บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยกรรม ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า กรรมทั้งปวงเป็นสวิบาก คือมีวิบาก เพราะอาศัยบทพระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งวิบาก เพราะไม่เสวยกรรมอันประกอบด้วยสัญเจตนา คือความจงใจ อันตนทำแล้วสั่งสมแล้ว เป็นต้น. คำถามของสกวาทีว่า กรรมทั้งปวงเป็นต้น เพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า เจตนา พระศาสดาทรงตรัสเรียกว่ากรรม โดยไม่แปลกกันในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกเจตนาว่าเป็นกรรม ดังนี้ เจตนาแม้นั้นเป็นกุศลก็ดี เป็นอกุศลก็ดีมีวิบาก ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากตะไม่มีวิบาก ดังนี้. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า เจตนาทั้งปวง อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาเจตนาที่เป็นอัพยากตะ และพึงทราบการตอบรับรองโดยหมายเอาเจตนาที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล. คำว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากตะ เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อแสดงเจตนาที่มีวิบากและไม่มีวิบากโดยย่อ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. พระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งวิบากเป็นต้น ที่ปรวาทีนำมากล่าวนั้นหมายถึงการเสวยวิบากในภพทั้งหลาย มีภพอันสัตว์พึงเห็นได้เป็นต้นได้แก่ภพปัจจุบัน ในเมื่อปัจจุบันยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนั้นจึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. อรรถกถากัมมกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๒ กัมมกถา จบ. |