ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1073อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1075อ่านอรรถกถา 37 / 1077อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๕ ผลญาณกถา

               อรรถกถาผลญาณกถา               
               ว่าด้วยผลญาณ               
               บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผลญาณ คือความรู้ในผล.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผลญาณอันสัตว์นั้นๆ พึงบรรลุแม้ของพระสาวกทั้งหลาย ดุจของพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยสามัญนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยผลของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. พระสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า พระสาวกมีความรู้ในผลเป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยคำว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้าไซร้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงบัญญัติการทำผลในโสดาปัตติผล แม้มีอยู่ว่า พระโสดาบันรูปนี้เป็นเอกพีชี รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้เป็นสัตตักขัตตุปรมะได้ด้วยญาณพละของพระองค์ ฉันใด แม้พระสาวกตามลัทธิของท่านก็บัญญัติการทำผลเช่นนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้หรือ ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ.
               คำว่า การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผลของพระสาวกมีอยู่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามถึงปัจจัยเพราะผลญาณมีปัจจัยของผลก็ต้องมี ดังนี้.
               ในปัญหานั้นอธิบายว่า
               ผลทั้งหลายอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่า การรู้ความสูงและต่ำแห่งผลทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ว่า สภาวะนี้เป็นผลอันนี้ สภาวะนี้เป็นผลอันอื่น สภาวะนี้เป็นผลที่ปราศจากไปแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าปโรปริยัตติ หรือผลปโรปริยัตติ การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล อินทรียปโรปริยัตติและปุคคลปโรปริยัตติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีอยู่โดยทำนองนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งผลนั้นๆด้วยความสามารถแห่งการรู้บุคคลนั้นๆ หรือว่า ด้วยความสามารถแห่งการรู้อินทรีย์เหล่านั้น เพราะความที่ญาณเหล่านั้นมีอยู่ ปโรปริยัตติญาณทั้งหลายเหล่านี้ แม้ของพระสาวกมีอยู่หรือ.
               คำทั้งหลาย แม้มีคำว่า การบัญญัติขันธ์ของพระสาวกมีหรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วก็เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนของพระพุทธเจ้าไซร้ พระสาวกก็พึงบัญญัติธรรมเหล่านี้ได้ บัญญัติเหล่านี้ของพระสาวกย่อมมี พระสาวกย่อมอาจเพื่อรู้ หรือเพื่อบัญญัติซึ่งบัญญัติเหล่านี้ด้วยกำลังของตนหรือ ดังนี้.
               คำว่า พระสาวกเป็นพระชินะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีเหมือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ไซร้ เมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ พระสาวกนั้นนั่นแหละก็เป็นพระชินพุทธเจ้า.
               แม้ในปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ในปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้หรือ สกวาทีตอบปฏิเสธ เพราะว่าความไม่รู้คืออวิชชาอันพระสาวกขจัดได้แล้ว แต่ว่าผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้าก็หาไม่ เพราะฉะนั้น วาทะคือลัทธิของปรวาที จึงเป็นการตั้งอยู่ไม่ได้เลยดังนี้แล.

               อรรถกถาผลญาณกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๕ ผลญาณกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1073อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1075อ่านอรรถกถา 37 / 1077อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=10337&Z=10372
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4838
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4838
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :