![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยสมมติญาณ ในเรื่องนั้น สัจจะมี ๒ คือสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ. ก็บุคคลเหล่าใดไม่ทำการแยกสัจจะอย่างนี้ ย่อมกล่าวแม้ซึ่งสมมติญาณว่ามีสัจจะเป็นอารมณ์นั่นเทียว ด้วยการกล่าวอ้างคำว่า สัจจะ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย สกวาทีจึงเริ่มคำนี้ เพื่อชำระล้างวาทะของชนเหล่านั้นว่า พวกเขาเหล่านั้นมีวาทะไม่ถูกต้อง. ในคำเหล่านั้น คำถามว่า ไม่พึงกล่าว เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที หมายเอาปรมัตถสัจจะ. คำว่า ญาณในสมมติสัจจะ ได้แก่ ญาณในสัจจะที่เข้าไปอาศัยคำสมมติ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ญาณในสมมติสัจจะ เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ. อธิบายว่า ได้แก่ สมมติสัจจะ. คำถามของสกวาทีว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ถ้าญาณในสมมตินั้นมีสัจจะเป็นอารมณ์โดยไม่แปลกกัน บุคคลก็พึงทำกิจทั้งหลายมีการกำหนดรู้ทุกข์ เป็นต้นด้วยญาณนั้นได้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า กำหนดรู้ทุกข์ได้ ฯลฯ ด้วยญาณนั้นหรือ ดังนี้. อรรถกถาสัมมติญาณกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๕ สัมมติญาณกถา จบ. |