บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ก็บท (ที่สงเคราะห์ไม่ได้) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็นต้น. เพราะว่า รูปขันธ์สงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น แต่รูปขันธ์นั้น ชื่อว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะและธาตุ ๑๑ ทั้งกึ่งก็ไม่มี เวทนาเทียวนับสงเคราะห์ได้ด้วยเวทนาขันธ์เท่านั้น แม้เวทนาขันธ์นั้นชื่อว่านับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย ก็หาไม่. เมื่อไม่มี เพราะธรรมเหล่านี้สงเคราะห์ไม่ได้อย่างนี้ บททั้งหลายเหล่าอื่นนั้น และบทมีมนายตนะ ธัมมายตนะเป็นต้น มีรูปอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงสงเคราะห์ไว้ในวาระนี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งรูปอันไม่เจือด้วยอรูป และซึ่งเอกเทศแห่งวิญญาณอันไม่เจือด้วยธรรมอื่น บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในนิทเทสแห่งบทนี้. ในที่สุด ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นไว้ในอุทานคาถาอย่างนี้ว่า "ทสายตนา สตฺตรส ธาตุโย สตฺตินฺทฺริยา อสญฺญาภโว เอกโวการภโว ปริเทโว สนิทสฺสนสปฺปฏิฆํ อนิทสฺสนํ ปุนเรว๑- สปฺปฏิฆํ อุปฺปาทา" แปลว่า นิทเทสนี้มี ๔๒ บท คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐ บท ธาตุ ๑๗ บท (เว้นธัมมธาตุ) รูปอินทรีย์ ๗ บท (คือจักขุนทรีย์เป็นต้น จนถึงปุริสินทรีย์เป็นที่สุด) อสัญญีภพ ๑ บท เอกโวการภพ ๑ บท ปริเทวะ ๑ บท สนิทัสสนสัปปฏิฆะ ๑ บท อนิทัสสนสัปปฏิฆะ ๑ บท สนิทัสสนะ ๑ บท สัปปฏิฆะ ๑ บท อุปาทาธรรม ๑ บท. ____________________________ ๑- บางแห่งเป็น ปุนเทว เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการนับสงเคราะห์ธรรมที่ได้และไม่ได้ด้วยสามารถแห่งบทเหล่านั้นนั่นแหละ. ก็ว่าด้วยอำนาจแห่งปัญหา ในวาระนี้ ทรงทำไว้ ๘ ปัญหา คือ ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมธรรม ๒๐ ด้วยสามารถแห่งอายตนะ (โอฬาริกายตนะ ๑๐) และธาตุ (โอฬาริกธาตุ ๑๐) ไว้ในคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมวิญญาณธาตุ ๗. ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมอินทรีย์ ๗ (คือ มีจักขุนทรียเป็นต้น) ปัญหา ๑ ทำไว้เพราะรวบรวมภพทั้ง ๒ และ ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย ปริเทวบทและสนิทัสสนสัปปฏิฆบท. ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย อนิทัสสนสัปปฏิฆบท. ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย สนิทัสสนบททั้งหลาย. ปัญหา ๑ ทำไว้ด้วย สัปปฏิฆบททั้งหลายและอุปาทาธรรมทั้งหลาย. บรรดาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้ คือ ในปัญหาที่ ๑ ก่อน. สองบทว่า "จตูหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอรูปขันธ์ ๔. สองบทว่า "ทฺวีหายตเนหิ" ได้แก่ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยมนายตนะ ๑ กับบรรดาจักขวายตนะเป็นต้นอย่างละหนึ่งๆ. สองบทว่า "อฏฺฐหิ ธาตูหิ" ได้แก่สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ธาตุ ๘ คือ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗ กับบรรดาจักขุธาตุเป็นต้น อย่างละหนึ่งๆ. ในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังนี้ว่า จักขวายตนะสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์ เป็นรูปขันธ์ได้ เมื่อจักขวายตนะนั้นสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์แล้ว จักขวายตนะหนึ่งนั้นแหละก็สงเคราะห์ได้ด้วยการสงเคราะห์เป็นอายตนะ ส่วนอายตนะ ๑๐ ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. แม้โดยการสงเคราะห์ด้วยธาตุ จักขุธาตุหนึ่งนั่นแหละนับสงเคราะห์ด้วยธาตุได้. ธาตุ ๑๐ ที่เหลือนับสงเคราะห์ไม่ได้. เพราะเหตุนี้ อายตนะ ๑๐ เหล่าใดนับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขวายตนะนั้น อายตนะเหล่านั้นไม่นับสงเคราะห์ด้วยอายตนะ ๒ คือ จักขวายตนะและมนายตนะ. ธาตุ ๑๐ แม้เหล่าใดนับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ธาตุเหล่านั้นก็นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยจักขุธาตุและวิญญาณธาตุ ๗ ดังนี้. แม้ในรูปอายตนะเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ. ในปัญหาที่ ๒ เพราะวิญญาณขันธ์ ท่านสงเคราะห์ได้ด้วยวิญญาณธาตุอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่าสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยมนายตนะไม่มี ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา" ดังนี้. ก็ในการวิสัชนาปัญหาที่ ๒ นี้ สองบทว่า "จตูหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ ด้วยขันธ์ ๔ มีรูปเป็นต้น. สองบทว่า "เอกาทสหิ อายตเนหิ" ได้แก่ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๑๑ เว้นมนายตนะ. สองบทว่า "ทฺวาทสหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ไม่ได้ด้วยธาตุ ๑๒ ที่เหลือ โดยนำวิญญาณธาตุ ๖ ออกตามสมควร. เพราะว่า จักขุวิญญาณธาตุนับสงเคราะห์ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั่นแหละ ธาตุนอกนี้สงเคราะห์ไม่ได้. แม้ในโสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในปัญหาที่ ๓ การวิสัชนาจักขุนทรีย์เป็นต้น เช่นเดียวกับจักขวายตนะเป็นต้นนั่นแหละ. แต่ในอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ พึงทราบอายตนะ ๒ คือมนายตนะ๑- กับธัมมายตนะ และธาตุ ๘ คือวิญญาณธาตุ ๗ กับธัมมธาตุ ๑ (นับสงเคราะห์เข้าด้วยอินทรีย์ทั้ง ๒ นี้ไม่ได้). ____________________________ ๑- คำว่า มนายตนะ ในอรรถกถาเห็นจะตกไป เพราะว่า ท่านกล่าวว่า อายตนะ ๒ (คือมนายตนะและธัมมายตนะ) แต่ในอรรถกถานี้กล่าวไว้แต่เพียงธัมมายตนะเท่านั้น. ในปัญหาที่ ๔ สองบทว่า "ตีหายตเนหิ" ได้แก่ (นับสงเคราะห์ไม่ได้) ด้วยรูปายตนะ ธัมมายตนะ มนายตนะ. เพราะว่า ในภพเหล่านั้น ว่าโดยอำนาจแห่งรูปายตนะและธัมมายตนะ ได้อายตนะ ๒ เท่านั้น สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยอายตนะ ๓ คือ ด้วยอายตนะ ๒ (คือรูปายตนะ ธัมมายตนะ) เหล่านั้นนั่นแหละ และมนายตนะ ๑. สองบทว่า "นวหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุ ๙ คือวิญญาณธาตุ ๗ กับรูปธาตุ และธัมมธาตุ. ในปัญหาที่ ๕ สองบทว่า "ทฺวีหายตเนหิ" หมายเอาบทที่ ๑ (คือปริเทวธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยสัททายตนะและมนายตนะ. หมายเอาบทที่ ๒. (คือ สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม) ซึ่งนับสงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยรูปายตนะและมนายตนะ. แม้ธาตุทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า วิญญาณธาตุ ๗ กับอายตนะอย่างละ ๑ ในบรรดาอายตนะเหล่านั้นนั่นแหละ. ในปัญหาที่ ๖ สองบทว่า "ทสหายตเนหิ" ได้แก่ อายตนะ ๑๐ เว้นรูปายตนะและธัมมายตนะ. สองบทว่า "โสฬสหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ธาตุ ๑๖ เว้นรูปธาตุและธัมมธาตุ. ถามว่า ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร ตอบว่า ก็เพราะโอฬาริกายตนะ ๙ ชื่อว่าอนิทัสสนสัป ในปัญหาที่ ๗ สองบทว่า "ทฺวีหายตเนหิ" ได้แก่ ด้วยอายตนะ ๒ คือรูปายตนะและมนายตนะ. สองบทว่า "อฏฺฐหิ ธาตูหิ" ได้แก่ ด้วยธาตุ ๘ คือ ด้วยรูปธาตุและวิญญาณธาตุ ๗. ในปัญหาที่ ๘ สองบทว่า "เอกาทสหายตเนหิ" หมายเอาสัปปฏิฆธรรมทั้งหลายเว้นธัมมายตนะ และหมายเอาอุปปาทาธรรมทั้งหลาย เว้นโผฏฐัพพายตนะ. แม้ในธาตุทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. ก็การประกอบเนื้อความในนิทเทสแห่งบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. จบอรรถกถาสังคหิเตนอสังคหิตบท. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์ นิทเทส ๒. สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส จบ. |