|
   
อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์นิทเทส ๙. สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส
บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน สัมปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ.
ในนิทเทสนั้น บทใดสัมปยุตด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนาสัมปโยคะบทนั้นนั่นแหละด้วยขันธ์เป็นต้นอีก.
บท (สัมปยุตเตน สัมปยุตตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบด้วยรูปหรือด้วยบททั้งหลายอันเจือด้วยรูป หรือด้วยบทอันสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ทั้งหมด
เพราะว่า สัมปโยคะของธรรมเหล่าอื่นด้วยรูป หรือด้วยธรรมอันเจือด้วยรูป ไม่มี, บทอื่นก็ไม่มีนั่นแหละ เพราะความที่ขันธ์เป็นต้น อันควรแก่สัมปโยคะทั้งหมด
ท่านถือเอาด้วยธรรมอันสงเคราะห์กับด้วยอรูปขันธ์ทั้งปวง.
บทใดพึงถึงการประกอบกับบทนั้น ฉะนั้นบทเช่นนั้น ท่านไม่ถือเอาในที่นี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งอรูปอันไม่เจือด้วยรูป บทเหล่านั้น ทรงถือเอาในนิทเทสนี้.
พึงทราบอุทานของบทเหล่านั้น ดังนี้
| "อรูปกฺขนฺธา จตฺตาโร | มนายตนเมว จ
| | วิญฺญาณธาตุโย สตฺต | เทฺว สจฺจา จุทฺทสินฺทฺริยา.
| | ปจฺจเย ทฺวาทส ปทา | ตโต อุปริ โสฬส
| | ติเกสุ อฏฺฐ โคจฺฉเก | เตจตฺตาฬีสเมว จ.
| | มหนฺตรทุเก สตฺตา | ปทาปิฏฺฐิทุเกสุ ฉ
| | นวมสฺส ปทสฺเสเต | นิทฺเทเส สงฺคหํ คตา". |
แปลว่า นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗ สัจจะ ๒ (คือสมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ) อินทรีย์ ๑๔ (คือมนินทรีย์เป็นต้น ถึงอัญญาตาวินทรีย์เป็นที่สุด)
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (คืออวิชชา สังขาร วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหาอุปาทาน กัมมภวะ โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ)
ต่อจากนั้น ปฏิจจสมุปบาท ๑๖ บท (คือสติปัฏฐานเป็นต้น จนถึงมนสิการเป็นที่สุด)
ในติกะ ๘ บท (คือเวทนาติกะ ๓ บท วิตักกติกะ ๒ บท ได้แก่ปฐมบทและทุติยบท และปีติติกะ ๓ บท)
ในโคจฉกะ ๔๓ บท (คือเหตุโคจฉกะ ๖ บท อาสวโคจฉกะ ๔ บท สัญโญชนโคจฉกะ ๔ บท คันถโคจฉกะ ๔ บท โอฆโคจฉกะ ๔ บท
โยคโคจฉกะ ๔ บท นีวรณโคจฉกะ ๔ บท ปรามาสโคจฉกะ ๓ บท อุปาทานโคจฉกะ ๔ บท กิเลสโคจฉกะ ๖ บท)
ในมหันตรทุกะ ๗ บท (คือจิตตบท เจตสิกบท จิตตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสัฏฐสมุฏฐานบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติบท)
ในปิฏฐิทุกะ ๖ บท (คือสวิตักกบท สวิจารบท สัปปีติกบท ปีติสหคตบท สุขสหคตบท อุเปกขาสหคตบท) ธรรมทั้งหลาย (๑๒๐ บท) ถึงการสงเคราะห์แห่งบทที่ ๙.
ก็ในปัญหาทั้งปวง ธรรมเหล่าใดทรงยกขึ้นเพื่อปุจฉา ธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยธรรมเหล่าใด มีอยู่
บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. เพราะว่า นามขันธ์ ๓ นอกนี้ สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์ เวทนาขันธ์ก็สัมปยุตด้วยขันธ์เหล่านั้นอีก
คือเวทนาขันธ์นั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ มีสัญญาขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยมนายตนะ ๑ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗ และด้วยสัญญา สังขารทั้งหลายบางอย่างนั่นแหละในธัมมายตนะและธัมมธาตุ.
ในปัญหาทั้งปวง ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์ นิทเทส ๙. สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส จบ.
     อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=36&A=1358&Z=1481 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=481 The Pali Atthakatha in Roman https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=481 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|