บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยทาน ในเรื่องนั้น ชื่อว่าทานมี ๓ อย่าง คือจากเจตนา วิรติ ไทยธรรม. ทานชื่อว่าจาคเจตนา มีที่มาในคำว่า ศรัทธา หิริและทานที่เป็นกุศล. ทานชื่อว่าวิรติ มีที่มาในคำว่า พระอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ วิรติทาน คือวิรตีเจตสิก ๓ อันเป็นเหตุงดเว้นจากอกุศลทุจริตนั้น ในอัฏฐก ทานชื่อว่าไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ มีที่มาในคำว่า บุคคลย่อมให้ทาน คือข้าวน้ำเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในทานเหล่านี้ต่อไป บุคคลย่อมให้วัตถุอันควรให้เพราะจาคเจตนา ฉะนั้นจาคเจตนาจึงชื่อว่า ทาน. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมให้วัตถุที่พึงให้ด้วยจาคเจตนานี้ เพราะเหตุนั้น จาคเจตนานี้จึงชื่อว่าทาน. วิรติ ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าการตัดหรือเพราะอรรถว่าการทำลาย ซึ่งอกุศลจิต. จริงอยู่ วิรติทานนั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมตัดหรือทำลายเจตนาอันเป็นเหตุทุศีลที่บัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าเป็นผู้มีความกลัวภัยเป็นต้น. ไทยธรรมอันใด อันเขาย่อมให้เพราะเหตุนั้น ไทยธรรมนั้น จึงชื่อว่าทาน ได้แก่ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ ทานแม้ทั้ง ๓ อย่างมีประการดังกล่าวมานี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็มีอยู่เพียง ๒ อย่าง คือเจตสิกธรรมและไทยธรรม. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะและสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า เจตสิกธรรมเท่านั้นเป็นทานไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ ไม่ใช่ทาน ดังนี้. คำถามสกวาทีว่า ทานคือเจตสิกเป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น คำถามของสกวาทีว่า จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้หรือ ดังนี้เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยสามารถแห่งไทยธรรม คำตอบปฏิเสธเป็นของปรวาที เพราะบุคคลนั้นไม่อาจเพื่อให้เจตสิกธรรม เหมือนการให้ข้าวน้ำเป็นต้นได้. เมื่อสกวาทีถามปัญหานั้นซ้ำอีก ปรวาทีนั้นนั่นแหละก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งพระสูตรว่า พระอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้. แต่ในปัญหาทั้งหลายมีปัญหาว่าด้วยผัสสะเป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นโวหารว่า บุคคลจะให้ผัสสะได้เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ทานมีผลไม่น่าปรารถนา เป็นต้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมอันมิใช่เจตสิกเป็นทานมีอยู่. จริงอยู่ อเจตสิกทานคือการให้ข้าวน้ำเป็นต้น ย่อมไม่ให้วิบากอันน่าปรารถนาต่อไป แต่คำนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้วเพื่อนิยามในความเป็นอิฏฐผล ได้แก่นิยามคือมรรค. ก็ในคำแม้นี้ อธิบายว่า ผิว่า อเจตสิกทาน คือการให้ข้าวเป็นต้น พึงเป็นทานไซร้ ก็เมื่อบุคคลให้เภสัชอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจด้วยจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์ ผลอันไม่น่าปรารถนานั้นนั่นแหละพึงเกิดขึ้น ดุจไม้สะเดาเป็นต้นยังผลสะเดาเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่ แต่ในที่นี้ การให้ด้วยเจตนาอันเป็นเหตุ เมื่อปรวาทีตั้งเจตสิกธรรมเป็นทานอย่างนี้แล้ว สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา ดังนี้ เพื่อจะยังไทยธรรมโดยปริยายนี้ให้สำเร็จความเป็นทาน. แต่ปรวาที เมื่อไม่เห็นความที่จีวรทานเป็นต้นมีผลอันน่าปรารถนา จึงปฏิเสธ. การชำระพระสูตรย่อมถูกต้องทั้งในวาทะของปรวาทีและทั้งในวาทะของสกวาที แต่ย่อมไม่ถูกโดยเนื้อความอย่างเดียวกัน. คำว่า ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา นี้ สกวาทีตอบปฏิเสธสักว่าความเป็นอิฏฐผลเท่านั้น เพราะฉะนั้นในคำว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่าทานคือไทยธรรม นี้ ย่อมไม่ถูก เพราะความที่ไทยธรรมนั้น บุคคลพึงกล่าวว่าเป็นอิฏฐผลทีเดียว. อนึ่ง ไทยธรรมชื่อว่า ทานนั่นแหละ เพราะอรรถว่าอันบุคคลพึงให้. สำหรับเรื่องทานนี้ ท่าน อรรถกถาทานกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๗ ทานกถา จบ. |