ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1035อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1046อ่านอรรถกถา 37 / 1059อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๕ นิยามกถา

               อรรถกถานิยามกถา               
               ว่าด้วยนิยาม               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยาม คือทางอันแน่นอนได้แก่อริยมรรค.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลใดจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม คือมรรคอันถูกต้อง บุคคลนั้นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ญาณเพื่อการบรรลุนิยามคือทางอันแน่นอน ของอนิยตบุคคลผู้เป็นปุถุชนนั่นแหละมีอยู่ ดังนี้.
               คำถามว่า อนิยตคือบุคคลผู้ไม่แน่นอน เป็นต้นของพระสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น.
               คำว่า เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียกมรรคว่านิยาม. อธิบายว่า เพื่อการบรรลุมรรค เพื่อการหยั่งลงสู่มรรค.
               ก็คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้ควรเพื่อบรรลุนิยาม เพราะเห็นญาณอันใดของบุคคลนั้น พระปรวาทีหมายญาณนั้น จึงตอบรับรอง.
               ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อแสดงว่า วาทะของปรวาทีนั้นไม่ถูกต้อง๑- จึงซักถามถึงเนื้อความอันตรงกันข้ามด้วยคำว่า บุคคลผู้แน่นอน เป็นต้น.
____________________________
๑- บาลีอรรถกถาไทย ใช้คำว่า อยุตฺตนฺติ หมายถึง คำไม่ถูกต้อง. ของพม่า ใช้คำว่า อยุตฺตวาทีตีติปิ หมายถึง มีวาทะอันไม่ถูกต้อง. คือใช้ได้ด้วยกันทั้ง ๒ นัย.

               บรรดาปัญหาเหล่านั้น ในปัญหาแรก ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะชื่อว่าญาณเพื่อการบรรลุนิยามของบุคคลผู้แน่นอนไม่มีด้วยมรรค. ในปัญหาที่ ๒ ย่อมตอบรับรองเพราะความไม่มี. ปัญหาที่ ๓ ตอบปฏิเสธ เพราะถูกถามด้วยคำว่า ผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน โดยผิดจากลัทธิ.
               สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็นปัญหาที่ ๔ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการบรรลุนิยามเป็นต้น.
               ในปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะญาณ เพื่อการบรรลุนิยามนั้นอีกของนิตยบุคคลไม่มีด้วยมรรคต้น. ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองเพราะความไม่มีนั่นแหละ. ในปัญหาที่ ๓ ย่อมตอบปฏิเสธเพราะผิดจากลัทธิ.
               สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็นปัญหาที่ ๘ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของอนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการไม่บรรลุนิยามเป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็นปัญหาที่ ๑๒ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหามีคำว่า มีทางอันแน่นอน เป็นต้นจากมูลนั้น.
               ในปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น มัคคญาณเท่านั้น ชื่อว่าญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีหมายญาณนั้น จึงว่า มีทางอันแน่นอน ดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า มีทางอันแน่นอนอันสกวาทีกล่าวแล้ว ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ. เมื่อสกวาทีกล่าวว่า มีญาณ ปรวาทีก็ตอบรับรอง.
               แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สติปัฏฐาน เป็นต้นก็นัยนี้. คำปัจจนิกมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
               คำว่า โคตรภูบุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ญาณใดอันบุคคลใดไม่บรรลุแล้ว ญาณนั้นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี.
               คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบด้วยญาณพละของพระองค์เอง ไม่ใช่ทรงทราบจากสภาพการบรรลุนิยามธรรมของผู้นั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ ปรวาทีแม้ตั้งลัทธิไว้แล้วก็ตั้งอยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

               อรรถกถานิยามกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๕ นิยามกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1035อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1046อ่านอรรถกถา 37 / 1059อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=10068&Z=10134
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4728
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4728
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :