![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยมนสิการรวบยอด ในเรื่องนั้น มนสิการมี ๒ คือ นยโตมนสิการและอารัมมณโตมนสิการ. ในมนสิการ ๒ นั้น เมื่อบุคคลเห็นแม้สังขารอันหนึ่งโดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามนสิการในสังขารทั้งหลายที่เหลือว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่านยโตมนสิการ ก็เมื่อผู้ใดมนสิการสังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการสังขารทั้งหลายอันเป็นอนาคตได้ เพราะมนสิการสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งในสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้น จึงชื่อว่าอารัมมณโตมนสิการ. บรรดามนสิการเหล่านั้น เมื่อบุคคลมนสิการในปัจจุบัน ย่อมมนสิการสังขารทั้งหลายด้วยจิตใด แต่จิตนั้นย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการในปัจจุบันขณะได้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่ามนสิ ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงโดยความที่บุคคลย่อมมนสิการสังขารทั้งปวงเหล่านั้น โดยมนสิ อีกอย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธด้วยคำว่า จิตนั้นนั่นแหละไม่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น แต่ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยพระบาลีว่า เมื่อใดย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น. แม้อีก ๒ ปัญหาที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนในคำทั้งหลายว่า ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในปัญหาทั้งหลายมีอดีตกาลเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบการปฏิเสธและคำตอบรับรองโดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. คำที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแหละ. พระบาลีว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยหมายถึงการเห็นโดยนัย มิใช่การเห็นโดยอารมณ์ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงมิใช่ข้ออ้างที่ยกมาพิสูจน์ว่า เป็นการมนสิการโดยอารมณ์ ดังนี้. อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๖ อธิคัยหมนสิการกถา จบ. |