![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยความไม่เที่ยง ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว หรือ? เพื่อท้วงว่า ความไม่เที่ยงเป็นของสำเร็จแล้วราวกะรูปเป็นต้น ตามลัทธิของท่านมีอยู่ไซร้ อันความไม่เที่ยงที่สำเร็จแล้วอย่างอื่นก็พึงมีแก่ความไม่เที่ยงแม้นั้น ดังนี้. ปรวาทีนั้นปฏิเสธโดยความไม่มีความไม่เที่ยง ๒ อย่างรวมกัน แต่ตอบรับรองเพราะความไม่เที่ยงนั้นย่อมไม่เป็นความไม่เที่ยงอีก หมายความว่าความไม่เที่ยงนั้นย่อมอันตรธานไปกับความไม่เที่ยงนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยแก่ปรวาทีนั้นจึงยกโทษ คือการไม่เข้าไปตัดวัฏฏะด้วยสามารถแห่งธรรมอื่นๆ ว่าความไม่เที่ยงที่ ๒ ท่านไม่รับรองตามลัทธิของท่านโดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงนั้นๆ บ้าง โดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงอื่นจากนั้นบ้าง จึงกล่าวคำว่า ความไม่เที่ยงนั้นๆ แลไม่มีการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เป็นต้น. คำว่า ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งการจำแนกความไม่เที่ยง เพราะขึ้นชื่อว่าความไม่เที่ยงอื่นจากชราและมรณะแห่งธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่มี. บัณฑิตพึงทราบคำตอบรับรองและคำปฏิเสธของปรวาที ในปัญหาแม้นั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั่นแหละ. คำว่า รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อเทียบเคียงความไม่เที่ยงแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นกับความไม่เที่ยงเหล่านั้น. ในข้อนั้น ปรวาทีเมื่อสำคัญว่า ความไม่เที่ยง ความชราและมรณะแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่แก่ธรรมทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นที่สำเร็จแล้ว ฉันนั้น จึงตอบปฏิเสธโดยส่วนเดียว ดังนี้. รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ ๑. ติสโสปิอนุสยกถา ๒. ญาณกถา ๓. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา ๔. อิทังทุกขันติกถา ๕. อิทธิพลกถา ๖. สมาธิกถา ๗. ธัมมัฏฐตตากถา ๘. อนิจจตากถา. วรรคที่ ๑๑ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๑ อนิจจตากถา จบ. |