บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] หน้าต่างที่ ๒ / ๒. ในอิริยาบถเดินก่อน เมื่อน้อมกายเดินไปข้างหน้า ชื่อว่าอภิกกันตะ. เมื่อถอยกลับมา ชื่อว่า คำว่า สมฺปชานการี โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติทำกิจทั้งปวงด้วยสัมปชัญญะ หรือเป็นผู้มีปกติทำซึ่งสัมปชัญญะ. จริงอยู่ ภิกษุนั้นย่อมทำซึ่งสัมปชัญญะนั่นแหละ ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น คือว่า ย่อมเป็นผู้ไม่เว้นจากสัมปชัญญะในอิริยาบถไหนๆ เลย. ก็เพราะสัมปชัญญะนั้น สัมปยุตด้วยสตินั่นแหละฉะนั้น ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้ จึงตรัสว่า สโต สมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ ดังนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยมาข้างหลัง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่หลงลืมสติ มีสัมปชัญญะ. คือภิกษุประกอบด้วยสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมด้วยปัญญานั่นแหละ ย่อมก้าวไปข้างหน้าด้วย ย่อมถอยกลับมาข้างหลังด้วย. เธอย่อมยังสัมปชัญญะ ๔ อย่างให้หยั่งลงในอิริยาบถทั้งปวงมีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น. จริงอยู่ สัมปชัญญะนี้มี ๔ อย่าง คือ. ๑. สาตถกสัมปชัญญะ ๒. สัปปายสัมปชัญญะ ๓. โคจรสัมปชัญญะ ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ. บรรดาสัมปชัญญะเหล่านั้น เมื่อจิตในการก้าวไปข้างหน้าเกิดขึ้นแล้ว กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่ประโยชน์โดยใคร่ครวญว่า อะไรหนอแล เป็นประโยชน์ในการไป หรือการไม่ไปในที่นี้ ดังนี้ ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ. ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า ประโยชน์ ได้แก่ ความเจริญโดยธรรมด้วยสามารถแห่งการเห็นเจดีย์ การเห็นต้นโพธิ์ การเห็นพระสงฆ์ การเห็นพระเถระ การเห็นอสุภะเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุแม้เห็นเจดีย์หรือต้นโพธิ์ ยังปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ หรือยังปีติมีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งการเห็นพระสงฆ์ ให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาอยู่ซึ่งสิ่งนั้นนั่นแหละโดยความเสื่อมสิ้นไป ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. บุคคลเห็นพระเถระทั้งหลาย อาศัยโอวาทของท่านเหล่านั้น หรือเห็นอสุภะแล้วยังปฐมฌานในอสุภะนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสิ่งนั้นนั่นแหละ โดยความเสื่อมสิ้นไปก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. เพราะฉะนั้น การเห็นสิ่งเหล่านั้นจึงชื่อว่า สาตฺถํ คือมีประโยชน์. อนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การเจริญแม้ด้วยอามิส ก็ชื่อว่าเป็นประโยชน์เหมือนกัน ก็เพราะความที่ตนอาศัยสิ่งนั้นแล้วปฏิบัติเพื่อเอาพรหมจรรย์ ดังนี้. การที่ภิกษุกำหนดสัปปายะและอสัปปายะ ในการเดินไปแล้วกำหนดเอาแต่สัปปายะ ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. คืออย่างไร? คือว่า การเห็นพระเจดีย์อันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ก่อน ก็ถ้าว่า บริษัทประชุมกันในระหว่างทางสิบสองโยชน์ เพื่อทำการบูชาใหญ่พระเจดีย์. ทั้งหญิงทั้งชายย่อมมีรูปสวยงามเป็นราวกะจิตรกรรม ประดับประดาตกแต่งตามความเหมาะสมกับสมบัติของตนๆ พากันเที่ยวไป. ก็ในสถานที่เช่นนี้ ความโลภของบุคคลนั้นๆ ย่อมเกิดในเพราะอารมณ์อันชอบใจ ปฏิฆะย่อมเกิดในเพราะอารมณ์อันไม่ชอบใจ โมหะย่อมเกิดในเพราะความไม่เพ่งพิจารณา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติกายสังสัคคะ (การสัมผัสทางกาย) หรือว่า มีอันตรายแห่งชีวิตพรหมจรรย์. การยืนในที่เช่นนั้นย่อมเป็นอสัปปายะ. เป็นสัปปายะ ในเพราะไม่มีอันตรายมีประการตามที่กล่าวแล้ว. แม้ในการดูต้นโพธิ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ในการดูพระสงฆ์ก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์ คือถ้าว่า เมื่อพวกมนุษย์ทำปะรำใหญ่ในระหว่างบ้าน แล้วฟังธรรมตลอดคืน การประชุมของชนโดยมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ และทั้งอันตรายก็ย่อมมีด้วย. การยืนในที่เช่นนั้น โดยอาการที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นอสัปปายะ. เป็นสัปปายะ เพราะความไม่มีอันตราย. แม้ในการเห็นพระเถระทั้งหลายผู้มีบริษัทบริวารมาก ก็นัยนี้นั่นแหละ. แม้การเห็นอสุภะก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์. เพื่อแสดงประโยชน์ในอสุภะนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรเดินทางไป เพื่อต้องการไม้ชำระฟัน. สามเณรเดินไปข้างหน้าของภิกษุ เมื่อเธอก้าวลงจากทางไป ก็เห็นอสุภะ จึงเพ่งดูแล้วยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาทแห่งวิปัสสนา พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย กระทำผลทั้งสามให้แจ้งแล้วก็กำหนดตั้งกรรมฐาน เพื่อต้องการมรรคเบื้องบน. ฝ่ายภิกษุหนุ่ม เมื่อไม่เห็นสามเณรนั้น จึงร้องเรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้นคิดว่า จำเดิมแต่วันที่เราบวชแล้ว ขึ้นชื่อว่าการเรียก ๒ ครั้งของภิกษุนี้มิได้มีแก่เรา ในวันอื่นเถิดเราจักยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงขานรับว่า อะไรขอรับ ดังนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวว่า เธอมานี่ สามเณรนั้นมาแล้วด้วยคำเพียงคำเดียวเท่านั้น แล้วจึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงไปยืนดูข้างหน้า ในที่ๆ กระผมยืนอยู่โดยทางนี้ก่อนสักครู่ขอรับ. ภิกษุนั้นกระทำอย่างนั้นแล้วก็บรรลุคุณวิเศษอันสามเณรนั้นบรรลุแล้วนั่นแหละ. อสุภะหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งสองด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง อสุภะของมาตุคาม ถึงจะเป็นไปกับด้วยประโยชน์ แต่ก็ย่อมเป็นอสัปปายะแก่บุรุษ และอสุภะของบุรุษเหล่านั้นก็เป็นอสัปปายะแก่มาตุคามเช่นกัน. การกำหนดสัปปายะว่า นี้เป็นสัปปายะ เป็นสภาคะ ดังที่พรรณนามาฉะนี้ ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. อนึ่ง การที่ภิกษุเรียนเอาโคจร กล่าวคือ กรรมฐานอันชอบใจแก่จริตของตนในกรรมฐาน ๓๘ อย่าง เพื่อสัปปายะอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ แล้วถือเอากรรมฐานนั้นในเวลาโคจรเพื่อภิกขาจาร ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ. บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวรรณนานั้น ดังต่อไปนี้. ๑. ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ย่อมนำกรรมฐานไป แต่ไม่นำกลับมา ๒. บางรูป ย่อมนำกลับมา แต่ไม่นำไป ๓. บางรูป ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับมา ๔. บางรูป ย่อมนำไปด้วย ย่อมนำกลับมาด้วย. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดชำระจิตให้หมดจดจากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นตลอดวัน ด้วยการเดิน การนั่ง ในปฐมยามแห่งราตรี ก็อย่างนั้น ในมัชฌิมยามเธอสำเร็จการนอน แม้ในปัจฉิมยาม เธอก็ยังกาลให้ล่วงไปด้วยการนั่ง การเดิน การทำวัตรคือกวาดลานพระเจดีย์ ลานมหาโพธิ์ก่อน แล้วรดน้ำต้นมหาโพธิ์ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ แล้วสมาทานประพฤติวัตรทั้งปวงเล็กๆ น้อยๆ มีอาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร เป็นต้น. เมื่อเธอตกแต่งร่างกายแล้วก็เข้าไปสู่เสนาสนะ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๒-๓ ท่าที่บัลลังก์ ให้ไออุ่นเกิดขึ้นแล้วประกอบกรรมฐานเนืองๆ ลุกขึ้นในเวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา ถือเอาบาตรและจีวร กับกรรมฐานอันเป็นสีสะนั่นแหละ (กรรมฐานที่เป็นประธาน) ออกไปจากเสนาสนะก็มนสิการกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปสู่ลานแห่งพระเจดีย์ ถ้า (กรรมฐานเดิมเป็นพุทธานุสติ) พุทธานุสติกรรมฐานยังมีอยู่ไซร้ ไม่ต้องสละกรรมฐานนั้นเลย เข้าไปสู่ลานพระเจดีย์. ถ้าหาก (ในขณะนั้น) มีกรรมฐานอื่นอยู่ พักกรรมฐานนั้นไว้ที่เชิงบันได เปรียบเหมือนบุคคลถือสิ่งของมา แล้ววางของนั้นไว้ ครั้นพักกรรมฐานอื่นนั้นแล้ว ก็พึงถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ก้าวขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ ทำประทักษิณเจดีย์ใหญ่สิ้นสามครั้ง แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๔. พึงทำประทักษิณเจดีย์น้อย ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๘. อันภิกษุผู้ถึงลานพระเจดีย์ครั้นไหว้พระเจดีย์แล้ว ก็พึงแสดงความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ดุจการอยู่ต่อหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไหว้ต้นมหาโพธิ์. ภิกษุนั้นไหว้พระเจดีย์และต้นมหาโพธิ์แล้ว ก็กลับไปสู่ที่ๆ ตนเก็บกรรมฐานถือเอากรรมฐานที่ตนวางไว้แล้ว เหมือนบุคคลถือเอาสิ่งของที่ตนวางไว้ไปฉะนั้น ห่มจีวรด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละในที่ใกล้บ้าน แล้วจึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ. ในกาลนั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุนั้นแล้วก็พากันลุกขึ้นต้อนรับโดยคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว ดังนี้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่งที่โรงฉันหรือที่บ้าน ถวายข้าวยาคู ตราบเท่าที่ภัตยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ใคร่จะเป็นผู้ฟังธรรมบ้าง. พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้ถ้าว่า พวกมนุษย์ไม่ต้องการให้ภิกษุกล่าวธรรม ธรรม จริงอยู่ ธรรมดาว่า ธรรมกถาที่จะพ้นไปจากกรรมฐานย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุฉันอาหารด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ เสร็จแล้วกล่าวอนุโมทนา ภิกษุนั้นผู้อันมนุษย์ทั้งหลายตามไปส่งอยู่ ออกไปจากหมู่บ้านแล้ว ควรให้มนุษย์เหล่านั้นกลับแล้วก็เดินไปตามทาง. ลำดับนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลายผู้ออกไปสู่บ้านก่อนกว่า มีภัตกิจอันกระทำแล้วภายนอกบ้านเทียว เห็นภิกษุนั้นซึ่งกำลังเดินมา ก็พากันไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน. ได้ยินว่า ภิกษุในปางก่อนทั้งหลายมิได้เลือกว่า ผู้นี้เป็นพระอุปัชฌายะของเรา ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา (หรือไม่) แล้วกระทำวัตร คือย่อมกระทำการกำหนดถึงภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเท่านั้น. สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ถามภิกษุนั้นว่า ท่านขอรับ พวกมนุษย์เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นผู้เกี่ยวดองทางโยมมารดา หรือทางบิดา. ภิกษุนั้นตอบว่า พวกเธอเห็นอะไร จึงถาม. พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นตอบว่า พวกกระผมเห็นความรักของชนเหล่านั้นมีมากมายในท่าน. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมใดแม้มารดาบิดาของเรากระทำได้ยาก แต่มนุษย์พวกนี้กระทำได้ แม้บาตรและจีวรอันเป็นของใช้อยู่ของพวกเรา ด้วยอานุภาพแห่งชนเหล่านั้น พวกเราย่อมไม่รู้ถึงภัยในเวลามีภัย ไม่รู้ถึงความอดอยากในเวลาข้าวยากหมากแพง ชนทั้งหลายผู้เช่นกับมนุษย์ผู้มีอุปการะเหล่านี้ ของพวกเราย่อมไม่มี ดังนี้ เมื่อกล่าวชมเชยคุณของมนุษย์เหล่านั้น เดินไปอยู่. ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป แต่ไม่นำกลับมา. อนึ่ง เมื่อภิกษุใดทำวัตรปฏิบัติมีประการตามที่กล่าวแล้วแต่เช้า ความร้อนเกิดแต่กรรม (กมฺ ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานกลับมา แต่ไม่นำไป. ก็ภิกษุผู้เช่นนี้ ดื่มข้าวยาคูแล้วปรารภวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในพุทธศาสนาเหลือที่จะนับ. ในทวีปสีหฬนั่นแหละในอาสนศาลาแห่งหมู่บ้านนั้นๆ พวกภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูในที่นั้นแล้ว ไม่บรรลุพระอรหัต มิได้มี. ก็ภิกษุใดเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท มีธุระอันทอดทิ้งเสียแล้ว ทำลายวัตรทั้งปวงแล้ว มีจิตพัวพันด้วยเครื่องผูกจิต ๕ อย่าง (นิวรณ์ ๕) อยู่ ไม่มีสัญญาในกรรมฐาน แม้เรียนมาแล้ว เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ เป็นผู้คลุกคลีแล้ว โดยการคลุกคลีอันเป็นของคฤหัสถ์ อันไม่สมควร เที่ยวไปด้วยฉันอาหารด้วย (ทั้งเที่ยวทั้งกิน) ไร้ประโยชน์ก้าวไปๆ (ทั้งไปทั้งกลับ). ภิกษุเช่นนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมไม่นำกรรมฐานไป ย่อมไม่นำกรรมฐานกลับมา. ส่วนภิกษุใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุนี้ย่อมนำกรรมฐานไปด้วย ย่อมนำกลับมาด้วย ดังนี้ บัณฑิต จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว อยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง ย่อมกระทำกติกวัตรว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านมิได้บวชหนีหนี้ มิได้บวชหนีภัย มิได้บวชเพื่อเลี้ยงชีพ แต่พวกท่านเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นจากทุกข์ จึงบวชในพระพุทธศาสนานี้ เพราะฉะนั้น ถ้ากิเลสเกิดขึ้นในเวลาเดิน พวกท่านจงข่มกิเลสในขณะเดินนั้นนั่นแหละ กิเลสเกิดขึ้นในเวลายืน นั่ง นอนก็จงข่มกิเลสในเวลายืน นั่ง นอนนั้นนั่นแหละ ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อไปภิกขาจาร ย่อมมนสิการกรรมฐานด้วยสัญญา ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนั่นแหละถึง ๑๙ พรรษา. นัยว่า แม้พวกมนุษย์ผู้ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว กระทำการงานต่างๆ ในระหว่างทาง เห็นพระเถระผู้ไปอยู่เช่นนั้น ก็สนทนากันอย่างสนุกว่า พระเถระนี้กลับไปกลับมา ท่านคงจะหลงทาง หรือท่านลืมอะไร ดังนี้. พระเถระไม่อนาทรถ้อยคำนั้น กระทำสมณธรรมอยู่ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ บรรลุพระอรหัตแล้วในระหว่างแห่งพรรษา ๒๐ นั้นแล. ก็ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงอยู่ในที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรมของท่าน ได้ยืนยังประทีปให้โชติช่วงด้วยนิ้วมือทั้งหลาย แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ไปสู่ที่บำรุง. พระเถระชื่อว่ามหาติสสะ ผู้มีปกติอยู่ในป่า เห็นโอภาสนั้น จึงถามท่านในวันที่สองว่า ในเวลาราตรี โอภาสได้มีในสำนักของท่านผู้มีอายุ นั่นเป็นโอภาสอะไร. พระเถระนั้นไม่ประสงค์จะบอก จึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าโอภาสย่อมเป็นโอภาสแห่งประทีปก็มี เป็นโอภาสแห่งแก้วมณีก็มีเป็นต้น ต่อจากนั้น ท่านถูกรบเร้าว่า ขอท่านจงบอกโอภาสนั้น ดังนี้ ท่านจึงรับคำว่า ครับ จะบอกแล้วท่านจึงบอกเนื้อความนั้นแล้ว. ก็เรื่องของพระเถระผู้ปฏิบัติกรรมฐานเช่นนี้ เหมือนกับเรื่องของพระเถระชื่อว่ามหานาค ผู้มีปกติอยู่ในมณฑป ชื่อว่ากาลวัลลิ. ได้ยินว่า พระมหานาคเถระรูปนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้อธิษฐานอิริยาบถเพียงการยืนและการจงกรมเท่านั้น ตลอด ๗ ปี โดยคิดว่า เบื้องต้น เราจักบูชามหาปธาน (คือความเพียรใหญ่) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน ดังนี้ ต่อมาท่านก็บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีกตลอด ๑๖ ปี จึงบรรลุพระอรหัต. ก็ท่านพระมหานาคนั้นยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ ครั้นเมื่อยกขึ้นปราศจากกรรมฐาน ก็จะหวนกลับไปสู่ที่ใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศอันเป็นที่สงสัยว่า นั่นเป็นแม่โคหรือหนอ หรือว่าเป็นบรรพชิต ห่มจีวร ล้างบาตรด้วยน้ำจากคนโทที่หนีบรักแร้มา แล้วอมน้ำคำหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมาอยู่เพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ ความส่ายไปแห่งกรรมฐานอย่าได้มี แม้ด้วยสักแต่คำว่า ขอพวกท่านจงเป็นผู้มีอายุยืน ดังนี้. ก็ภิกษุนั้นถูกมนุษย์ทั้งหลายถามถึงการนับวันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวันอะไร หรือถามจำนวนภิกษุ หรือถามปัญหา จึงกลืนน้ำแล้วบอก. ถ้าผู้ถามถึงวันเป็นต้นไม่มี ภิกษุนั้นก็จะบ้วนน้ำทิ้งที่ประตูแห่งบ้านนั่นแหละ ในเวลาเป็นที่จากไป แล้วจึงไป. อนึ่ง เรื่องนี้เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้อยู่จำพรรษาในวิหาร ชื่อว่าคลัมพุติตถะ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ทำกติกวัตรในวันเพ็ญอาสาฬหะว่า พวกเรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อจะเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ กระทำการอมน้ำอมหนึ่งแล้วจึงเข้าไป เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้ว. พวกมนุษย์เห็นที่เป็นที่บ้วนน้ำทิ้งในที่นั้นก็จะทราบว่า วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าของเรามาองค์เดียวหรือสององค์ ดังนี้. ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ย่อมไม่สนทนากับพวกเราเท่านั้นหรือหนอ หรือไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้ ถ้าว่าพวกท่านไม่สนทนากะกันและกันไซร้ ท่านจักต้องวิวาทกันแน่ พวกเราจงมา เราจักให้ภิกษุเหล่านั้นอดโทษกะกันและกัน ดังนี้. พวกมนุษย์ทั้งหมดพากันไปสู่วิหาร ก็บรรดาภิกษุ ๕๐ รูป ภิกษุแม้สองรูปอยู่ในโอกาสเดียวกันมิได้มี ในมนุษย์เหล่านั้นคนที่มีปัญญา กล่าวในเวลานั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสอันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ทะเลาะกันไม่เป็นเช่นนี้ ลานพระเจดีย์ ลานพระมหาโพธิ์ อันพระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ปัดกวาดดีแล้ว ไม้กวาดทั้งหลาย ท่านก็เก็บไว้เรียบร้อย ทั้งน้ำฉันน้ำใช้ท่านก็จัดตั้งไว้อย่างดี ดังนี้ พวกมนุษย์เหล่านั้นจึงพากันกลับไปจากที่นั้นทีเดียว. ภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตภายใน ๓ เดือนนั่นแหละ ปวารณาแล้วซึ่งสุทธิปวารณา ในวันมหาปวารณา. ภิกษุเหล่านั้นยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ เหมือนพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ที่กาลวัลลิมณฑป และเหมือนภิกษุ ๕๐ รูปผู้จำพรรษาในคลัมพุติตถวิหาร อย่างนี้คือ ภิกษุผู้ปฏิบัตินั้นไปสู่ที่ใกล้บ้านแล้วจึงทำการอมน้ำอมหนึ่ง แล้วก็กำหนดทางทั้งหลาย จะดำเนินไปสู่วิถีที่พวกชนไม่ทะเลาะกัน ไม่มีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างร้ายม้าร้ายไม่มีอยู่ในที่นั้น เมื่อเธอเที่ยวไปในบ้านเพื่อบิณฑะ ไม่ควรไปโดยกระตือรือร้น เหมือนชนที่มีธุระด่วน เพราะว่า ชื่อว่าปิณฑปาติกธุดงค์ (องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสของภิกษุผู้ถือการฉันอาหารจากการบิณฑบาตเป็นวัตร) ไรๆ เช่นนั้นไม่มี. ย่อมเป็นผู้ไม่หวั่นไหวดำเนินไป เหมือนเกวียนบรรทุกน้ำถึงที่ไม่เสมอกัน ไปอยู่. อันภิกษุผู้เข้าไปสู่ระหว่างบ้าน ควรรอคอยเวลาอันสมควรแก่ภัตนั้น เพื่อกำหนดถึงผู้ประสงค์จะถวาย หรือไม่ถวาย ถ้ารับภิกษาได้แล้วจะเป็นภายในบ้านหรือภายนอกบ้านก็ตาม แล้วก็จะมาสู่วิหารนั่นแหละ นั่งในโอกาสอันเหมาะสมตามความผาสุก มนสิการกรรมฐานอยู่ ยังปฏิกูลสัญญาในอาหารให้เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาอาหารนั้น ด้วยสามารถแห่งการเปรียบเทียบกับน้ำมันหยอดเพลารถ เปรียบเทียบกับผ้าพันแผล และเปรียบกับเนื้อบุตร แล้วจึงฉันอาหาร ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นผู้มีปกติฉันอาหารโดยมนสิการว่า เนว ทฺวาย น มทาย ฯลฯ ผาสุวิหาโร จ ดังนี้. เนว ทวาย มิใช่เพื่อเล่น น มทาย มิใช่เพื่อมัวเมา น มณฺฑนาย มิใช่เพื่อประดับ น วิภูสนาย มิใช่เพื่อตกแต่ง ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่เป็นไป ฐิติยา ยาปนาย วิหึสุปรติยา เพื่อระงับเสียซึ่งความเบียดเบียน พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหงฺขามิ จะกำจัดเวทนาเก่า นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ จักมิให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ ความเป็นไป ความไม่มีโทษ อนวชฺชตา จ ผาสุ วิหาโร จ และการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา. ครั้นทำกิจด้วยน้ำเสร็จแล้ว ก็สงบจิตพิจารณาถึงความลำบากในการแสวงหาภัต สักครู่หนึ่ง ในเวลาปุเรภัต พิจารณาอย่างไร ในปัจฉาภัตก็อย่างนั้น มนสิการอยู่ ซึ่งกรรมฐานนั่นแหละตลอดปุริมยามและปัจฉิมยาม. ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป และย่อมนำกรรมฐานกลับ แล. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับนี้ ถ้าเธอมีอุปนิสสัยอันถึงพร้อมแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ในปฐมวัยนั่นแหละ ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัยก็จะบรรลุในปัจฉิมวัย ถ้าในปัจฉิมวัยไม่บรรลุ ก็จะบรรลุในมรณสมัย (เวลาใกล้ตาย) ถ้าไม่บรรลุในมรณสมัย เกิดเป็นเทพบุตรแล้วย่อมบรรลุ ถ้าเป็นเทพบุตรแล้วไม่บรรลุ เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอุบัติขึ้น เธอเกิดขึ้นแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจก ในกรรมฐานอันประกอบด้วยหมวด ๔ นี้ ภิกษุใดย่อมนำกรรมฐานไปด้วย ย่อมนำกรรมฐานกลับมาด้วยโคจรสัมปชัญญะของเธอ ชื่อว่า ถึงสุดยอด แล. ก็การไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงทราบข้อนั้น ดังต่อไปนี้. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้า หรือถอยมาข้างหลัง ไม่หลงใหลอยู่ เหมือนปุถุชนผู้อันธพาลหลงใหลอยู่ว่า อัตตา ย่อมก้าวไปในอิริยาบถทั้งหลายมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยอัตตา หรือว่า เราย่อมก้าวไป การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยเรา ดังนี้ อันที่จริงครั้นเมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไป ดังนี้. วาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น กับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังการเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นอยู่. ด้วยอาการอย่างนี้ โครงกระดูกอันสมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเกิดจากการทำของจิต. เมื่อการยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งอยู่อย่างนี้ ธาตุทั้งสองคือปฐวีธาตุ อาโป ในการลดเท้าลง ธาตุทั้งสองคือเตโชธาตุ วาโย ในการเป็นไปนี้ รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปในการยกเท้าขึ้นนั้น (เกิดดับไปแล้ว) ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไป. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะนำเท้าไปนั้น ย่อมไม่ถึงการก้าวเท้าไป. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะก้าวเท้าไปแล้ว ย่อมไม่ถึงการลดเท้าลง. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะลดเท้าลง ย่อมไม่ถึงการวางเท้าลง. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะวางเท้าลง ย่อมไม่ถึงการยับยั้งเท้าไว้. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในที่นั้นๆ นั่นแหละ เป็นส่วนหนึ่งๆ เป็นสนธิหนึ่งๆ เป็นเขตหนึ่งๆ ย่อมแตกทำลายไป ราวกะเมล็ดงาที่เขาใส่ในกระเบื้องร้อน ส่งเสียงดัง ตะตะ ฉะนั้น. ในการเป็นไปเช่นนี้ มีใครหรือที่ก้าวไป หรือว่าเป็นการก้าวไปของใคร. อันที่จริง เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว เป็นการไปของธาตุทั้งหลายเท่านั้น เป็นการยืนของธาตุทั้งหลาย เป็นการนั่งของธาตุทั้งหลาย เป็นการนอนของธาตุทั้งหลาย (หมายความว่า เป็นอาการของธาตุทั้งหลายเท่านั้น). ด้วยว่าในโกฏฐาสนั้นๆ จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นกับด้วยรูปทั้งหลาย จิตดวงหนึ่งย่อมดับไป ดุจกระแสน้ำซึ่งเกี่ยวเนื่องตามกันไปไม่ขาดสายเป็นไปอยู่ ฉะนั้น. การไม่หลงใหลในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ ฉะนี้แล. จบเนื้อความแห่งบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ เพียงนี้. อธิบาย อาโลกิเต (การแลไปข้างหน้า) วิโลกิเต (การแลดูข้างๆ) ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การเพ่งดูข้างหน้า ชื่อว่าอาโลกิตะ. การเพ่งดูทิศน้อยทั้งหลาย ชื่อว่าวิโลกิตะ. แม้การเพ่งดูทิศอื่นๆ ด้วยสามารถแห่งการเพ่งดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง ก็ชื่อว่าโอโลกิตะ (ดูข้างล่าง) อุลโลกิตะ (ดูข้างบน) อปโลกิตะ (ดูข้างหลัง). การแลดู ๓ อย่างนั้น ท่านมิได้ถือเอา ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ ด้วยว่า การแลดูสองอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยสามารถแห่งความเหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยหัวข้อที่เป็นประธานแล้ว การแลดูเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็รวมอยู่ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้แหละ. ในบรรดาการแลดูเหล่านั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดูข้างหน้า ดังนี้ มิได้แลดูด้วยสามารถสักแต่จิตเท่านั้น ต้องกำหนดถือเอาประโยชน์ด้วย จึงชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยทำท่านพระนันทะให้เป็นองค์พยานดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะจะพึงแลดูทิศเบื้องหน้าไซร้ พระนันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้วแลดูทิศข้างหน้า เพราะว่าเมื่อแลดูทิศข้างหน้าอยู่อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศลอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตาม ด้วยอาการอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในธรรมอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ (หรือชื่อว่าสาตถกสัมปชานะ). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะจะพึงแลดูทิศเบื้องหลัง (ตะวันตก) ไซร้. จะพึงแลดูทิศเหนือ. จะพึงแลดูทิศใต้. จะพึงแลดูเบื้องล่าง. เบื้องบน. จะพึงแลดูทิศน้อย นันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้วจึงแลดูทิศน้อยอยู่ เพราะว่า เมื่อแลดูทิศน้อยอยู่อย่างนี้ ... ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีสัมปชานะ (คือมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในประโยชน์) ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยความเป็นไปกับด้วยประโยชน์และความเป็นไปแห่งสัปปายะ ด้วยสามารถแห่งการเห็นพระเจดีย์เป็นต้น ตามที่กล่าวไว้ในก่อนนั่นแหละ. ก็โคจรสัมปชัญญะ มิได้เว้นจากกรรมฐาน. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการแลดูข้างหน้า การแลดูข้างๆ ด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ โดยความสามารถแห่งกรรมฐานอันเป็นของตน มีขันธ์ ธาตุ อายตนะเป็นที่ตั้ง. ก็ภายในแห่งร่างกายนี้ ชื่อว่าอัตตา เป็นผู้แลดูข้างหน้าหรือแลดูข้างหลัง มิได้มีเลย. ก็แต่ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นว่าจักแลดูข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานกับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังความเคลื่อนไหว (วิญญัติรูป) แห่งรูปให้เกิดขึ้น ทันทีนั้นเอง หนังตาอันเป็นส่วนเบื้องล่าง ก็จมลงข้างล่าง หนังตาอันเป็นส่วนเบื้องบน ก็จะเลิกขึ้นไปเบื้องบน ด้วยอำนาจแห่งการแผ่ขยายไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. ใครๆ ชื่อว่า เปิด (ตา) อยู่ด้วยเครื่องยนต์ มิได้มี. ในลำดับนั้น จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้นยังทัสสนกิจให้สำเร็จอยู่ การรู้อย่างนี้ ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้. ก็อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งความเป็นมูลปริญญา อาคันตุกะและตาวกาลิกะ ต่อไป. ว่าโดยมูลปริญญา (ความรอบรู้ถึงมูล) ก่อน
บรรดาจิตเหล่านั้น ภวังคจิตย่อมยังกิจอันเป็นส่วนแห่งอุปปัตติภพให้สำเร็จเป็นไป เพราะการดับไปซึ่งภวังค์นั้น กิริยามโนธาตุ จึงยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนธาตุนั้น จักขุวิญญาณจิตจึงยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งจักขุวิญญาณจิต วิปากมโนธาตุ จึงยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งวิปากมโนธาตุนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุ จึงยังสันตีรณกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งวิปากมโนวิญญาณธาตุนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุ จึงยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนวิญญาณธาตุนั้น ชวนจิตจึงแล่นไป ๗ ครั้ง. ในชวนจิตเหล่านั้น การแลดูข้างหน้าๆ หรือแลดูข้างๆ ว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารถแห่งความยินดี ยินร้ายและความหลงใหล ย่อมไม่มีแม้ในชวนจิตดวงที่หนึ่ง. แม้ในชวนจิตที่ ๒ ฯลฯ แม้ในชวนจิตที่ ๗. ก็ครั้นเมื่อชวนจิตเหล่านั้นแตกทำลายไป ด้วยสามารถแห่งการแตกดับตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย ราวกะว่าทหารในสนามรบถูกทำลายไปอยู่ การแลดูข้างหน้าหรือการแลดูข้างๆ ว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารถแห่งความยินดีเป็นต้น จึงมี. บัณฑิตพึงทราบอสัมโมหสัปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งมูลปริญญาด้วยประการฉะนี้ก่อน. ว่าด้วยความเป็นแห่งอาคันตุกะ (ด้วยสามารถแห่งความเป็นดังแขกผู้มาหา) ก็ในจักขุทวาร ครั้นเมื่อรูปมาสู่คลองแล้ว โดยการเคลื่อนไปแห่งภวังค์ในเบื้องบน บรรดาจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการยังกิจของตนๆ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ในที่สุดชวนจิตก็เกิดขึ้น. ชวนจิตนั้นย่อมเกิดในจักขุทวารอันเป็นเรือน ของอาวัชชนจิตเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นก่อน เหมือนบุรุษผู้เป็นแขก (ผู้จรมา). เมื่อบุรุษผู้เป็นแขกนั้นเข้าไปเพื่อจะขออะไรๆ ในบ้านของผู้อื่น ไม่ควรทำร้ายแม้ในเจ้าของแห่งบ้าน ผู้นั่งนิ่งเฉยอยู่ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้น อันไม่ยินดี ไม่ยินร้ายและไม่หลง ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ความยินดี ความยินร้าย ความหลงใหล ก็ไม่ควรมี ฉันนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งความเป็นอาคันตุกะ ดังพรรณนามาฉะนี้. ว่าด้วยความเป็นตาวกาลิกะ (คือเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง) ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นปริโยสานเหล่าใดนั้น ย่อมเกิดขึ้นในจักขุทวาร จิตเหล่านั้นกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ย่อมแตกดับไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น จิตอันใดอันหนึ่งเหล่านี้ จึงชื่อว่าเป็นตาวกาลิกะ คือเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในข้อนั้น ดังต่อไปนี้. เมื่อหมู่มนุษย์ทั้งปวงในบ้านหลังหนึ่งตายแล้ว เวลา (อายุ) ของชนคนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีความตายเป็นธรรมดา เขาชื่อว่าย่อมยินดียิ่งในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น เป็นสิ่งไม่ควรมี ฉันใด ในทวารหนึ่งก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นพร้อมด้วยสัมปยุตตธรรม ตายไปแล้วในที่นั้นๆ นั่นแหละ ในขณะของจิตที่ยังเหลืออยู่นั้นซึ่งก็มีความตายเป็นธรรมดา ชื่อว่าย่อมยินดียิ่งด้วยสามารถแห่งความยินดียินร้ายและความหลงใหล แม้ของชวนจิตก็หาควรจะมีไม่. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งความเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะนั้น ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุและปัจจัย. จริงอยู่ ในการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์นั้น ดังนี้. จักษุและรูปทั้งหลาย เป็นรูปขันธ์ จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณนั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญา เป็นสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์ ด้วยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้างๆ เป็นเพราะการประชุมกันแห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ จึงปรากฏเกิดขึ้นได้. ในที่นี้ มีใครสักคนหนึ่งหรือ ที่แลดูไปข้างหน้า หรือย่อมแลดูข้างๆ. โดยทำนองเดียวกัน ย่อมพิจารณาโดยความเป็นอายตนะ คือ จักษุ เป็นจักขวายตนะ รูป เป็นรูปายตนะ จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็นมนายตนะ ธรรมที่สัมปยุตตด้วยจักขุวิญญาณ มีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็นธัมมายตนะ โดยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้างๆ ย่อมปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะการประชุมกันแห่งอายตนะ ๔ เหล่านั้น. ในที่นี้ จะมีใครสักคนหรือที่แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างๆ. โดยความเป็นธาตุก็เหมือนกันนั่นแหละ คือ จักษุ เป็นจักขุธาตุ รูป เป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณมีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็นธัมมธาตุ. ด้วยอาการอย่างนี้ การแลดูข้างหน้า การแลดูข้างๆ ในเพราะการประชุมกันแห่งธาตุ ๔ เหล่านั้น จึงปรากฏขึ้น ในที่นี้ ใครเล่าที่แลดูข้างหน้าหรือแลดูข้างๆ. ว่าโดยความเป็นปัจจัย ก็เช่นเดียวกัน คือ จักษุ เป็นนิสสยปัจจัย รูป เป็นอารัมมณปัจจัย อาวัชชนจิต เป็นอนันตระ สมนันตระอนันตรูปนิสสยะนัตถิวิคตปัจจัย อาโลกะ (แสงสว่าง) เป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ จึงปรากฏเป็นการแลดูข้างหน้า แลดูข้างๆ ในเพราะการประชุมกันแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้. ในที่นี้ มีใครเล่าสักคนหนึ่งหรือที่แลดูข้างหน้า แลดูข้างๆ ดังนี้. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ แม้ด้วยความสามารถแห่งการพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุและความเป็นปัจจัย ดังพรรณนามาฉะนี้ แล. อธิบาย สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ (แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก) คำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ การคู้อวัยวะเข้าและการเหยียดอวัยวะออกแห่งข้อต่อทั้งหลาย. ในที่นี้ ภิกษุไม่ได้ทำการคู้และการเหยียดอวัยวะด้วยสามารถแห่งจิตเท่านั้น ต้องกำหนดถึงประโยชน์และสิ่งมิใช่ประโยชน์ในเพราะการคู้และการเหยียดแห่งข้อมือข้อเท้าเป็นปัจจัย แล้วกำหนดถือเอาแต่ประโยชน์ในการคู้เข้าเหยียดออกนั้นได้ ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ต่อไป. เมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะแห่งข้อมือและข้อเท้านานเกินไป หรือว่าเหยียดออกนานเกินไป ทุกข ก็ถ้าเมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะเข้าในเวลาอันควร เมื่อเหยียดอวัยวะออกในเวลาอันควร ทุกข ก็ครั้นเมื่อประโยชน์แม้มีอยู่ การกำหนดสัปปายะแล้วถือเอาแต่สัปปายะ ชื่อว่าสัปปาย ในการคู้อวัยวะเข้าและการเหยียดอวัยวะออกนั้น มีนัยดังนี้. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มทั้งหลายสาธยายพุทธพจน์อยู่ที่ลานพระมหาเจดีย์ ภิกษุณีทั้งหลายกำลังฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุหนุ่มนั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือออกไปถูกต้องกายนางภิกษุณีสาวแล้ว จึงเป็นเหตุให้เธอต้องลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์. อีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้าออกไป ก็เหยียดไปที่กองไฟ ไฟไหม้เท้าของเธอจนจดกระดูก. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่จอมปลวก เธอได้ถูกอสรพิษกัดเอาแล้ว. อีกรูปหนึ่งเหยียดออกไปที่ราวจีวร ก็ถูกงูเขียวกัดแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงเหยียดมือเหยียดเท้าในอสัปปายะเห็นปานนี้ ควรเหยียดออกไปในสัปปายะ. นี้ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ ในข้อนี้แล. ว่าด้วยโคจรสัมปชัญญะ ก็โคจรสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระดังนี้. ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งพักในที่พักในเวลากลางวัน สนทนากันอยู่กับอันเตวาสิกทั้งหลาย เผลอเหยียดมือออกไปโดยเร็ว แล้วก็ชักมือกลับมาวางไว้ที่เดิมแล้วก็ค่อยๆ เหยียดออกไป. พวกอันเต แม้ในคำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต นี้ พึงทราบว่าเป็นสภาวะไม่เว้นจากกรรมฐานนั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ธรรมดาว่า อัตตาอะไรๆ ในภายใน คู้อวัยวะเข้าหรือเหยียดอวัยวะออก มิได้มี ก็การกำหนดว่า การคู้อวัยวะเข้า การเหยียดอวัยวะออก ย่อมมีได้ ด้วยการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว เป็นเหมือนหุ่นยนต์เคลื่อนไหวเท้าและมือได้ ด้วยสามารถแห่งการดึงเส้นด้าย ฉะนั้นในลักษณะอย่างนี้ จึงชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ. ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ (แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร) การใช้สอยสังฆาฏิและจีวรด้วยสามารถแห่งการนุ่งห่ม และการใช้บาตรด้วยสามารถแห่งการรับภิกษา ชื่อว่าการทรงไว้. บัณฑิตพึงทราบการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประโยชน์ในการทรงผ้าไว้มีประการต่างๆ โดยนัยเป็นต้นว่า การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งห่มแล้วเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่าประโยชน์ และพึงทราบว่า เป็นสาตถกสัปชัญญะด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้น. อนึ่ง จีวรเนื้อละเอียดเป็นสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีปกติร้อน มีกำลังทราม. จีวรเนื้อหนาผ้าสองชั้นเป็นสัปปายะแก่ผู้มีปกติหนาว. นอกนี้เป็นอสัปปายะ. ผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า ก็เป็นอสัปปายะเช่นกัน. เพราะว่า จีวรเก่าผืนนั้นย่อมกระทำปลิโพธิให้แก่เธอโดยต้องดามไว้เป็นต้น. โดยทำนองเดียวกัน จีวรอันเป็นที่ยินดีพอใจของโจรทั้งหลายมีผ้าทุกูล (ผ้าชนิดดี) ซึ่งทำด้วยไหมและขนสัตว์เป็นต้น ก็เป็นอสัปปายะ. จริงอยู่ ผ้าเช่นนั้นย่อมกระทำอันตรายแก่ภิกษุผู้นุ่งห่มคนเดียวอยู่ในป่าหรือย่อมทำอันตรายต่อชีวิตของเธอก็ได้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยนิปปริยายแล้ว จีวรใดเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งมิจฉาชีวะมีการทายนิมิตเป็นต้น และจีวรใด เมื่อเธอเสพอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป จีวรนั้นๆ เป็นอสัปปายะ. นอกจากนี้เป็นสัปปายะ. ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ ชื่อว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรอันเป็นสัปปายะนั้น. ทั้งโคจรสัมปชัญญะ ก็พึงทราบว่าไม่เว้นจากกรรมฐานเหมือนกัน คือ ชื่อว่า อัตตา คือ ตัวตนอะไรๆ ในภายในทำการห่มอยู่ซึ่งจีวร มิได้มี. ก็แต่ว่า การห่มจีวรย่อมมีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ในการทรงจีวรนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. ทั้งจีวรก็ไม่รู้ว่า เราห่มกายไว้ แม้กายเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกจีวรห่มไว้ ดังนี้. ว่าโดยสภาวะ ธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปกปิดซึ่งหมู่แห่งธาตุด้วยกัน เหมือนการห่อหนังสือ ด้วยท่อนผ้าเก่าๆ เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุได้จีวรชนิดดีมา ก็ไม่พึงโสมนัส ได้จีวรชนิดไม่ดีมา ก็ไม่พึงโทมนัส. เหมือนอย่างว่า ในสถานที่ทั้งหลายมีจอมปลวก และต้นไม้ใหญ่เป็นต้น ใครๆ ย่อมทำสักการะที่นั้นๆ ด้วยวัตถุทั้งหลายมีเครื่องประดับด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นก็ดี ไม่ทำสักการะโดยขว้างปาด้วยคูถ มูตร เปือกตม หรือประหารด้วยท่อนไม้และศัสตราเป็นต้นก็ดี จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่โสมนัส ด้วยสิ่งนั้นๆ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ ได้จีวรอย่างดีก็ไม่ทำความพอใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ทำความเสียใจ. บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะในการนุ่งห่มจีวรในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไป ดังพรรณามาฉะนี้. แม้ในการทรงบาตร ภิกษุก็ไม่ถือบาตรโดยเร็วเกินไป เมื่อถือเอาบาตรเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ โดยหวังว่า เราจักได้ภิกษา ดังนี้ เพราะการถือเอาบาตรอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พึงทราบว่าเป็นสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจประโยชน์อันตนควรได้. บาตรหนักเป็นอสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีร่างกายผอม ไม่มีกำลัง. บาตรที่ทำความสะอาดไม่ดี มีตุ่มสนิมขึ้น ๔-๕ ตุ่ม เป็นอสัปปายะ เพราะว่าบาตรที่ภิกษุทำความสะอาดไม่ดี ไม่สมควรแก่ภิกษุ เพราะว่าปลิโพธิ (ความกังวล) ย่อมมีแก่เธอผู้ชำระบาตรนั้นอยู่ทีเดียว. อนึ่ง บาตรมีสีเหมือนแก้วมณีอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ เป็นอสัปปายะ เหมือนนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องของจีวรนั้นแหละ. ก็บาตรที่ได้มาด้วยสามารถแห่งการทายนิมิต (หมอดู) เป็นต้นก็ดี เมื่อเธอเสพบาตรใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมก็ดี บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียว. บาตรนอกจากนี้ เป็นสัปปายะ. ในการทรงบาตรนี้ ชื่อว่าเป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้นๆ. และพึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่เว้นจากกรรมฐานเหมือนกันคือ ขึ้นชื่อว่า ตัวตน (อัตตา) อะไรในภายใน ถืออยู่ซึ่งบาตร หามีไม่. ด้วยว่า การถือบาตรย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิตมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ในฐานะเช่นนี้ แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา. บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือถือเอาไว้แล้ว แม้มือเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า บาตรอันเราถือไว้แล้ว ดังนี้ (เมื่อมีผู้ถามแทรกมาว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ใครเล่าเป็นผู้ถือและถืออะไร) ก็ธาตุทั้งหลายนั่นแหละ ย่อมถือหมู่ธาตุด้วยกัน ดุจการใช้คีมเหล็ก คีบบาตรที่ลนไฟ. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า การทรงบาตร นี้ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไปดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา เห็นคนอนาถามีมือและเท้าอันขาดแล้ว มีน้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมากับหมู่หนอน ที่ศาลาคนอนาถาอันเกลื่อนกล่นแล้วด้วยแมลงวันหัวเขียว จึงน้อมไป (ส่ง) ซึ่งวัตถุทั้งหลายมีผ้าสำหรับพันแผลและยาสำหรับรักษา ด้วยกระเบื้อง (ภาชนะใส่ของ) เพื่อชนอนาถาเหล่านั้น. ในสิ่งของเหล่านั้น บางคนย่อมได้ผ้าพันแผลเนื้อละเอียด บางคนได้เนื้อหยาบ แม้กระเบื้องใส่เภสัชก็เหมือนกัน บางคนได้ของดี บางคนได้ของเลว เขาเหล่านั้นย่อมไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ด้วยว่า ความต้องการของเขาด้วยผ้าเพียงปกปิดแผลเท่านั้น และด้วยกระเบื้องก็เพียงเป็นเครื่องรองรับเภสัชนั่นแหละฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุใดย่อมกำหนด (พิจารณา) จีวรดุจผ้าพันแผล และกำหนดพิจารณาบาตรดุจกระเบื้องเพื่อใส่เภสัช และกำหนดพิจารณาภิกษาอันได้แล้วในบาตรดุจเภสัชในกระเบื้อง. ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้มีปกติทำสัมปชัญญะอันอุดมด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวรแล. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อสิเต เป็นอาทิ. คำว่า อสิเต ได้แก่ ในการกินอาหาร คือก้อนข้าวที่ตกไปในบาตรเป็นต้น (อาหารบิณฑบาต). คำว่า ปีเต ได้แก่ การดื่ม มีข้าวยาคูเป็นต้น. คำว่า ขายิเต ได้แก่ การกัดเคี้ยวอาหารแข็งอันทำด้วยแป้งเป็นต้น. คำว่า สายิเต ได้แก่ การเลียลิ้มรสน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น. ในการกินอาหารเป็นต้นนั้น ประโยชน์แม้ทั้ง ๘ อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า เราจักไม่กินเพื่อเล่นเป็นต้น ชื่อว่าประโยชน์. และพึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอันเป็นประโยชน์นั้น. ก็บรรดาอาหารทั้งหลายอันเลว อันประณีต มีรสขม รสหวานเป็นต้น ภิกษุใดไม่มีความผาสุก ด้วยอาหารชนิดใด อาหารนั้นจัดเป็นอสัปปายะแก่เธอ. อนึ่ง อาหารใดที่เธอได้มาด้วยสามารถแห่งการทายนิมิต (หมอดู) เป็นต้นก็ดี ภิกษุฉันอาหารใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิด กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไปก็ดี อาหารนั้นๆ เป็น อสัปปายะโดยแท้ๆ อาหารตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา เป็นสัปปายะ. ในที่นี้ พึงทราบว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอาหารอันเป็นสัปปายะนั้นๆ และพึงทราบว่าเป็น โคจรสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่เว้นจากกรรมฐาน คือ ชื่อว่า ตัวตนอะไรๆ (อัตตา) ภายในบริโภคอาหารอยู่หามีไม่ ด้วยว่า ชื่อว่า การจับบาตรย่อมมีเพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. ชื่อว่า การหยั่งมือลงในบาตร ย่อมมี เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิตนั่นแหละ. การทำคำข้าว การยกคำข้าวเข้าปาก การเปิดปาก ก็ย่อมมีเพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต. มิได้มีใครเปิดขากรรไกรด้วยกุญแจ หรือด้วยเครื่องยนต์อะไรๆ เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ จึงวางคำข้าวในปากได้ จากนั้น ฟันเบื้องบนก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จดุจสาก ฟันเบื้องล่างก็ยังหน้าที่ให้สำเร็จดุจครก ทั้งลิ้นก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ดังมือ. น้ำลายใสที่ปลายลิ้นน้ำลายข้นที่โคนลิ้น ย่อมคลุกเคล้ากับอาหารในที่นั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ คำข้าวนั้นจึงเป็นไปในครก คือฟันเบื้องล่าง เปียกชุ่มด้วยน้ำลาย แหลกละเอียดแล้วด้วยสากคือฟันเบื้องบน ชื่อว่าใครๆ ใส่คำข้าวไปภายในด้วยช้อนหรือทัพพีหามีไม่. วาโยธาตุเท่านั้นย่อมให้อาหารเข้าไปภายใน ชื่อว่าใครๆ ให้คำข้าวที่เข้าไปแล้วๆ ให้ทรงอยู่ กระทำให้เคลื่อนไปสู่ความเป็นกากก็ไม่มี คำข้าวนั้นย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยสามารถแห่งวาโยธาตุเท่านั้น. ใครๆ ชื่อว่าทำเตาก่อไฟหุงข้าวอยู่อย่างนั้นก็ไม่มี เตโชธาตุนั่นแหละย่อมยังอาหารนั้นๆ ให้สุกอยู่. ชื่อว่าใครๆ นำอาหารที่สุกแล้วๆ ออกไปด้วยท่อนไม้หรือปลายไม้เท้าก็ไม่มี. วาโยธาตุนั้นแหละย่อมนำออกไป ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวได้ว่า วาโยธาตุย่อมนำอาหารนั้นให้เข้าไปภายใน ทั้งไม่ให้เข้าไปก็ได้ ย่อมทรงอาหารนั้นไว้ ย่อมให้เคลื่อนไหว ย่อมขยี้ ย่อมให้แห้งและย่อมนำออกไปภายนอก. ปฐวีธาตุ ย่อมช่วยให้อาหารทรงอยู่ ย่อมให้เปลี่ยนแปลง ย่อมให้แหลก ย่อมให้แห้ง ย่อมนำออก. อาโปธาตุ ย่อมทำอาหารให้เป็นยาง ย่อมทำให้เปียกชุ่ม ย่อมรักษาอาหารนั้น. เตโชธาตุ ย่อมให้อาหารที่เข้าไปภายในสุก. อากาศธาตุ ย่อมเป็นทางแห่งอาหารลงไป. วิญญาณธาตุ อาศัยประกอบความเพียรโดยชอบในที่นั้นๆ แล้วบริโภคอาหารดังนี้. ในข้อว่า การกิน เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไปอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ แม้โดยความพิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๑๐ อย่าง คือ ๑. โดยการเดินไป ๒. โดยการแสวงหา ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยการที่อาศัย (อาหารที่เข้าไปในนั้นย่อมเปื้อนด้วยของ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือเปื้อนด้วยน้ำดีบ้าง ด้วยเสมหะบ้าง ด้วยน้ำเหลืองบ้าง ด้วยเลือดบ้าง มิได้เว้นใครเลยสักคนเดียว) ๕. โดยความสั่งสม (กระเพาะอาหาร คือเมื่อเปื้อนด้วยของ ๔ อย่างแล้วก็ลงไปพักอยู่ที่กระเพาะอาหาร อันเป็นดุจหลุมมูตร คูถ) ๖. โดยความเป็นของยังไม่ย่อย ๗. โดยความเป็นของที่ย่อยแล้ว ๘. โดยความเป็นผล (หมายถึงอาหารที่ย่อยแล้ว ก็ผลิตผลไปเป็นผม ขนเป็นต้น ส่วนที่ย่อยไม่ดีก็ก่อให้เกิดโรคนับด้วยร้อยชนิด) ๙. โดยความไหลออก ๑๐. โดยความเปรอะเปื้อน. ส่วนถ้อยคำพิสดารในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบและศึกษาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งว่าโดยนิทเทสแห่งอาหารปฏิกูลสัญญาเถิด. พึงทราบวินิจฉัยใน อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ต่อไป. คำว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ. ในที่นี้ เมื่อบุคคลใดไม่ทำการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในเวลาที่ควรแล้ว เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากสรีระ ตาทั้งสองย่อมมืดมัว จิตย่อมไม่ตั้งมั่น โรคต่างๆ ย่อมเกิดขึ้น. แต่เมื่อทำการถ่ายตามปกติแล้ว เหตุทั้งปวงนั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนี้. นี้ชื่อว่าเป็นประโยชน์ ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. พึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนั้น. อนึ่ง เมื่อทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่อันไม่ควร ย่อมต้องโทษทางพระวินัย ย่อมเสื่อมจากยศ (คือชื่อเสียง) ย่อมเป็นอันตรายต่อชีวิตก็ได้. เมื่อทำการถ่ายในที่อันควร เหตุทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่าเป็นสัปปายะ. ในข้อว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม นี้ ชื่อว่าเป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้น. พึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่เว้นจากกรรมฐานนั้นแหละ คือ ชื่อว่า อัตตาไรๆ ในภายในกระทำการถ่ายอุจจาระปัสสสาวะอยู่หามีไม่. ก็เพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จึงมีได้. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อหัวฝีสุกงอมแล้ว เพราะการแตกไปแห่งหัวฝีนั้น หนองและเลือดจึงไหลออก โดยที่มิต้องประสงค์จะให้มันออก มันก็ออกฉันใด หรือเหมือนอย่างว่า น้ำย่อมไหลออกจากภาชนะของน้ำอันบุคคลเทให้ล้นแล้ว โดยมิประสงค์จะให้น้ำนั้นออกฉันใด อุจจาระในกระเพาะอาหาร หรือปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ก็ฉันนั้น อุจจาระและปัสสาวะอันสะสมไว้แล้ว ถูกเบียดเบียน ด้วยกำลังแห่งลมในกระเพาะ ก็ย่อมออกไป แม้มิพึงประสงค์จะให้ออกก็ตามที มันย่อมออกไปด้วยอำนาจของวาโยธาตุ. ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น หาใช่เป็นของภิกษุนั้นไม่ทั้งมิใช่ของใครอื่น. อุจจาระปัสสาวะนั้นเป็นของปฏิกูลที่หลั่งไหลออกจากสรีระตามธรรมดาเท่านั้น. เปรียบเหมือนอะไรเล่า เหมือนบุคคลเทน้ำเก่าจากหม้อน้ำ น้ำเก่านั้นก็มิใช่เป็นของหม้อน้ำนั้น ทั้งมิใช่เป็นของใครอื่น สักว่าเป็นการดำเนินไปตามเหตุปัจจัยฉันใด ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งการใคร่ครวญตามความเป็นไปฉันนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า คเต เป็นอาทิ. คำว่า คเต ได้แก่ ในการเดิน. คำว่า ฐิเต ได้แก่ ในการยืน. คำว่า นิสินฺเน ได้แก่ ในการนั่ง. คำว่า สุตฺเต ได้แก่ ในการนอน. (คำว่า สุตฺเต ซึ่งแปลว่าในการหลับนี้ ในที่นี้ท่านอธิบายว่า ได้แก่ในการนอน ท่านใช้คำว่า สยเน). ในการเดินเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบการทำสัมปชัญญะ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง พึงทราบในการเดินเป็นต้นต่อไป ดังนี้. ความย่อว่า ภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่ง เมื่อเธอเดินไป ก็คิดอย่างอื่น ตรึกอยู่อย่างอื่นไปอยู่ โดยทำนองเดียวกัน เมื่อยืนก็ดี เมื่อนั่งก็ดี เมื่อนอนก็ดี ก็คิดอย่างอื่น ตรึกถึงอย่างอื่น ย่อมยืนอยู่ นั่งอยู่ นอน จริงอยู่ ภิกษุใดก้าวลงสู่ที่จงกรม ก้าวไปจนถึงที่สุดแห่งการจงกรมก็กำหนดกรรมฐานว่า รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในที่สุดแห่งการจงกรมทางด้านทิศตะวันออก ย่อมดับไปก่อนๆ ที่จะถึงที่อันเป็นที่สุดแห่งการจงกรมทิศตะวันตกทีเดียว. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย แม้เป็นไปในที่สุดแห่งการจงกรมด้านทิศตะวันตก ก็ย่อมดับไปก่อนๆ ที่จะถึงที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรมทางด้านทิศตะวันออกนั่นแหละ. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในท่ามกลางอันเป็นไปในท่ามกลางที่อันเป็นที่จงกรม ก็ย่อมดับไปก่อน ไม่ทันถึงที่สุดทั้งสอง (ทั้ง ----------------------------------------------------- อุฏฺฐหนฺโต กมฺมฏฺฐานํ คเหตฺวาว อุฏฺฐาติ. อยํ ภิกฺขุ คตาทีสุ สมฺปชานการี นาม โหตีติ. เมื่อให้กรรมฐานตั้งขึ้นแล้วก็ถือเอากรรมฐานนั่นแหละให้ตั้งอยู่ต่อไป. ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้มีปกติทำสัมป ------------------------- เมื่อจะลุกออกไป ก็ถือเอากรรมฐานนั้นแหละแล้วลุกออกไป. ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในคำว่า ในการเดิน เป็นต้น. ----------------------------------------------------- ส่วนกรรมฐานในการหลับ มิได้แจ่มแจ้งอย่างนี้ กรรมฐานอันมิแจ่มแจ้ง ภิกษุไม่ควรกระทำ. เพราะฉะนั้น ภิกษุใดย่อมสามารถเพียงใด ก็กำหนดก้าวไปเพียงนั้น กำหนดยืนอยู่แล้ว นั่งแล้วเพียงนั้น เมื่อนอน กำหนดอย่างนี้แล้วจึงนอน คือ กายก็ไม่มีเจตนา เตียงก็ไม่มีเจตนา. กายย่อมไม่รู้ว่า เรานอนบนเตียง. แม้เตียงเล่าก็ย่อมไม่รู้ว่า กายอันเรานอนแล้ว ดังนี้ เมื่อกำหนดอย่างนี้ว่า กายไม่มีเจตนา นอนแล้วบนเตียงอันไม่มีเจตนา ดังนี้ กำหนดอยู่บ่อยๆ จิตย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เมื่อตื่นก็ถือเอากรรมฐานนั่นแหละ ย่อมตื่นอยู่. ภิกษุนี้ชื่อว่ามีปกติทำสัมปชัญญะในการนอน (ในการหลับ) ดังนี้. คำว่า ชาคริเต แปลว่า ในการตื่น. ในข้อนี้ เมื่อภวังคจิต (ในการหลับ) ยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่าการตื่นย่อมไม่มี ภิกษุกำหนดว่า เมื่อจิตควรแก่การทำงานเป็นไปอยู่ ชื่อว่า การตื่นย่อมมี ดังนี้ ชื่อว่ามีปกติทำสัมปชัญญะในการตื่น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแบ่งกลางคืนและกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แม้เอาใจใส่อยู่ ๕ ส่วน ก็ชื่อว่ามีปกติทำสัมปชัญญะในการตื่น. คำว่า ภาสิเต แปลว่า ในการพูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป คือสัททายตนะ ไม่มีอยู่ ชื่อว่าการพูดยังไม่มี ภิกษุกำหนดสัททายตนะซึ่งเป็นไปอยู่ ชื่อว่ามีปกติทำสัมปชัญญะในการพูด. ภิกษุแสดงธรรมโดยวิมุตตายตนสีสะอยู่ก็ดี กล่าวกถาอันอาศัยเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง เพื่อละติรัจฉานกถา ๓๒ อย่างก็ดี ชื่อว่ามีปกติทำสัมปชัญญะในการพูด. คำว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ การนิ่ง การไม่พูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป คือสัททายตนะยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่าความเป็นผู้นิ่งก็มิได้มี. ภิกษุไม่กำหนดความเป็นไปแห่งสัททายตนะนั้น ชื่อว่ามีปกติทำสัมป อนึ่ง ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้ อิริยาบถหนึ่งมาแล้วในฐานทั้งสอง (ท่านแสดงไว้ ๒ อย่าง) คือ ในข้อว่า อภิกฺกนฺเต (การก้าวไปข้างหน้า) ปฏิกฺกนฺเต (การถอยกลับมาข้างหลัง) ที่กล่าวไว้ก่อนนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้เดินทางไปสู่บ้านเพื่อภิกขาจาร และทั้งการเดินกลับมาด้วยสามารถแห่งการเดินทางไกล. ส่วนในข้อว่า คเต (ในการเดิน) ฐิเต (ในการยืน) นิสินฺเน (ในการนั่ง) พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอิริยาบถ ๔ คือ ในการก้าวเท้าไปเล็กๆ น้อยๆ ในวิหาร. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กตมา สติ (แปลว่า สติเป็นไฉน) เป็นต้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงประโยชน์อะไร ด้วยคำว่า โส วิวิตฺตํ (แปลว่า ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด). ตอบว่า ย่อมทรงแสดงเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งการประกอบความเพียร อันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุนั้น. จริงอยู่ คุณทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ของภิกษุใดมีอยู่ในภายใน ภิกษุนั้นสมควรอยู่ป่า. แต่ถ้าคุณเหล่านั้นไม่มีแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่ควรอยู่ป่า เพราะว่าการอยู่ป่าของภิกษุเห็นปานนี้ ย่อมเป็นเช่นกับการอยู่ในดงของสัตว์ร้ายทั้งหลาย มีลิงดำ หมี เสือดาวและเสือเหลืองเป็นต้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะความที่ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยอยู่ตามความปรารถนา. ด้วยว่า ประโยชน์ไรๆ อันมีการอยู่ป่าเป็นเหตุของภิกษุนั้นไม่มี เธอย่อมประทุษร้ายการอยู่ป่าด้วย และประทุษร้ายป่าทั้งหลายด้วย ทั้งย่อมยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา. ส่วนภิกษุใดมีคุณมีประมาณเท่านี้ในภายใน ภิกษุนั้นสมควรอยู่ป่า. เพราะว่าภิกษุนั้นอาศัยการอยู่ป่า เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วถือเอาพระอรหัต ย่อมปรินิพพาน ชื่อว่าย่อมทำป่าทั้งสิ้นให้งาม ย่อมทำศีรษะแห่งป่าทั้งหลายให้สะอาด ย่อมทำคำสั่งสอนของพระชินเจ้าทั้งสิ้นให้แผ่ออกไป เพราะฉะนั้น พระศาสดา เมื่อทรงแสดงเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งความเพียรอันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุเห็นปานนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส วิวิตฺตํ เสนาสนํ ภชติ ดังนี้ (แปลว่า ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด). บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ เป็นเสนาสนะว่างเปล่า มีเสียงน้อยคือมีเสียงกึกก้องน้อย ก็เพื่อแสดงเนื้อความนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตญฺจ อนากิณฺณํ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อนากิณฺณํ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว คือไม่ถูกเบียดเบียน. ในที่นี้การอาศัยภูเขา อาศัยป่า อาศัยแม่น้ำโดยรอบประมาณคาวุตหนึ่งก็ดี กึ่งโยชน์ก็ดีแห่งเสนาสนะใด ทั้งใครๆ ไม่สามารถเพื่อเข้าไปในเวลาอันไม่สมควร เสนาสนะนี้ ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นแล้วแม้ในที่ใกล้. เสนาสนะใดห่างไกลมีประมาณกึ่งโยชน์ หรือประมาณหนึ่งโยชน์ เสนาสนะนี้ ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นแล้วในที่ไกล. ภิกษุย่อมนอนและย่อมนั่ง ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้จึงชื่อว่าเสนาสนะของภิกษุ. เพื่อแสดงประเภทแห่งเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า มญฺโจ (เตียง) ปีฐํ (ตั่ง) เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มญฺโจ ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ ๑. เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๒. เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกับขา ๓. เตียงมีขาเหมือนก้ามปู ๔. เตียงมีขาจดแม่แคร่ซึ่งถอดออกได้ ตั่งก็เหมือนกัน. คำว่า ภิสี ได้แก่ ที่นอน ๕ ชนิด คือ ๑. ที่นอนทำด้วยขนสัตว์ ๒. ที่นอนทำด้วยท่อนผ้า ๓. ที่นอนทำด้วยเปลือกไม้ ๔. ที่นอนทำด้วยใบไม้ ๕. ที่นอนทำด้วยหญ้า หมอนหนุนศีรษะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสนาสนะ คือหมอน. หมอนนั้น ว่าโดยส่วนกว้างมีประมาณหนึ่งคืบสี่นิ้ว สมควร. โดยส่วนยาวประมาณสมควรแก่ความกว้างของเตียง. คำว่า วิหาโร (แปลว่า เสนาสนะคือวิหาร) ได้แก่ เสนาสนะที่ท่านแสดงไว้ คือเสนาสนะที่เป็นที่พักในเวลากลางวันและที่พักในเวลากลางคืน อันเป็นสถานที่รอบๆ บริเวณ. คำว่า อฑฺฒโยโค (แปลว่า เสนาสนะคือเพิง) ได้แก่ เรือนมีรูปโค้งดังครุฑ. คำว่า ปาสาโท (แปลว่า เสนาสนะคือปราสาท) ได้แก่ ปราสาทยาวที่เขาทำเป็น ๒ ยอด (หรือ ๒ ช่อฟ้า). คำว่า อฏฺโฏ (เสนาสนะคือป้อม) ได้แก่ ที่พักอยู่พิเศษ มี ๔-๕ ชั้น มีฝาหนาที่เขาก่อด้วยอิฐ เพื่อป้องกันศัตรูมีพระราชาผู้เป็นปรปักษ์กันเป็นต้น. คำว่า มาโฬ (เสนาสนะคือโรง) ได้แก่ โรงมีรูปกลม เช่นกับโรงฉันอาหาร. ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวว่า เป็นปราสาทสี่เหลี่ยม สงเคราะห์เข้าในปราสาทมียอดเดียว. คำว่า เลนํ (เสนาสนะคือที่เร้น) ได้แก่ เสนาสนะที่เขาขุดภูเขากระทำ หรือเสนาสนะที่ทำกระท่อมในที่บางส่วนแห่งเงื้อมเขา. คำว่า คุหา (เสนาสนะคือถ้ำ) ได้แก่ ในรอยแยกแห่งแผ่นดิน หรือในที่ใดสมควรตามประทีปไว้ทั้งกลางคืนและกลางวัน ในที่นั้น ชื่อว่าถ้ำแห่งภูเขา หรือถ้ำแห่งแผ่นดิน. คำว่า รุกฺขมูลํ (เสนาสนะคือโคนไม้) ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้ที่เขาล้อมรั้ว. คำว่า เวฬุคุมฺโพ (เสนาสนะคือพุ่มไม้) ได้แก่ กอไม้ไผ่. ก็หรือว่า เตียงเป็นต้นที่ตั้งไว้โดยหวังว่าภิกษุจะมา หรือในที่ใดพวกภิกษุย่อมประชุมกัน หรือที่ใดเป็นที่ควรประชุมของภิกษุเหล่านั้น ที่ทั้งหมดนั้นก็จัดเป็นเสนาสนะ. คำว่า ภชติ ได้แก่ เข้าถึงอยู่. ในข้อว่า สมฺภชติ นั้นได้แก่ เป็นผู้ไม่เดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่ง จึงชื่อว่าเข้าถึงอยู่ด้วยดี. บทว่า เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพด้วยสามารถแห่งการอยู่อาศัย. บทว่า นิเสวติ ได้แก่ ไม่เป็นผู้เดือดร้อน เข้าอาศัยอยู่แล้ว ชื่อว่าเสพอยู่. บทว่า สํเสวติ ได้แก่ เมื่อยังเสนาสนวัตรให้ถึงพร้อม ชื่อว่าเสพอยู่โดยชอบ. บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งบทว่า วิวิตฺตํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า อรญฺญรุกฺขมูเล เป็นอาทิ. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อรญฺญํ ดังต่อไปนี้. ว่าโดยปริยายแห่งพระวินัยก่อน คำว่า ป่า ท่านหมายเอาสถานที่เว้นจากบ้านและอุปจาระแห่งบ้าน ที่เหลือเรียกว่าป่า. โดยปริยายแห่งพระสูตร คำว่า ป่า ได้แก่ ป่าที่ภิกษุอาศัยอยู่ คือเป็นเสนาสนะอันอยู่ห่างจากบ้านประมาณ ๕๐๐ ธนู ชื่อว่าป่า. ก็พระวินัยและพระสูตรแม้ทั้งสอง ชื่อว่าปริยายเทศนา (คือป่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยอ้อม). ส่วนพระอภิธรรม ชื่อว่านิปปริยายเทสนา (คือป่าที่ทรงแสดงโดยตรง). เพื่อแสดงป่าโดยปริยายแห่งพระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ อินฺทขีลํ ดังนี้. อธิบายว่า บริเวณนอกจากเสาเขื่อน ชื่อว่าป่า. อนึ่ง บรรดาเสนาสนะทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้น ชื่อว่าโคนไม้ เพราะเป็นสิ่งที่บุคคลรู้ได้โดยง่ายตามธรรมดา (ด้วยเหตุนั้น) จึงตรัสว่า รุกฺขมูลํ เป็นอาทิ. คำว่า ปพฺพตํ คือ ภูเขา. จริงอยู่ ในข้อนี้ เมื่อภิกษุทำกิจด้วยน้ำในสระตระพังหินเสร็จแล้ว นั่งพักอยู่ที่เงาไม้อันเย็น กระทบลมเย็นซึ่งพัดมาจากทิศต่างๆ อยู่ จิตของเธอย่อมสงบ. วินิจฉัยในคำว่า กนฺทรํ น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กํ. ถามว่า ประเทศแห่งภูเขานั้น แยกออกไปด้วยอะไร. ตอบว่า แยกออกไปด้วยน้ำ. อาจารย์บางพวกย่อมกล่าวว่า ที่นั้นเป็นที่ลาดบ้าง ว่าเป็นแอ่งน้ำบ้าง. จริงอยู่ ในที่นั้นมีเมล็ดทรายเช่นกับแผ่นเงิน ป่าชัฏนั้นเป็นเช่นกับเพดานอันสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี. ภิกษุก้าวลงสู่รอยแยกเห็นปานนี้ ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ทำตัวให้เย็นสบาย ทำกองทรายให้สูงขึ้น จัดแจงผ้าบังสุกุลจีวรแล้วนั่งทำสมณ คำว่า คิริคุหํ (แปลว่า ถ้ำในระหว่างภูเขา) คือ ถ้ำในระหว่างแห่งภูเขาทั้งสอง หรือว่าในภูเขาหนึ่งมีช่องใหญ่เช่นกับอุโมงค์. ลักษณะแห่งสุสาน ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์ชื่อวิสุทธิมรรค. คำว่า วนปตฺถํ (ดง) ได้แก่ สถานที่นอกจากหมู่บ้าน มิใช่ที่ใกล้เคียงของพวกมนุษย์ คือในที่ไม่มีการไถ การหว่าน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อเสนาสนะอันไกลนี้ว่า วนปตฺถํ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น พระองค์ทรงแยกแสดงเสนาสนะอันไม่มีเสียงรบกวนนี้ไว้ต่างหาก ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงอธิบายคำนั้นตามลำดับแห่งบทที่พระองค์ทรงตั้งไว้ แต่ทรงอธิบายไว้ในภายหลังแห่งคำทั้งปวง ดังนี้. คำว่า อพฺโภกาสํ (แปลว่า ที่แจ้ง) คือสถานที่ไม่มีที่กำบัง. ก็ภิกษุประสงค์ในที่เช่นนี้ ต้องทำให้เป็นเพิง ด้วยจีวรแล้วอยู่. คำว่า ปลาลปุญฺชํ ได้แก่ กองฟาง. จริงอยู่ ภิกษุดึงฟางออกจากกองฟางใหญ่แล้วทำให้เป็นที่อยู่ เช่นกับเงื้อมเขาและถ้ำ. แม้ภิกษุจะเอาฟางใส่ไว้บนพุ่มไม้เป็นต้นแล้วนั่งภายใต้กระทำสมณธรรมก็ได้. คำนี้ ท่านหมายเอาเสนาสนะ คือกองฟางนั้นแล. ในวนปัตถนิทเทส (ในนิทเทสว่าด้วยดง) คำว่า สโลมหํสานํ ได้แก่ ในที่ใด เมื่อเข้าไปแล้ว ขนพองสยองเกล้าย่อมเกิดขึ้น ที่เห็นปานนี้ ชื่อว่าเสนาสนะประกอบด้วยความน่ากลัว. คำว่า ปริยนฺตานํ ได้แก่ ชื่อว่าเสนาสนะ อันตั้งอยู่ปลายแดน เพราะเป็นเสนาสนะไกล. คำว่า น มนุสฺสุปจารานํ ได้แก่ เสนาสนะตั้งอยู่เลยป่าไป คือไม่มีพวกมนุษย์ทำการไถและหว่าน. คำว่า ทุรภิสมฺภวานํ ได้แก่ เสนาสนะที่บุคคลไม่อาจเพื่ออยู่อาศัยโดยความยินดีชอบใจในวิเวกได้. ในนิทเทสแห่งอัปปสัททะเป็นต้น. คำว่า อปฺปสทฺทํ ได้แก่ มีเสียงน้อย (สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน) โดยหมายถึงเสียงของคำพูด. คำว่า อปฺปนิคฺโฆสํ ได้แก่ มีเสียงกึกก้องน้อย (ไม่มีเสียงอื้ออึง) โดยหมายถึงเสียงกึกก้องของชาวพระนคร. ก็เพราะศัพท์ทั้งสองแม้นี้ เป็นอย่างเดียวกันโดยอรรถแห่งศัพท์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ อปฺปสทฺทํ ตเทว ตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ดังนี้. คำว่า วิชนวาตํ ได้แก่ เว้นจากลมแห่งสรีระแห่งชนผู้สัญจรมาในภายหลัง. พระบาลีว่า วิชนวาทํ ดังนี้ ก็มี. อธิบายว่า เว้นแล้วจากการกล่าวของชนผู้อยู่ภายใน. ก็เพราะเสนาสนะนั้นมีเสียงกึกก้องน้อยอันใด เสนาสนะนั้นนั่นแหละ เว้นแล้วจากการสัญจรของชนและจากวาทะของชน ฉะนั้นในนิทเทสของพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ตเทว ตํ วิชนวาตํ ดังนี้. คำว่า มนุสฺสราหเสยฺยกํ ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งการทำความลับของพวกมนุษย์. ก็เพราะเหตุที่เสนาสนะนั้นเว้นจากการสัญจรของประชุมชน ด้วยเหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ วิชนวาตํ ตเทว ตํ มนุสฺสราหเสยฺยกํ ดังนี้. คำว่า ปฏิสลฺลานสารูปํ ได้แก่ เป็นเสนาสนะสมควรแก่วิเวก. เพราะเสนาสนะนั้นเป็นที่อาศัยทำความลับของพวกมนุษย์ โดยนิยมนั่นแหละมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ตํ มนุสฺสราหเสยฺยกํ ตเทว ตํ ปฏิสลฺลานสารูปํ ดังนี้. เสนาสนะ คือป่า ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิทเทสแห่งคำว่า อรญฺญคตา เป็นต้นนั่นแหละ. เสนาสนะคือโคนไม้ก็เหมือนกัน. ส่วนเสนาสนะแม้ทั้งหมดที่เหลือสงเคราะห์ด้วยสุญญาคาร. คำว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา (แปลว่า นั่งคู้บัลลังก์) ได้แก่ การนั่งคู้ขาโดยรอบ. คำว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย ได้แก่ ตั้งสรีระท่อนบนให้ตรง คือยังที่ต่อแห่งที่ต่อในกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ ให้เป็นไปตามลำดับ. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั้นนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อและเอ็นทั้งหลาย ย่อมไม่โค้งงอ. ทีนั้นเวทนาอันใดของเธอที่พึงเกิดขึ้น เพราะการน้อมไปแห่งสิ่งเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตของเธอย่อมเป็นธรรมชาติสงบ กรรมฐานย่อมไม่ตกไป ย่อมเจริญขึ้นคือย่อมเพิ่มขึ้น. ก็แม้คำว่า อุชุโก โหติ กาโย ฐิโต ปณิหิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายเอาเนื้อความนี้เหมือนกัน. คำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา แปลว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กระทำสติในที่ใกล้ปาก ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตินี้อันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วที่ปลายจมูก หรือว่า ที่นิมิตเหนือปาก. ก็ในคำว่า มุขนิมิตฺตํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นซึ่งประเทศในท่ามกลางแห่งริมฝีปากเบื้องบน คือว่าลมแห่งนาสิกย่อมกระทบในที่ใด. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปริ ได้แก่ มีการกำหนดเป็นอรรถ. คำว่า มุขํ มีการนำออกไปเป็นอรรถ. คำว่า สติ มีการตั้งมั่นเป็นอรรถ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบในข้อนี้แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทาฉะนั้น. ความสังเขปพึงทราบในที่นี้ว่า ภิกษุสมควรกำหนดกระทำสติ. อภิชฌานิทเทสมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล. พึงทราบการพรรณนาโดยย่อในอภิชฌานิทเทส ดังนี้. ข้อว่า อภิชฌํ โลเก ปหาย (แปลว่า ละอภิชฌาในโลก) ได้แก่ โลก ชื่ออุปาทานขันธ์ ๕ เพราะอรรถว่ามีการเสื่อมและสลายไปเป็นธรรมดา. เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า ท่านละราคะ ข่มกามฉันทะในอุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว. คำว่า วิคตาภิชฺเฌน (แปลว่าจิตที่ปราศจากอภิชฌา) ได้แก่ ชื่อว่ามีอภิชฌาไปปราศแล้ว เพราะละได้แล้วด้วยวิกขัมภนประหาณ. อธิบายว่า มีอภิชฌาไปปราศแล้ว เช่นกับด้วยจักขุวิญญาณ หามิได้. คำว่า อภิชฺฌาย จิตตํ ปริโสเธติ (แปลว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา) ได้แก่ ย่อมเปลื้องจิตจากอภิชฌา. อธิบายว่า อภิชฌานั้นย่อมปล่อยซึ่งจิตนั้น ครั้นปล่อยแล้ว ย่อมไม่ถือเอาซึ่งจิตนั้นอีกโดยประการใด ภิกษุนั้นย่อมกระทำโดยประการนั้น. ในนิทเทสบททั้งหลาย พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อเสพ ชื่อว่าย่อมชำระซึ่งจิตนั้น เมื่อเจริญ ชื่อว่าย่อมยังจิตให้หมดจด เมื่อกระทำให้มาก ชื่อว่าย่อมยังจิตให้บริสุทธิ์. แม้ในคำว่า โมเจติ (แปลว่า ให้พ้น) เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ แม้แห่งคำทั้งหลายมีคำว่า พยาปาทปโทสํ ปหาย (แปลว่า ละพยาบาทและประทุษร้าย) เป็นต้น. จิตย่อมพยาบาท ย่อมละปกติภาวะด้วยธรรมชาตินี้ เช่นกับขนมกุมมาสบูดเป็นต้น เหตุนั้นธรรมชาตินี้จึงชื่อว่าพยาปาทะ. จิตใดย่อมทำลาย หรือย่อมทำให้เสียหาย หรือย่อมพินาศไป เพราะถึงการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่าปโทสะ (คือประทุษร้าย). คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อของความโกรธโดยแท้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โย พยาปาโท โส ปโทโส โย ปโทโส โส พยาปาโท (แปลว่า ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่าความประทุษร้าย ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่าความพยาบาท) ดังนี้ ก็เพราะศัพท์นี้ ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี แต่ตรัสว่า อพฺยาปนฺนจิตฺโต เพียงเท่านี้. ความป่วยแห่งจิต ชื่อว่าถีนะ. ความป่วยแห่งเจตสิก ชื่อว่ามิทธะ. ถีนะด้วย มิทธะด้วย เรียกว่าถีนมิทธะ. สองบทว่า สนฺตา โหนฺติ (แปลว่า สงบ) ได้แก่ ธรรมทั้งสองคือถีนมิทธะเหล่านี้ ชื่อว่าสงบลงแล้ว เพราะความสงบลงด้วยนิโรธ. ในที่นี้ ท่านทำการแยกถ้อยคำไว้ โดยหมายเอาถีนมิทธะนี้. คำว่า อาโลกสญฺญี (แปลว่า มีอาโลกสัญญา) ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีนิวรณ์ไปปราศแล้ว เพื่อสามารถอันจำอาโลกะอันตนเห็นแล้วในเวลาราตรีบ้าง ในเวลากลางวันบ้าง. คำว่า สโต สมฺปชาโน (แปลว่า มีสติสัมปชัญญะ) ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยสติและญาณ. ก็คำว่า จตฺตตฺตา (แปลว่า เพราะความที่ถีนมิทธะ ... อันภิกษุนั้นสละแล้ว) เป็นต้น ในนิทเทสบทแห่งอาโลกสัญญา ซึ่งปราศจากถีนมิทธะนั้น เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น. ในคำว่า จตฺตตฺตา ได้แก่ เป็นเหตุของผู้สละแล้ว. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในคำว่า จตฺตตฺตา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งการสละโดยภาวะของตน. คำว่า วนฺตตฺตา (แปลว่า คายแล้ว) นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งการแสดงโดยความเป็นผู้ไม่ยึดถือ. คำว่า มุตฺตตฺตา (แปลว่า ปล่อยแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการหลุดพ้นจากการสืบต่อ. คำว่า ปหีนตฺตา (แปลว่า ละแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่มีที่เป็นที่ตั้งในที่ไหนๆ ของผู้หลุดพ้นแล้ว. คำว่า ปฏินิสฺสฏฺฐตฺตา (แปลว่า สละคืนแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการแสดงถึงภิกษุผู้สละซึ่งเคยยึดถือมาในก่อน. คือชื่อว่าความเป็นผู้สละคืนแล้ว เพราะหลุดพ้น หรือเพราะครอบงำด้วยสามารถแห่งภาวนา. คำว่า ปหีนปฏินิสฺสฏฺฐตฺตา (แปลว่า ละแล้วสละคืนแล้ว) ได้แก่ การสละด้วยอำนาจแห่งการข่ม คือย่อมไม่ให้การสืบต่อเกิดขึ้นบ่อยๆ ฉันใด ชื่อว่า ปฏินิสฺสตฺตา ก็ฉันนั้น. คำว่า อาโลกา โหติ (แปลว่า สว่าง) ได้แก่ มีรัศมีดี. ชื่อว่า วิวฏา (เปิดเผย) เพราะอรรถว่าไม่มีเครื่องกั้น. ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปกิเลส. ชื่อว่าผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่าปภัสสร. อาการอันไม่สงบ ชื่อว่าอุทธัจจะ ในบทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ นี้. ความประพฤติผิดในเพราะวัตถุ ชื่อว่ากุกกุจจะ เพราะความเป็นผู้ไม่ชี้ขาดหรือตัดสินในอารมณ์. แม้ในคำว่า สนฺตา โหนฺติ นี้ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งวาทะโดยนัยก่อนนั่นแหละ. คำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ (แปลว่า เป็นผู้ข้ามได้แล้วซึ่งวิจิกิจฉา) ได้แก่ ข้ามแล้ว ก้าวล่วงแล้วซึ่งวิจิกิจฉา ดำรงอยู่. คำว่า ติณฺโณ แม้ในนิทเทสแห่งคำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสด้วยสามารถแห่งการแสดงถึงความไม่จมลงในวิจิกิจฉา. คำว่า อุตฺติณฺโณ (แปลว่า ข้ามพ้นแล้ว ) นี้ ตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งการแสดงถึงการก้าวล่วงวิจิกิจฉานั้น. คำว่า นิตฺติณฺโณ (แปลว่า ข้ามออกแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งภาวนา คือด้วยสามารถแห่งการแสดงความที่วิจิกิจฉานั้นอันตนข้ามแล้ว เพราะครอบงำอุปัททวะทั้งหลายได้แล้ว. คำว่า ปารคโต (แปลว่า ถึงซึ่งฝั่ง) ได้แก่ ถึงฝั่งวิจิกิจฉา คือความไม่มีวิจิกิจฉา. คำว่า ปารมนุปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงฝั่งนั้นนั่นแหละ ด้วยการประกอบความเพียรภาวนาเนืองๆ คือย่อมแสดงซึ่งความปฏิบัติมีผล อย่างนี้แก่ภิกษุ. คำว่า อกถํกถี (แปลว่า ไม่มีความสงสัยอันเป็นไปทั่วแล้วอย่างนี้ว่า นี้อย่างไร นี้เป็นอย่างไร. คำว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมอันไม่มีโทษทั้งหลาย. คำว่า น กงฺขติ ได้แก่ ไม่ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือหนอ. คำว่า น วิจิกิจฺฉติ (แปลว่า ไม่เคลือบแคลง) ได้แก่ ไม่ยาก ไม่ลำบาก เพื่อวินิจฉัยธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะ. คำว่า อกถํกถี โหติ (แปลว่า ไม่สงสัย) ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากความสงสัยว่า กุศลธรรมเหล่านี้ เป็นอย่างไรหนอ. คำว่า นิกฺกถํกโถ วิคตกถํกโถ (แปลว่า หมดความสงสัย) เป็นไวพจน์ของคำว่า เป็นผู้ไม่มีความสงสัย นั่นแหละ. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวจนัตถะในพระบาลีนั้นดังต่อไปนี้. ภิกษุใดออกไปแล้วจากความสงสัย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ามีความสงสัยออกแล้ว (คือไม่มีความสงสัย). ความสงสัยของภิกษุนั้นปราศไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ามีความสงสัยไปปราศแล้ว (คือปราศจากความสงสัย). คำว่า อุปกิเลเส ได้แก่ อุปกิเลส. จริงอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเข้าถึงจิตแล้ว จักยังจิตนั้นให้เศร้าหมอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุปกิเลเส ดังนี้. คำว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ (แปลว่า ทำปัญญาให้ทราม) ได้แก่ เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและปัญญาอันเป็นโลกุตตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ทั้งเข้าไปตัดซึ่งสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อันเกิดขึ้นแล้วให้ตกไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุปกิเลสเหล่านี้ทำปัญญาให้ทราม ดังนี้. แม้คำว่า อนุปฺปนฺนา เจว ปญฺญา น อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนา จ ปญฺญา นิรุชฺฌติ นี้ (แปลว่า ปัญญาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความที่กล่าวแล้วนี้เหมือนกัน. คำทั้งปวงที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีอรรถดังเช่นที่ข้าพเจ้าประกาศแล้วในหนหลังในที่นั้นๆ แล. คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าวในนิทเทสทั้งหลาย แม้มีคำ วิวิจฺเจว กาเมหิ (แปลว่า สงัด จริงอยู่ แม้ในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ฌานประกอบด้วยองค์ ๒ ฉันใด ในนิทเทสนี้มิได้ตรัสฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันอย่างนี้ว่า ฌานนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้ว โดยนัยมีคำว่า สัมปสาทะ (แปลว่า ความ ก็ในบทนิทเทสว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ คำทั้งหมดมีคำว่า อาจิกฺขนฺติ เทเสนฺติ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกันโดยแท้. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกด้วยสามารถแห่งอุทเทส (คือ แม้ในนิทเทสแห่งสมติกกมะ (แปลว่า เพราะการก้าวล่วง) ชื่อว่าก้าวล่วงแล้ว เพราะความเป็นผู้ออกแล้วจากธรรมนั้นๆ (หมายถึง องค์ฌานนั้น) ในที่นั้นๆ ชื่อว่าข้ามแล้ว เพราะบรรลุภูมิในเบื้องบน ชื่อว่าข้ามพ้นแล้ว เพราะความเป็นผู้ไม่เสื่อมจากฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบความนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้. วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ฌานวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ มาติกานิเทศ จบ. |