![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยการซักถามถึงพวกญาติ คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงชาติ. คำว่า คฤหัสถ์และบรรพชิต เป็นการซักถามถึงข้อปฏิบัติ. คำว่า เทวดาและมนุษย์ เป็นการซักถามถึงการอุบัติ. คำว่า โสดาบัน เป็นต้น เป็นการซักถามถึงปฏิเวธ ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เป็นการซักถามถึงพระอริยะบ้าง. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ก็ในคำว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว กลับไม่เป็นพระอรหันต์นี้ ท่านไม่กล่าวถาม เพราะเป็นโมฆปัญหา. คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพระสงฆ์ การซักถามแม้นั้น ก็มีเนื้อความง่ายเหมือนกัน. คำว่า สังขตะ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงสภาพแห่งสัจฉิกัตถะ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓ นอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกหรือ? เป็นคำถามของสกวาที คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะความไม่มีสัจฉิกัตถะเช่นนั้น. เมื่อถูกถามซ้ำอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองว่า ใช่ ส่วนสุดที่ ๓ มีอยู่ โดยหมายเอาบุคคลเป็นส่วนสุดที่ ๓. แม้ในปัญหาว่า บุคคลก็เป็นอื่นหรือ การปฏิเสธเป็นของปรวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะไม่ปรารถนาความที่บุคคลเป็นอย่างอื่นนอกจากสังขตขันธ์ทั้งหลาย. คำว่า ขันธ์อันเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำอันสกวาทีแสดงสังขตะและอสังขตะทั้งหลายไว้โดยย่อ เพื่อถามความเป็นอย่างอื่นแห่งบุคคล. คำถามว่า รูปเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำที่สกวาทีแสดงขันธ์ทั้งหลายโดยวิภาคแล้วกล่าวถามความเป็นคนละอย่างกับบุคคล. คำถามว่า ความเกิดขึ้นแห่งบุคคล เป็นคำถามของสกวาที คำรับรองว่า ใช่ เป็นของปรวาที ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งหลายมีคำว่า สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา อนึ่ง เมื่อยังดำรงอยู่ก็มีความตายเป็นธรรมดา แต่ปรวาทีนั้นย่อมไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นสังขตธรรม ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. ถูกถามโดยนัยเป็นต้นอีกว่า ความเกิดขึ้นของบุคคลย่อมปรากฏหรือ ก็ตอบรับรองด้วยคำว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งบุคคลเป็นต้นนั้น ย่อมไม่ควร" เพราะพระบาลีว่า ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมเสื่อมไปด้วย นอกจากทุกข์หาอะไรเกิดมิได้ นอกจากทุกข์ คำถามว่า บุคคลปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในพระนิพพานหรือ ในข้อนี้ ท่านเรียกพระนิพพานว่า อตฺถํ แปลว่า ธรรมอันหาที่ตั้งมิได้. ในปัญหานั้น สกวาทีถามว่า บุคคลมีอยู่ในนิพพานหรือ อธิบายว่า บุคคลชื่อว่าเที่ยงเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นของมีอยู่ ในนิพพาน ชื่อว่าขาดสูญเพราะความที่บุคคลนั้นไม่มีอยู่ในนั้น ปรวาที เมื่อไม่ปรารถนาคำว่า บุคคลเที่ยงและขาดสูญ ๒ แม้นั้นจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. อรรถกถาญาตกานุโยค จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ ปุคคลกถา ญาตกานุโยค จบ. |