![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าพระสงฆ์ ก็มรรคและผลเหล่านั้นย่อมไม่อาจเพื่อทำทักษิณาให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ ดังนี้. คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เป็นผู้ควรของบูชา เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า พระสงฆ์ไม่อาจเพื่อให้ทักษิณา คือของทำบุญบริสุทธิ์ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็คงไม่กล่าวยกย่องพระสงฆ์นั้นอย่างนี้. คำว่า ให้บริสุทธิ์ ได้แก่ ทำให้มีผลมาก. จริงอยู่ ทานมีปริมาณน้อยที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ ย่อมเป็นทานมีผลมาก ทานที่มีปริมาณมากที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ก็ย่อมมีผลมากกว่า. คำว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ (ทกฺขิเณยฺโย) ได้แก่ ผู้ควรแก่ทักษิณา คือสมควรแก่ทานที่เขาให้ด้วยความเคารพ. อธิบายว่า ผู้สามารถเพื่อทำทักษิณานั้นให้บริสุทธิ์. คำว่า ชื่นชมบุญ คือ ทักษิณา ได้แก่ให้บุญคือทักษิณานั้นถึงพร้อม. อธิบายว่า ย่อมให้บรรลุผลอันใหญ่ ด้วยทักษิณาแม้มีปริมาณน้อย. คำที่เหลือในที่นี้มีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. อรรถกถานวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๗ นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา จบ. |