![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยวิปากะเป็นวิปากธัมมธรรม ในปัญหานั้น วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบากด้วยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้นมีอยู่ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้วิบากก็เป็นวิปากธัมมธรรม คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า วิบากของวิบากนั้นก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า วิบากใดมีอยู่ วิบากแม้นั้นเป็นวิปากธัมมธรรมแก่วิบากที่เป็นวิปากธัมมธรรมนั้นหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาภาวะแห่งการให้ผลต่อไป. ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบปฏิเสธ โดยผิดไปจากลัทธิ แต่ท่านก็ย่อมตอบรับรองหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิบากอื่นเพราะเป็นปัจจัยแก่วิบากแม้นั้น. ก็ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การไม่ตัดวัฏฏะย่อมปรากฏว่า วิบากแห่งวิบากแม้นั้นก็เป็นวิบากแห่งวิบากแม้นั้นต่อไป ราวกะกุศลและอกุศลหรือ? ปรวาทีถูกถามปัญหานี้ ก็ตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากลัทธิ. ก็ในการพิสูจน์ถ้อยคำว่า คำว่า วิบากหรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากก็ดี เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะว่า ถ้าว่า ความที่วิบากเป็นอรรถอันเดียวกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากไซร้ คำว่า กุศล อกุศลและอัพยากตะ ก็จะพึงมีอรรถอันเดียวกันได้. ในคำว่า วิบากกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก นี้มีคำอธิบายว่า เมื่อปรวาทีกำหนดอยู่ซึ่งวิบากในนามขันธ์ทั้ง ๔ ขันธ์ ๑ๆ ชื่อว่าเป็นวิปากธัมมธรรม คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยในปัจจัยทั้งหลายมีอัญญมัญญปัจจัยเป็นต้น และเพราะอรรถว่าเป็นปัจจยุปบัน ดังนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะหรือ จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า วิบากในนามขันธ์ ๔ ในขณะเดียวกันก็ดี ธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากในนามขันธ์ ๔ ก็ดี เป็นธรรมที่ท่านรับรองแล้ว เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความที่วิบากและธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากเหล่านั้น ย่อมปรากฏว่าเป็นธรรมสหรคตกันหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก คือกุศล. คำว่า อกุศลอันนั้น ความว่า ถ้าวิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะตามลัทธิของท่านไซร้ วิบากใดเป็นอกุศลวิบาก วิบากนั้นก็ถึงความเป็นอกุศล. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่าเพราะความที่ท่านกล่าวว่าอกุศลวิบากเป็นสภาวะอย่างเดียวกันกับด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะ. แม้ในคำว่า กุศลอันนั้น เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้ ปรวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถสักแต่ว่าเป็นปัจจัยแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์. แม้การกล่าวถึงความที่มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันนั้นก็หาใช่เป็นวิบากไม่ ทั้งไม่เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากด้วย ด้วยประการฉะนี้แล. รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ ๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา ๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา ๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา ๘. ชรามรณวิปาโกติกถา ๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา. วรรคที่ ๗ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๗ วิปาโก วิปากธัมมธัมโมติกถา จบ. |