ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1065อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1069อ่านอรรถกถา 37 / 1073อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๕ อนาคตญาณกถา

               อรรถกถาอนาคตญาณกถา               
               ว่าด้วยความรู้ในอนาคต               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความรู้ในอนาคต.
               ในปัญหานั้น ขณะอันเป็นอันตระก็ดี หมายเอาขณะจิต เป็นอนันตระก็ดี ชื่อว่าอนาคต. ในขณะทั้ง ๒ เหล่านั้น ญาณย่อมรู้อนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น อนึ่ง ญาณอนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่โดยประการใด แม้ญาณที่หยั่งลงในชวนะหนึ่งของวิถีหนึ่งก็มีอยู่โดยประการนั้น.
               ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดย่อมปรารถนาญาณในอนาคตแม้ทั้งปวง ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ญาณในอนาคตอันใดมีอยู่ตามลัทธิของท่าน. บุคคลย่อมรู้อนาคตที่เกิดในภายหลังแต่นั้นได้ด้วยสามารถแห่งมูลเป็นต้นหรือดังนี้ จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า อนาคตรู้ได้โดยมูล เป็นต้น.
               บรรดาคำเหล่านั้น คำทั้งปวงว่า โดยมูล เป็นต้น คือโดยมูล โดยเหตุ โดยนิทาน โดยสมภพ โดยประภพ โดยสมุฏฐาน โดยอาหาร โดยอารมณ์ โดยปัจจัยและโดยสมุทัย นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า การณะ คือ การณะแปลว่าเครื่องกระทำ หรือเหตุ ทั้งสิ้น.
               จริงอยู่ การณะ ชื่อว่ามูล เพราะอรรถว่าย่อมทำธรรมใดให้เป็นผลของตน ธรรมที่เป็นผลนั้นในที่นั้นจึงอาศัยตั้งอยู่ได้. ชื่อว่าเหตุ เพราะอรรถว่าให้ผลธรรมนั้นเจริญและเป็นไปทั่ว. ชื่อว่านิทาน เพราะอรรถว่าเป็นแดนมอบให้ซึ่งผลธรรมนั้นๆ นั่นแหละ ราวกะการมอบให้อยู่ด้วยคำว่า เชิญเถิดท่านทั้งหลาย จึงถือเอาสิ่งนี้ ดังนี้. ชื่อว่าสมภพ เพราะอรรถว่าย่อมให้ผลธรรมเกิดพร้อมแต่เหตุนั้น. ชื่อว่าประภพ เพราะอรรถว่าเป็นแดนเกิดก่อน. ชื่อว่าสมุฏฐาน เพราะอรรถว่าผลธรรมนั้นย่อมตั้งขึ้นพร้อมในเพราะธรรมอันเป็นเหตุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะอรรถว่าย่อมยังผลธรรมนั้นๆ ให้ตั้งขึ้นพร้อม. ชื่อว่าอาหาร เพราะอรรถว่าย่อมนำมาซึ่งผลธรรมนั้นๆ นั่นแหละ. ก็เหตุนั้นชื่อว่าอารมณ์ เพราะอรรถว่าไม่สละซึ่งผลธรรมนั้น. ชื่อว่าปัจจัย เพราะอรรถว่าผลธรรมนั้นอาศัยธรรมอันเป็นเหตุเป็นไป.
               สภาวะใดย่อมยังผลธรรมนั้นให้เกิดขึ้นแต่เหตุ เพราะเหตุนั้นสภาวะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สมุทัย. ที่ชื่อว่าสมุทัย เพราะอรรถว่ายังผลธรรมให้เกิดขึ้นจากเหตุ.
               ก็ใครๆ ไม่อาจเพื่อรู้อนันตรจิตได้ด้วยอาการเหล่านี้ คือเหตุเหล่านี้. เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
               คำว่า รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ ความว่า เมื่อจิตอันเป็นอนาคตที่จะเกิดติดต่อกันไป บุคคลย่อมรู้ซึ่งจิตนั้น เพราะความเป็นเหตุปัจจัย.
               อธิบายว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัยในธรรมเหล่านั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
               แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแหละ.
               คำว่า โคตรภูบุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงญาณที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้นโดยย่อ.
               พระสูตรว่า ปาฏลีบุตร ที่ปรวาทีนำมาก็เพื่อแสดงญาณที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้น แต่พระสูตรนั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่ญาณในอนาคตทั้งปวง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตรนั้นจึงสักแต่ว่านำมาเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

               อรรถกถาอนาคตญาณกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๕ อนาคตญาณกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1065อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1069อ่านอรรถกถา 37 / 1073อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=10263&Z=10297
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4798
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4798
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :