่องภิกษุหนุ่ม แม้พระเจ้าติสสมหาราช เมื่อถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตทุกๆ วัน ผู้อันชาวชนบทกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ย่อมเสพเฉพาะที่แห่งเดียวเท่านั้นหรือ (ถวายทานแห่งเดียว) การถวายทานในที่อื่น ย่อมไม่สมควรแก่พระองค์หรือ ดังนี้. ในวันที่ ๒ แต่วันนั้น จึงให้ถวายมหาทานในเมืองอนุราธบุรี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่รู้จักประมาณในการรับ ชนทั้งหลาย ๒-๓ คน ทิ้งขว้างซึ่งขาทนียะโภชนียะที่ภิกษุรูปหนึ่งๆ รับไปแล้ว. พระราชาให้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตในวันที่สอง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงให้บาตรในเวลาที่ท่านทั้งหลายมาสู่พระราชวัง ดังนี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็มิได้ให้บาตร ด้วยคำว่า อย่าเลยมหาราช ภิกษุทั้งหลายจักรับภิกษาโดยประมาณของตนเท่านั้น ดังนี้. ภิกษุทั้งปวงรับซึ่งภิกษาอันสมควรแก่ประมาณของตนนั่นแหละ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูภิกษุเหล่านี้ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย แม้รูปหนึ่ง ก็รู้ประมาณของตน. เมื่อวันวาน วัตถุอะไรๆ ก็มิได้เหลือ แต่วันนี้ ภิกษุถือเอาน้อยพอประมาณแก่ตน ของจึงเหลือมากมาย ดังนี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้นผู้มีใจเป็นของๆ ตน เพราะรู้จักประมาณ ส่วนภิกษุนอกนี้ไม่มีใจเป็นของๆ ตน เพราะความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ. ปาปิจฉตานิทเทส อธิบายความปรารถนาลามก ถามว่า ย่อมแสดงอาการอย่างไร? ตอบว่า ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ในวันมีมหรสพ เธอจะถือเอาไม้กวาดปัดกวาดวิหารและทำการเทหยากเยื่อในเวลาที่พวกมนุษย์มาสู่วิหาร ครั้นทราบว่า การกระทำของเธอ มนุษย์ทั้งหลายรู้แล้ว จึงไปสู่ลานพระเจดีย์ ย่อมเทหยากเยื่อ ย่อมเกลี่ยทรายทำพื้นให้เสมอกัน ย่อมล้างอาสนะทั้งหลาย ย่อมรดน้ำที่ต้นโพธิ์. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเธอแล้วก็สำคัญว่า ภิกษุอื่นที่ปฏิบัติวิหาร เห็นจะไม่มี ภิกษุนี้เท่านั้นเป็นพระเถระผู้มีศรัทธาปฏิบัติวิหารนี้อยู่ ดังนี้ จึงนิมนต์ภิกษุนั้นเพื่อฉันอาหาร. แม้ผู้ทุศีลก็เข้าไปหาพระวินัยธร ย่อมถามในที่พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้นเมื่อกระผมเดินไป โคตกใจแล้ว เมื่อกระผมปัดกวาด โคก็วิ่งเตลิดไปทำให้หญ้าทั้งหลายขาดแล้ว เมื่อกระผมจงกรมอยู่หญ้าทั้งหลายย่อมอับเฉา เมื่อกระผมบ้วนน้ำลายให้ตกไปตัวแมลงเล็กๆ ย่อมตาย การให้น้ำลายตกไปที่หญ้าโดยไม่มีสติ โทษอะไรย่อมมีในที่นั้น ขอรับ ดังนี้. เมื่อพระวินัยธรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อเราไม่รู้ ไม่แกล้ง ไม่เจตนาฆ่าสัตว์ อาบัติย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วกล่าวยกย่องพระวินัยธรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่กระผม ราวกะว่าเป็นของหนัก ท่านย่อมพิจารณาชอบแล้ว ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังถ้อยคำนั้นแล้วเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ย่อมรังเกียจแม้ในเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านจักกระทำกรรมหยาบอื่นได้อย่างไร ภิกษุผู้มีศีลเช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ. แม้ผู้ศึกษาน้อยก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า ภิกษุโน้นทรงพระไตรปิฎก ภิกษุโน้นทรงนิกาย ๔ เป็นอันเตวาสิกของเรา ภิกษุเหล่านี้เรียนธรรมในสำนักของเรา ดังนี้ พวกมนุษย์เลื่อมใสว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของเราไม่มี ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นๆ เรียนธรรมในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าของเรา ดังนี้ จึงทำสักการะ. แม้ผู้ยินดีด้วยหมู่คณะ ในวันที่มีมหรสพ ยังบุคคลให้ถือเอาตั่ง คือที่นั่งยาวและหมอนข้าง ย่อมนั่งพักอยู่ในที่พักเวลากลางวันที่โคนไม้สุดเขตแดนแห่งวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายมาแล้วย่อมถามว่า พระเถระไปไหน ดังนี้ ชื่อว่าบุตรของคัณฐิกะผู้กล่าวคำอันคลุมเคลือนั่นแหละมีอยู่ ย่อมกล่าวด้วยเหตุนั้นนั่นแหละว่า พระเถระย่อมไม่นั่งในกาลเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ในที่จงกรมอันมีระยะทางยาว อยู่ ณ ที่สุดแห่งวิหาร ดังนี้. แม้ภิกษุนั้นก็ยังกาลให้ล่วงไปครึ่งวัน แล้วยังใยแห่งแมงมุมให้ติดไว้ที่หน้าผาก แล้วก็ให้บุคคลถือเอาตั่งมานั่งที่ประตูแห่งบริเวณ. มนุษย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไปที่ไหน พวกกระผมมาไม่เห็นท่าน ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมยังมนุษย์ให้รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้ชอบความสงบด้วยคำว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ภายในวิหารนี้เกลื่อนกล่น ที่นี้เป็นที่เที่ยวเดินและยืนของภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย อาตมานั่งในที่พักในเวลากลางวันซึ่งมีที่จงกรม ๖๐ ศอก ดังนี้. แม้ภิกษุผู้เกียจคร้านก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกท่านเห็นอุกาบาต (การตกลงของคบเพลิง) แล้วหรือ ดังนี้ ถูกพวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมย่อมไม่เห็นอุกกาบาตได้มีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่จงกรมของพวกเรา แล้วจึงถามว่า พวกท่านได้ยินเสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน หรือดังนี้ เมื่อเขากล่าวว่า พวกกระผมย่อมไม่ได้ยิน ก็เสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ย่อมมีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ ก็กล่าวว่า ในเวลามัชฌิมยาม คือในเวลาที่พวกเรายืนพิงแผ่น กระดานกำหนดอารมณ์ โอภาสใหญ่ได้มีแล้ว แล้วถามว่า โอภาสใหญ่นั้น พวกเธอเห็นแล้วหรือ ดังนี้ เมื่อมนุษย์ถามว่า โอภาสใหญ่ได้มีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่หยั่งลงแต่การจงกรมของอาตมา ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสว่า พระเถระของเราทั้งหลาย ย่อมจงกรมตลอดยามทั้งสามเทียว ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของย่อมไม่มี ดังนี้ จึงทำสักการะ. แม้ผู้หลงลืมสติก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า เราเรียนพระสูตรทีฆนิกายในกาลชื่อโน้น เรียนมัชฌิมนิกายในกาลโน้น สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกายในกาลโน้น ชื่อว่าการแลดูอย่างอื่นในระหว่างย่อมไม่มี แบบแผนเป็นราวกะเกิดขึ้นในปากของเรา และย่อมมาในที่แห่งเราปรารถนาแล้วๆ ส่วนภิกษุอื่นยังปากให้ส่ายไป (เพื่อถามปัญหา) เป็นราวกะแพะดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้ว ด้วยคิดว่า บุคคลอื่นจักปฏิบัติเช่นกับพระคุณเจ้าของเราย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ. แม้ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นก็ย่อมถามปัญหาในพระอรรถกถาจารย์ ในที่พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย คือย่อมถามว่า ชื่อว่ากสิณ ย่อมเจริญอย่างไร ชื่อว่านิมิตที่เกิดขึ้นมีประมาณเท่าไร อุปจาระย่อมมีประมาณเท่าไร อัปปนาย่อมมีประมาณเท่าไร องค์ของปฐมฌานมีประมาณเท่าไร องค์ของทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานมีประมาณเท่าไร ดังนี้. เมื่อพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ประโยชน์อะไรด้วยคำเหล่านี้ คำอะไรๆ อย่างนี้ไม่มีหรือ และกระทำการยิ้มในเวลาที่กล่าวถ้อยคำอันเหมาะแก่การศึกษา ดังนี้ จึงแสดงการได้สมาบัติของตนด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้ย่อมถูกต้อง ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราได้สมาบัติแล้ว ย่อมทำสักการะ. แม้ผู้มีปัญญาทรามก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย กล่าวอยู่ว่า เราย่อมสละปริยัติ ดังนี้เป็นต้น ด้วยคำว่า เมื่อเราตรวจดูหมวดสามแห่งธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่ มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อมด้วยฤทธิ์ ชื่อว่าปริยัติ ไม่เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยยากสำหรับพวกเรา การสนใจในปริยัติ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นคนมีปัญญามาก. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมทำลายพระศาสนา. ชื่อว่ามหาโจรเช่นกับบุคคลนี้ ย่อมไม่มี เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติ ชื่อว่าย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่. แม้ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะเห็นทารกในบ้านแล้ว ถามว่า มารดาบิดาของพวกเธอย่อมกล่าวว่า เรา เป็นอะไร. พวกทารกกล่าวว่า มารดาบิดาของกระผมกล่าวว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ ขอรับ. ภิกษุนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ดูก่อนบุตรคหบดีผู้ฉลาด ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะลวง เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต) เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์) ภิกษุนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ชื่อว่าทางอันสมณะทั้งหลายมาแล้ว ไม่สมควรถาม สมณะทั้งหลายย่อมมาโดยที่อันตนปรารถนาแล้วๆ ดังนี้. ก็บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งฟังเรื่องโดยตลอด ทราบแล้วคิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัดรากไทรนั้นข้างหลังเหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้นคิดว่า เราจักจับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้นก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใครๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่าสภาพลามก ก็เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้นยังบุคคลอื่นให้สรรเสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้. สิงคนิทเทส อธิบายการพูดทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่ง อาการเป็นเครื่องพูดทิ่มแทง ก็ชื่อว่าสภาพที่พูดทิ่มแทง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นสี่เหลี่ยม ชื่อว่าการพูดเป็นสี่เหลี่ยม. การพูดเป็นสี่คมก็อย่างนั้น. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ชื่อว่าสภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู. คำนี้ เป็นชื่อของความเป็นของบุคคลผู้ชำนาญการพูดทิ่มแทง ซึ่งตระเตรียมไว้ก่อนนั่นแหละ (เช่นกับขุดบ่อล่อปลา) คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของคำพูดทิ่มแทงทั้งนั้น. การพูดทิ่มแทงด้วยอำนาจแห่งกิเลส ท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้งหมด ด้วยอาการอย่างนี้. ตินติณนิทเทส อธิบายการพูดเกียดกัน คำนอกจากนี้เป็นคำอธิบายความเป็นแห่งกิริยาอาการของคำพูดเกียดกัน. คำว่า ปุจฺฉญฺชิกตา๑- ได้แก่ ความหวั่นไหวของการเสวยอารมณ์ในฐานะแห่งประโยชน์ที่ควรได้หรือไม่ควรได้ ท่านเรียกว่าความประพฤติถ่อมตน. คำว่า สาธุกมฺยตา ได้แก่ ความปรารถนาที่จะได้สิ่งอันประณีตยิ่งขึ้นไป. ท่านกล่าวอาการเกียดกันไว้ ด้วยสามารถแห่งกิเลสด้วยบททั้งปวงโดยหมายเอาว่า วัตถุของผู้อื่นเป็นราวกะว่าเป็นของตน เช่นกับการเห่าของสุนัขที่กำลังดื่มน้ำข้าวที่รางน้ำข้าว เพราะเห็นสุนัขอื่นมา ดังนี้. ____________________________ ๑- บาลีว่า ปุญฺจิกตา, ม. ปุจฺฉญฺชิกตา. จาปัลยนิทเทส อธิบายการชอบตกแต่ง คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่ การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดในวันนั้นถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และต้นเครือเถาที่เป็นยามีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่าการตกแต่ง. คำว่า พาหิรานํ วา ปริกฺขารํ (แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขารที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตรนี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่งชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ามัณฑนา (การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม. ชื่อว่าวิภูสนา (การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า เกฬนา ได้แก่ การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่ การร่าเริง. ความเป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่าสภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบตกแต่งก็อย่างนั้น. คำว่า อิทํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบด้วยการตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดในวันนั้น ดังนี้. อสภาควุตตินิทเทส อธิบายความประพฤติไม่สมควร คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ชื่อว่าผู้มีความประพฤติไม่สมควร. อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับบิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน) ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ ย่อมถ่าย อรตินิทเทส อธิบายความไม่ยินดี อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี ชื่อว่ากิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่าสภาพที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่ากิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่งบุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่าความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ. ตันทีนิทเทส อธิบายความโงกง่วง คำว่า ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่าสภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่ากิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้านทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ดังนี้. วิชัมภิตานิทเทส อธิบายความบิดกาย คำว่า อานมนา (แปลว่า ความโน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความโน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่ ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรงนี้ เหมือนอย่างว่า ช่างหูกผู้ขยันจับถือซึ่งอะไรๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรงฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบนก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยกํ (แปลว่า ความไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่นแหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. ภัตตสัมมทนิทเทส อธิบายความเมาอาหาร จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะอาหาร ชื่อว่าความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวายเพราะอาหาร ชื่อว่าความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ (แปลว่า ความเป็นผู้หนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน (คือ นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะ กุหนานิทเทส อธิบายความหลอกลวง อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้นต้องการลาภ สักการะและสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น. คำว่า ปาปิจฺฉสฺส (แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่. คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุนั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบกุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) ๓ อย่างอันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย ๑ ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง ๑ และความหลอกลวงด้วยการอาศัยซึ่งอิริยาบถ ๑ เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง ๓ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้. ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้นอันประณีต ด้วยวิธีต่างๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่ต้องการเพื่อจะรับอะไรๆ ก็ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหานิทเทสว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย เป็นไฉน. พวกคหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามกอันความอยากครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนา ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า จากกองหยากเยื่อหรือจากตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร เป็นประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้าหรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร. เธออาศัยความเป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่อง พวกคหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็บุคคลผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ แม้มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงอันเป็นอุบาย โดยทำนองนั้นๆ ด้วยวาจาอันแสดงถึงการบรรลุอุตตริมนุส เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความประสงค์ให้เขายกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงภาชนะโลหะ ทรงธัมมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคดเอว ใช้สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดมีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้ อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ในเรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าสยิ้ว หลอกลวง ปลิ้นปล้อนตลบแตลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติอันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นอันปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและนิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงอันกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง ดังนี้. ก็เมื่อภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบเรื่องหลอกลวง อาศัยอิริยา เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยอิริยาบถ เป็นไฉน. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจการดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่าเรื่องความหลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน ได้แก่ ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺปิเตน ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถทั้ง ๔. คำว่า อฏฺฐปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ฐปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า สณฺฐาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายคำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้าด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน. คำนี้ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่าสยิ้วหน้า เพราะว่าการสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่าสภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่าความหลอกลวง. วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่าอุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่าสภาพที่หลอกลวง ดังนี้. ลปนานิทเทส อธิบายการพูดประจบ อีกอย่างหนึ่ง การพูดแนะนำตนเองว่า อาตมาชื่อว่าติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้นๆ ก็เลื่อมใส ดังนี้ เพราะการแนะนำตนอย่างนี้ ก็ชื่อว่าการพูดทักทาย. เมื่อบุคคลผู้ถามมีอยู่ การพูดโต้ตอบมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่าการพูดสนทนา. การพูดด้วยดี เพราะให้โอกาสแก่ผู้หวาดกลัว ในเพราะการพูดไม่คล่องของคหบดีทั้งหลาย ชื่อว่าการพูดปลอบโยน. การพูดยกตนให้สูงอย่างนี้ว่า เราเป็นกุฎุมพีใหญ่ เป็นทานบดีใหญ่ ดังนี้ ชื่อว่าการพูดยกย่อง. การพูดโดยการกระทำให้สูงโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่าการพูดเยินยอ. การพูดทำให้ชอบใจว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในครั้งก่อน ท่านย่อมถวายทานในกาลเช่นนี้ บัดนี้ ท่านไม่ถวายทานหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมยังไม่ได้โอกาส เป็นต้นโดยทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ชื่อว่าการพูดอ้อมค้อม. อธิบายว่า ได้แก่ การพูดเกลี่ยกล่อม. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นบุคคลถืออ้อยมาจึงถามว่า ดูก่อนอุบาสก อ้อยนี้ท่านได้มาจากไหน. เขาตอบว่า จากไร่อ้อยขอรับ. ภิกษุถามว่า อ้อยในไร่นั้น. มีรสหวานไหม. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเคี้ยวกินแล้วพึงทราบ. ภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก ถ้าว่าอาตมาพูดว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายอ้อยแก่ภิกษุ ดังนี้ ย่อมไม่ควร. การพูดชมเชยของภิกษุผู้ประจบเห็นปานนี้อันใด การพูดอ้อมค้อมก็อันนั้น การพูดอ้อมค้อมบ่อยๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่าการพูดประจบ. คำว่า การพูดชมเชย ได้แก่ วาจาเป็นเครื่องยังจิตให้หวั่นไหวซึ่งยกขึ้นอย่างนี้ว่า ตระกูลนี้ย่อมรู้จักเราดีทีเดียว ถ้าเขาจะถวายไทยธรรมไซร้ก็จักถวายแก่เราเท่านั้นดังนี้ ชื่อว่าการสรรเสริญคือการยกย่อง. ในข้อนั้นพึงกล่าวถึงเรื่องอุปัฏฐากผู้บำรุงภิกษุ ดังนี้. ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูปเข้าไปสู่บ้านหนึ่ง นั่งที่โรงภัตตาหาร เห็นกุมาริกาคนหนึ่ง จึงเรียกมา. ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงถามภิกษุรูปหนึ่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุมาริกานี้เป็นลูกใคร. ภิกษุนั้นจึงยกย่องสรรเสริญด้วยคำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลูกสาวอุปัฏฐากผู้บำรุงของกระผม มารดาของหญิงนี้ เมื่อกระผมไปบ้านแล้ว เมื่อจะถวายเนยใส ย่อมถวายทั้งหม้อทีเดียว แม้กุมาริกานี้ก็ย่อมถวายเนยใสทั้งหม้อเหมือนมารดานั่นแหละ ดังนี้. การพูดสรรเสริญซ้ำๆ ชื่อว่าการพูดสรรเสริญบ่อย. คำว่า อนุปฺปิยภาณิตา ได้แก่ การกล่าววาจาอันเป็นที่รักบ่อยๆ ไม่สนใจคำอันเหมาะสมแก่สัจจะ หรือเหมาะสมกับธรรมเลย. คำว่า ปาตุกมฺยตา ได้แก่ ความประพฤติตั้งตนไว้ต่ำให้เป็นไป. คำว่า มุคฺคสูปยตา ได้แก่ วาจาเช่นกับแกงถั่วเขียว. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อถั่วเขียวทั้งหลายอันบุคคลต้มอยู่ ถั่วเขียวอะไรๆ บางอย่างย่อมไม่สุก ถั่วเขียวที่เหลือย่อมสุกฉันใด คำพูดสัจจะไรๆ มีอยู่ คำพูดอันเหลวไหลก็มีอยู่ในถ้อยคำของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าผู้มีวาจาเช่นแกงถั่วเขียว ดังนี้. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีวาจาทีเล่นทีจริงเช่นแกงถั่วเขียวนั้น ชื่อว่าสภาพวาจาเช่นแกงถั่วเขียว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับเลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่าสภาพความเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก. จริงอยู่ บุคคลใดย่อมเลี้ยงดูทารกในตระกูล ด้วยสะเอวหรือด้วยบ่า เหมือนแม่นม. อธิบายว่า ย่อมเลี้ยงดูเด็กในตระกูลโดยให้ทรงอยู่. การงานของผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่าการรับเลี้ยงเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่าสภาพการรับเลี้ยงเด็ก ดังนี้. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ขุททกวัตถุวิภังค์ เอกกนิเทศ |