![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ก็แต่ บท (อสังคหิเตน สังคหิตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในบททั้งหลายมีรูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ และจักขายตนะเป็นต้น. เพราะว่า รูปขันธ์นับสงเคราะห์นามขันธ์ ๔ โดยขันธ์ สงเคราะห์ไม่ได้. บรรดาธรรมเหล่านั้น แม้ธรรมหนึ่ง ชื่อว่านับสงเคราะห์ได้โดยอายตนะและธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมไม่มี. เมื่อมีคำถามว่า เวทนาเป็นต้น นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ มิใช่หรือ. ตอบว่า เวทนาเป็นต้นที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ แต่ไม่ใช่ธัมมายตนะ คือรูปขันธ์. เพราะทรงจำแนกธัมมายตนะสักว่าเป็นสุขุมรูปโดยความเป็นรูปขันธ์ ฉะนั้น ธรรมเหล่าใดที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยธัมมายตนะ ธรรมเหล่านั้น มิได้ชื่อว่านับสงเคราะห์เข้าได้โดยรูปขันธ์. ขันธ์ ๔ นอกนี้ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ แม้กับวิญญาณขันธ์. บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมแม้หนึ่ง ชื่อว่านับสงเคราะห์เข้ากันได้โดยอายตนะและธาตุเหล่านั้นก็ย่อมไม่มี. เพราะความที่บทเหล่านี้ นับสงเคราะห์เข้ากันอย่างนี้ไม่มีอยู่ บททั้งหลาย นอกนี้ก็ดี จึงนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ในวาระนี้. ส่วนบทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งธัมมายตนะอันไม่เจือด้วยวิญญาณหรือโอฬาริกรูป บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในที่นี้. พึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้น ดังนี้.
แปลว่า ขันธ์ ๓ (คือ เจตสิกขันธ์ ๓) สัจจะ ๓ (คือสมุทัย นิโรธ มรรค) อินทรีย์ ๑๖ (คือเว้นปสาทอินทรีย์ ๕ และมนินทรีย์) ปัจจยาการ ๑๔ (คือปฏิจจสมุปบาท ๑๔ เว้นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ อปุปัตติภวะ ปริเทวะ) บทที่ต่อมาจากปัจจยาการอีก ๑๔ บท (คือบทสติปัฏฐานเป็นต้น เว้นอิทธิบาท) บททั้งหลาย ๓๐ บทที่ในโคจฉกะสิบ จูฬันตรทุกะ ๒ บท (คือ อัปปัจจยบทและอสังขตบท) มหันตรทุกะ ๘ บท (รวม ๙๐ บท). ก็บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหาทั้งหมดไว้ ๑๒ บท โดยรวมบท ๖ บทที่เป็นคำวิสัชนาเช่นเดียวกัน. บัณฑิตพึงทราบการจำแนกขันธ์ในบทเหล่านั้นอย่างนี้. แต่ในอายตนะและธาตุทั้งหลาย มิได้มีความต่างกัน. ในปัญหาที่ ๑ ก่อน. สองบทว่า "ตีหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วยขันธ์ ๓ คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ส่วนอายตนะและธาตุ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยสามารถแห่งธัมมายตนะและธัมมธาตุ. ในนิทเทสนี้ พึงทราบนัยดังนี้ว่า นิพพาน สุขุมรูป สัญญา สังขารขันธ์ ไม่นับสงเคราะห์โดยขันธ์สังคหะกับด้วยเวทนาขันธ์ แต่เป็นธรรมที่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะ (คือธัมมายตนะ) และธาตุ (คือธัมมธาตุ). บรรดาธรรมเหล่านั้น นิพพานไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นขันธ์. ธรรมที่เหลือย่อมถึงการสงเคราะห์ได้ ด้วยรูปขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. แม้นิพพานก็ย่อมถึงซึ่งการนับสงเคราะห์ว่าเป็นอายตนะและธาตุนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตฺวา ตีหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตา" ดังนี้. แต่ในฝ่ายสัญญาขันธ์ในที่นี้ นำสัญญาขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ ๓ กับด้วยเวทนาขันธ์. ในสังขารขันธ์เป็นต้น นำสังขารขันธ์ออกแล้ว พึงทราบว่าเป็นขันธ์ ๓ ด้วยสามารถแห่งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์. ในปัญหาที่ ๒ สองบทว่า "จตูหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ ขันธ์ ๔ เว้นวิญญาณขันธ์. ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น นับสงเคราะห์ด้วยนิโรธ โดยเป็นขันธสังคหะไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์ได้ด้วยอายตนะและธาตุ. ในปัญหาที่ ๓ คำว่า "ทฺวีหิ" ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วยขันธ์ ๒ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์. เพราะว่า เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์ นับสงเคราะห์โดยเป็นขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปอินทรีย์และอรูปอินทรีย์. แต่ในธรรมเหล่านั้น เวทนา สัญญา นับสงเคราะห์ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เวทนาสญฺญากฺขนฺเธหิ" ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งขันธ์ในบททั้งปวง โดยอุบายนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวชื่อของขันธ์ทั้งหลายพอสมควรเท่านั้น. ในปัญหาที่ ๔ สองบทว่า "ตีหิ ขนฺเธหิ" ได้แก่ ในอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ พึงทราบการนับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๓ คือเวทนา สัญญา สังขารขันธ์. ในหมวด ๕ แห่งเวทนา พึงทราบด้วยรูป สัญญา สังขารขันธ์. ในสัทธินทรีย์เป็นต้น มีผัสสะเป็นที่สุด พึงทราบว่าสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูป เวทนา สัญญาขันธ์. พึงทราบในเวทนา เช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแหละ. พึงทราบวินิจฉัยในตัณหา อุปาทาน กัมมภวะทั้งหลาย เช่นกับสังขารขันธ์. ในปัญหาที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยในชาติชรามรณะ เช่นกับชีวิตินทรีย์. เพราะนิพพาน สุขุมรูป สัญญา กับฌาน นับสงเคราะห์โดยเป็นขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์เข้าโดยเป็นอายตนะและธาตุได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาธรรมนั้น นับสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒ คือรูปขันธ์และสัญญาขันธ์. ในปัญหาที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งโสกะเป็นต้นนับสงเคราะห์กับเวทนาขันธ์ พึงทราบในอุปายาสะเป็นต้นเช่นกับสังขารขันธ์. พึงทราบในเวทนาอีกเช่นกับเวทนาขันธ์. พึงทราบในสัญญาเช่นกับสัญญาขันธ์. พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้น เช่นกับสังขารขันธ์. แม้ในปัญหาที่ ๗ เป็นต้น ก็พึงทราบธรรมที่นับสงเคราะห์ได้และไม่ได้ โดยอุบายนี้แล. จบอรรถกถาอสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์ นิทเทส ๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส จบ. |